ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การอ่านออกเสียง

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ทักษะในข้อใดมีความจำเป็นสำหรับนักเรียนในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
       ก.   การเขียน                     
       ข. การอ่าน
       ค.   การพูด                        
       ง.   การฟัง
   2.  ข้อใดคือการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง
       ก.   สุดาทำความเข้าใจในเรื่องที่จะอ่านอย่างถี่ถ้วน
       ข.   สมเดชศึกษาเจตนาของผู้แต่งเรื่องที่จะอ่าน
       ค.   สมศักดิ์ทดลองออกเสียงก่อนที่จะอ่าน
       ง.   สมชายกำหนดท่าทางที่จะอ่าน
   3.  ข้อใดคือลักษณะของผู้ที่อ่านเป็น
       ก.   แก้วอ่านหนังสือแล้วประเมินค่าของเรื่องที่อ่านได้
       ข.   ก้อยอ่านหนังสือแล้วมีความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
       ค.   เก่งอ่านหนังสือแล้วแปลความหมายได้
       ง.   กล้าผสมอักษรแล้วอ่านเป็นคำได้
   4.  ข้อใดไม่ใช่การอ่านเพื่อความรู้
       ก.   ไก่อูมีความทุกข์จึงไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนา เพื่อผ่อนคลายความทุกข์
       ข.   ไก่โต้งอ่านนวนิยายเก็บข้อมูลแล้วไปเขียนนวนิยาย     ส่งเข้าประกวด
       ค.   ไก่แจ้อ่านตำราอาหารไทยไปทำขนมขาย
       ง.   ไก่ต๊อกอ่านฉลากยาแล้วปฏิบัติตาม
   5.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของร้อยแก้ว
       ก.   ข้อความที่มีรูปแบบถูกต้องตรงตามไวยากรณ์ไทย
       ข.   ข้อความที่ไม่เน้นระบบคำและโครงสร้างประโยค
       ค.   ข้อความที่ใช้เขียนอยู่ในชีวิตประจำวัน
       ง.   ข้อความที่ไม่มีลักษณะบังคับสัมผัส
   6.  ถ้าต้องการให้ทอดหางเสียง ต้องใช้เครื่องหมายใดกำกับ
       ก.   ****                            
       ข. ------
       ค.   ........                           
       ง. //
7. การทำเครื่องหมายในบทอ่าน ถ้าใช้เครื่องหมาย /  หมายความว่าอย่างไร
       ก.   ให้สังเกตข้อความที่จะอ่านต่อไปข้างหน้า
       ข.   เว้นวรรคเล็กน้อยเพื่อหยุดหายใจ
       ค.   หยุดหายใจ
       ง.   หยุดอ่าน
8. การใส่อารมณ์ในการอ่านเป็นผลดีอย่างไร
       ก.   ทำให้ผู้อ่านมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
       ข.   ทำให้การอ่านนั้นชวนฟังยิ่งขึ้น
       ค.   ทำให้เรื่องที่อ่านนั้นน่าสนใจ
       ง.   เปลี่ยนอารมณ์ของผู้ฟัง    
9. ข้อใดสำคัญที่สุดในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
       ก.   อ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
       ข.   อ่านให้เสียงดังพอสมควร
       ค.   อ่านให้เป็นเสียงพูด
       ง.   มีสมาธิในการอ่าน
10.  ข้อใดแบ่งวรรคตอนในการอ่านโคลงสี่สุภาพได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   ภพนี้/มิใช่หล้า               หงส์ทอง/เดียวเลย    
       ข.   น้ำมิตร/แล้งโลกม้วย        หมดสิ้น/สุขศานต์
       ค.   กาก็เจ้า/ของครอง           ชีพด้วย     
       ง.   เมาสม/มุติจองหอง         หินชาติ
11.  ข้อใดไม่ใช่แนวทางการอ่านบทร้อยกรอง
       ก.   ต้องรู้จักใส่อารมณ์ความรู้สึกในบทร้อยกรองที่อ่าน
       ข.   ต้องรู้จักผสมคำหรือพยางค์บทร้อยกรองที่อ่าน
       ค.   ต้องรู้จักฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองที่อ่าน
       ง.   ต้องรู้จักทำนองของบทร้อยกรองที่อ่าน
12.  กลอนบทละครมีความแตกต่างจากกลอนสุภาพทั่วไปอย่างไร
       ก.   จำนวนบาทในแต่ละบท   
       ข.   จำนวนคำในแต่ละวรรค
       ค.   การสัมผัสระหว่างบท 
       ง.   คำขึ้นต้นบท
13. การพรรณนาความทั่วไปนิยมใช้คำประพันธ์ในข้อใด
       ก.  กลอนเสภา               ข.  กาพย์ยานี 11
       ค.  โคลงสี่สุภาพ              ง.  กาพย์ฉบัง 16
14.  การพรรณนาความงามของธรรมชาตินิยมใช้คำประพันธ์ ในข้อใด
       ก.  กาพย์ยานี 11            ข.  โคลงสี่สุภาพ
       ค.  กาพย์ฉบัง 16             ง.  กลอนเสภา
15. การอ่านคำประพันธ์ในข้อใดที่เชื่อกันว่าเริ่มต้นจากในคุกที่คุมขังนักโทษ
       ก.   กาพย์ยานี 11
       ข.   กาพย์ฉบัง 16
       ค.   โคลงสี่สุภาพ
       ง.   กลอนเสภา



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การอ่านจับใจความข้อความส่วนใดที่ไม่ควรตัดออกไป
       ก.   การให้เหตุผล
       ข.   คำอธิบาย
       ค.   ตัวอย่าง
       ง.   ชื่อเรื่อง
   2.  การที่จะเข้าใจเรื่องราวในหนังสือ ผู้อ่านต้องใช้วิธีอ่านอย่างไร
       ก.   อ่านแล้วหาความหมายของคำในเรื่อง
       ข.   อ่านแล้วสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
       ค.   อ่านตีความตลอดทั้งเรื่อง
       ง.   อ่านจับใจความสำคัญ
   3.  ข้อใดไม่ใช่วิธีอ่านจับใจความสำคัญ
       ก.   พิจารณาน้ำเสียงที่ใช้ในการอ่านตีความเรื่องนั้นๆ
       ข.   พิจารณาทรรศนะ ข้อคิดเห็น อารมณ์ของผู้เขียน
       ค.   พิจารณาข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนนำเสนอ
       ง.   พิจารณาวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
   4.  ผลจากการวิจัยปี 2548 จะพบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่ไม่อ่านหนังสือถึง 22.4 ล้านคนหรือเกือบ 40% ของประชากรทั้งประเทศ ด้วยเหตุผลว่าชอบดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุมากกว่า ขณะที่เด็กที่มีอายุ 10-14 ปี กว่า 60% ให้เหตุผลในการไม่อ่านหนังสือว่า เพราะไม่ชอบและไม่สนใจ ส่งผลให้สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยเฉลี่ยเพียงปีละ 2 เล่ม ซึ่งนับว่าต่ำมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ที่มีสถิติการอ่านหนังสือปีละ 40-50 เล่ม ส่วนเวียดนาม มีสถิติการอ่านหนังสือ ปีละ 60 เล่ม จากเหตุดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นว่า การอ่านหนังสือของคนไทยกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างแท้จริง
       ใจความสำคัญของข้อความนี้ตรงกับข้อใด
       ก.   คนสิงคโปร์รักการอ่านรองจากเวียดนาม
       ข.   คนเวียดนามอ่านหนังสือมากที่สุด
       ค.   คนไทยอ่านหนังสือปีละ 2 เล่ม
       ง.   คนไทยไม่มีนิสัยรักการอ่าน

5. ข้อความนี้มีประโยชน์สำหรับใครมากที่สุดในการที่จะช่วยให้เด็กไทยอ่านมากขึ้น
       ก.   ครูและผู้บริหารสถานศึกษา
       ข.   รัฐบาล ผู้บริหารประเทศ
       ค.   พ่อแม่ ผู้ปกครอง
       ง.   เด็กอายุ 10-14 ปี
   6.  ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนทั่วโลกเมื่อสูงวัยขึ้น อย่างหนึ่ง คือ ความเสื่อมของกระดูก แต่ปัญหากระดูกพรุนนี้มักเกิดกับผู้หญิงสูงวัย ผู้หญิงที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือย่างเข้าสู่วัยทองเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนใจความสำคัญของข้อความนี้ตรงกับ ข้อใด
       ก.   ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนทั่วโลกเมื่อสูงวัยขึ้นอย่างหนึ่ง     คือ ความเสื่อมของกระดูก
       ข.   ผู้หญิงสูงวัยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรค     กระดูกพรุน
       ค.   ผู้หญิงที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือย่างเข้าสู่     วัยทอง
       ง.   ปัญหากระดูกพรุนนี้มักเกิดกับผู้หญิงสูงวัย
   7.  งานวรรณกรรมไม่ว่า นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี นับเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้สามารถมีส่วนร่วมในการสื่อสะท้อนปัญหาความขัดแย้งในสังคม รวมทั้งเสนอแนวคิด อุดมการณ์ และแนวทางสันติวิธีเพื่อสร้างสันติภาพได้  ซึ่งงานวรรณกรรมมีบทบาทมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาความขัดแย้งในสังคมหลายประการจึงถูกตระหนักและนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงในที่สุดจนเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่างานวรรณกรรมเปลี่ยนแปลงโลกได้ กล่าวคือวรรณกรรมเป็นศิลปะที่มีพลังในการสะท้อนปัญหาของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมด้วยวิธีการที่ไร้ความรุนแรง เป็นการอธิบายความปรารถนามาจากส่วนลึกของความเป็นมนุษย์ที่มุ่งสู่ความงามแห่งสันติ
       ใจความสำคัญของข้อความนี้อยู่ในตอนใดของข้อความ
       ก.   อยู่ต้นและกลางข้อความ      ข.  อยู่กลางข้อความ
       ค.     อยู่ท้ายข้อความ             ง.  อยู่ต้นข้อความ


8. การพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น หรือพิจารณา อารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียนอยู่ในขั้นตอนใดของการอ่านตีความ
       ก.   การอ่านอย่างละเอียด
       ข.   การพิจารณาน้ำเสียง
       ค.   การวิเคราะห์ถ้อยคำ
       ง.   การอ่านคร่าวๆ
   9.  ความคาดหวังของผมเผชิญกับอุปสรรคทางธรรมชาติตั้งแต่ย่ำค่ำ ฝนที่ไม่ได้นัดหมายและรับเชิญโปรยปราย ลงมา ผมยืนทำใจอยู่ใต้กันสาดโรงแรมว่ามนุษย์ไม่ได้ทุกอย่างตามใจที่ตนต้องการหรอก ไม่ว่ามนุษย์สามัญไร้ยศถาบรรดาศักดิ์อย่างผม หรือทายาทมหาเศรษฐีมั่งมีระดับไหนก็ตาม
       น้ำเสียงของข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
       ก.   น้ำเสียงบอกถึงการทำใจให้ยอมรับ
       ข.   น้ำเสียงบอกถึงความเสียใจ
       ค.   น้ำเสียงประชดประชัน
       ง.   น้ำเสียงเชิงสั่งสอน
10.  การอ่านตีความผู้อ่านไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องใด
       ก.   ประวัติ ภูมิหลังของผู้เขียน
       ข.   จุดประสงค์ของผู้เขียน
       ค.   ประเภทของงานเขียน
       ง.   น้ำเสียงของผู้เขียน
11.  การอ่านตีความต้องพิจารณาสิ่งใดก่อน
       ก.   เนื้อหาของงานเขียน     
       ข.   ประเภทของงานเขียน
       ค.   น้ำเสียงของผู้เขียน
       ง.    ชื่อของงานเขียน 
12. การอ่านเพื่อเขียนกรอบความคิด จะต้องใช้วิธีการอ่านแบบใด
       ก.   การอ่านขยายความ            ข.  การอ่านสรุปความ
       ค.   การอ่านจับใจความ             ง.  การอ่านตีความ
13.  ข้อใดคือความหมายของคำว่า ตำนานตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
       ก.   นิยายหรือเรื่องเล่าที่เล่าสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน     จนหาต้นตอไม่ได้ และมีเนื้อหา เพื่ออธิบายที่มาของ สิ่งต่างๆ หรือสถานที่ต่างๆ
       ข.   เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เรื่องราว     นมนานที่เล่ากันสืบๆ มา
       ค.   ลักษณะการเล่าเรื่องเพื่อตอบคำถามที่คนไม่สามารถเข้าใจได้
       ง.   ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
14.  ข้อใดไม่ใช่วิธีการนำเสนอในรูปกรอบความคิด
       ก.   เขียนประเด็นย่อยของประเด็นรองแต่ละประเด็นไว้     ตามหัวข้อ
       ข.   ตกแต่งด้วยรูปภาพและสีสันที่สวยงามและเหมาะสมกับเรื่อง
       ค.   เขียนประเด็นรองไว้รอบประเด็นหลัก
       ง.   วางประเด็นหลักไว้ตรงหน้ากระดาษ
15.  เมื่อได้เรื่องที่จะต้องทำกรอบความคิดในขั้นต้นจะต้องดำเนินการอย่างไร
       ก.   เรียบเรียงจัดหมวดหมู่ความคิดเป็นประเด็น
       ข.   พิจารณาแตกประเด็นความคิดจากเรื่อง
       ค.   ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
       ง.   อ่านเนื้อหาของเรื่อง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การอ่านวินิจสาร

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนของการอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น
ก.   กล่าวถึงบริบทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่าน
ข.     บอกประเภทและจุดมุ่งหมายของเรื่อง
ค.    วิเคราะห์เนื้อเรื่องในด้านต่างๆ
ง.     บอกพิมพลักษณ์ของหนังสือ
   2.  ข้อใดกล่าวถึงการอ่านวิจารณ์ได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   พิจารณาลักษณะความคิด และประเมินค่าของเรื่อง
       ข.   หาความรู้และแนวคิดของเรื่อง
       ค.  จับผิดหาข้อบกพร่อง
       ง.   จับใจความสำคัญ
   3.  บุคคลในข้อใดที่อ่านหนังสือแล้ววิเคราะห์สารของเรื่อง
       ก.   พราว อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านทุกด้าน
       ข.   แพร อ่านเพื่อจับผิด และหาข้อบกพร่องของเรื่องที่อ่าน
       ค.  พริ้ง อ่านแล้วสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
       ง.   แพรว อ่านแล้วแยกส่วนต่างๆ ของเรื่อง
   4.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคำที่มีความหมายโดยตรง
ก.     คำที่มีความหมายเชื่อมโยงจากสิ่งหนึ่งไปหาสิ่งหนึ่ง
ข.     คำที่มีความหมายตามพจนานุกรมกำหนด
ค.     คำที่มีความหมายตรงตามอักษร        
ง.   คำที่ใช้ในการสื่อสารทั่วไป 
   5.  ข้อใดไม่ใช่หลักการวิเคราะห์ความหมายของคำ
ก.      พิจารณาจากน้ำเสียงและสีหน้าประกอบ
ก.      พิจารณาจากสำนวนโวหาร
ข.      พิจารณาจากบริบท
       ง.   พิจารณาจากรูปคำ
   6.  ข้อใดปฏิบัติถูกต้องตามหลักการประเมินค่าของเรื่องที่อ่าน
 ก.  มาดา อ่านตีความ สรุปความ วิเคราะห์แนวคิด
       และเนื้อหา พิจารณาคุณค่าของงานเขียน
 ข.  มาลัย อ่านทำความเข้าใจ ตอบคำถาม ตีความ 
           พิจารณาคุณค่าของงานเขียน
 ค.   มาลี อ่านทำความเข้าใจ ตีความ วิเคราะห์เนื้อหา
            พิจารณาคุณค่างานเขียน
ง.  มาลา อ่านทำความเข้าใจ สรุปความ พิจารณาคุณค่า
7.  การอ่านเพื่ออธิบายว่า สารที่อ่านดีหรือไม่  อย่างไร
   มีข้อบกพร่องอย่างไร เป็นลักษณะของการอ่านประเภทใด
            ก.     ทำความเข้าใจ    ข.   ประเมินค่า
            ค.     วิจารณ์              ง.  วิเคราะห์
     8.     ข้อความใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์
            ก.  เติบโตใหญ่ในวันนี้เพราะมีแม่
              หอมรักแท้กรุ่นกลิ่นไม่สิ้นสาย
              แม่สอนลูกรักลูกจวบวันตาย
              ประทับใจไม่คลอนคลายอยู่ชั่วกาล
            ข.  เพลงโบราณผ่านแผ่วยังแว่วหวาน
              แม่ขับขานกานต์กล่อมอ้อมอกอุ่น
              ในอู่ผ้าขาวม้าพ่อกรอการุณย์ 
              สรรเสริญบุญคุณใดเทียบเปรียบปาน 
            ค.  แม่ดังธารรินใสไม่สิ้นสาย
              อุ่นใจกายดวงจิตเมื่อคิดถึง
              แม่ก็คงห่วงใยใฝ่คะนึง
              ต่างรัดรึงสายสัมพันธ์อันงดงาม
            ง. บ้านเรานั้นขัดสนแสนจนยาก
              ถึงลำบากแม่นั้นสู้ฟันฝ่า
              เห็นลูกน้อยมีสุขในทุกครา
              แม่ก็ยิ้มปรีดาพาชื่นใจ
อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 9-10
คำถามที่ 1 เกี่ยวกับตัวเราเอง ถามว่า ปู่ย่าตายายเรา
พ่อแม่เรา หรือหลักสูตรที่โรงเรียนเรา เคยสอนเราเกี่ยวกับการรับมือภัยธรรมชาติ อาทิ อุทกภัย วาตภัย หรือไม่ คำตอบคือ
ไม่มี ไม่เคย ไม่ค่อยสอน วิชาสังคมศึกษาสอนเราว่า “เมืองไทยของเรานี้แสนดีหนักหนา โชคดีกว่าภัยธรรมชาติแบบประเทศอื่น ไม่มีแผ่นดินไหวแบบหมู่เกาะญี่ปุ่น ไม่มีน้ำท่วมใหญ่แบบแม่น้ำหวางเหอ ไม่มีเฮอริเคน แบบอ่าวเม็กซิโก”
9.  ผู้เขียนข้อความนี้ต้องการต้องการนำเสนอเรื่องราวใด
        ก.   การป้องกันภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น
        ข.   การเตรียมรับภัยธรรมชาติ    
        ค.   ภัยธรรมชาติ            
       ง.   หลักสูตร            

10. ใครเป็นผู้ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ประโยชน์มากที่สุด
        ก.   นักวิชาการจากทุกหน่วยงาน
        ข.   รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
        ค.   ผู้จัดทำหลักสูตรการศึกษา
       ง.   ครู
อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 11-13
วันนั้นฉันและพี่ลิงใส่ชุดประจำชาติของภูฏาน ผู้หญิงจะเรียกว่า คีร่า ผู้ชายเรียกว่า โค เราซื้อตั้งแต่วันแรกที่มาถึงที่ร้านมีให้เลือกจนลายตาไปหมด คนขายกับคนมาซื้อต่างมาช่วยฉันแต่งตัวกันใหญ่เลย  ในใจคิดว่า แล้ววันแต่งจริงๆ ใครจะใส่ให้ มองดูทีมงานแล้วอาการไม่ต่างกัน สุดท้ายนางเอกที่มาช่วยเราคือ เหล่าแม่บ้านที่โรงแรมนั่นเอง
     ดูพวกเขาพึงพอใจที่เห็นเราใส่ชุดประจำชาติของเขา
ชมทุกคนที่ใส่ว่าดูดี ดูหล่อ ดูสวย พอฉันใส่ไปเดินถนนคนที่นั่นหลายๆคน คงคิดว่าฉันเป็นคนภูฏาน หลังจากที่พวกเราไปทำแสตมป์ที่
Media center ซึ่งเขาจะให้เราเอารูปไปใส่ในแสตมป์ที่ระลึกของงานอภิเษกได้ด้วย เราก็เดินไปตามถนนที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จมา
     เด็กมารอเฝ้ารับเสด็จเป็นแถวยาวรวมไปถึงชาวบ้านในละแวกนั้นด้วย คล้ายกับบ้านเราเวลารอเฝ้าฯ ในหลวงของเรา
     เราไปอยู่สถานที่ที่เขาจัดให้สื่อจากทั่วโลกมายืนอยู่ด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็นสองฝั่งของถนน ใครอยากได้มุมไหนก็ยืนตามอัธยาศัยเพียงแต่ให้อยู่ในเขตที่บอกเท่านั้น
     ภารกิจของเรายังไม่หมด เรามีของขวัญเป็นหุ่นกระบอก
ใส่ชุดไทยสวยงามวิจิตรบรรจงอยู่ในตู้กระจกซึ่งทางทีมงานให้
11. ข้อใดเป็นข้อคิดเห็น
ก.   เรามีของขวัญเป็นหุ่นกระบอกใส่ชุดไทยสวยงามวิจิตรบรรจงอยู่ในตู้กระจก
ข.   ใครอยากได้มุมไหนก็ยืนตามอัธยาศัยเพียงแต่ให้อยู่ ในเขตที่บอกเท่านั้น
ค.  เราไปอยู่ที่สถานที่ที่เขาจัดให้สื่อจากทั่วโลกมายืนอยู่ด้วยกัน
       ง. เขาจะให้เราเอารูปไปใส่ในแสตมป์ที่ระลึกของงาน                 อภิเษกได้ด้วย
12. ข้อใดเป็นข้อเท็จจริง
       ก.   พอฉันใส่ไปเดินถนนคนที่นั่นหลายๆ คน คงคิดว่า                   ฉันเป็นคนภูฏาน            
       ข.   ดูพวกเขาพึงพอใจที่เห็นเราใส่ชุดประจำชาติของเขา
       ค.   ใครจะใส่ให้ มองดูทีมงานแล้วอาการไม่ต่างกัน
       ง.   วันนั้นฉันและพี่ลิงใส่ชุดประจำชาติของภูฏาน
13.  ข้อความดังกล่าวจัดเป็นงานเขียนประเภทใด
       ก.   ชีวประวัติ                    
       ข.  บันเทิงคดี
ก.      สารคดี                        
ง.  ตำรา

อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 14-15
เรื่องของความหน้าใหญ่ของผู้หลักผู้ใหญ่ในแดนอิเหนาก็สร้างความรำคาญให้กับชาวต่างชาติไม่น้อย ในวันที่ตะกร้อทีมเดี่ยวชายไทยลงแข่งขันนัดชิงชนะเลิศกับอินโดนีเซีย ผู้ว่าการเกาะสุมาตราใต้เพิ่งเดินทางมาถึงทีหลังแข่งจบเซตแรกไปเรียบร้อยแล้ว  แทนที่จะรอให้จบการแข่งขันแล้วค่อยลงไปทักทายนักกีฬา แต่ฝ่ายจัดการแข่งขันขอหยุดเกมแล้วให้นักกีฬาตั้งแถวให้การต้อนรับท่านผู้ว่า พร้อมทั้งให้ท่านเดินลงมาจับมือแนะนำตัวกับนักกีฬาถึงสนาม
     ต้องบอกเลยว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างแรง
  14. ข้อความดังกล่าว ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายในการเขียนอย่างไร
        ก.   ชี้แจงแนวทางปฏิบัติ       
        ข.   ให้ข้อคิดเห็น           
       ค.   เสนอแนะ                    
        ง.   ตำหนิ                    
 15. ข้อความดังกล่าว คำในข้อใดมีความหมายโดยนัย
        ก.   ผู้หลักผู้ใหญ่ – ให้การต้อนรับ
        ข.   ตะกร้อทีมเดี่ยว – แนะนำตัว             
        ค.   หน้าใหญ่ – แดนอิเหนา
        ง.   จบเซ็ต – หยุดเกม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การคัดลายมือ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของตัวอักษรบรรจง
     ก.   ตัวอักษรสัมผัสเส้นบรรทัดบนและล่าง  
     ข.   ตัวอักษรเอียงไปทิศทางเดียวกัน
     ค.   มีขนาดเป็นมาตรฐานเดียวกัน
     ง.   หัวอักษรไม่บอด
2.  ช่องไฟ หมายความว่าอย่างไร
ก.      การเว้นวรรคตัวอักษรแต่ละตัว
ข.      ความสม่ำเสมอของตัวอักษร
ค.     ความกว้างของตัวอักษร                                
ง.      ระยะห่างของตัวอักษร
3.  ตัวอักษรประเภทใดที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่า คัดง่าย 
     เหมาะสำหรับเป็นแบบคัดลายมือเด็ก
     ก.   แบบภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
          มหาวิทยาลัย
     ข.   แบบกระทรวงศึกษาธิการ
     ค.   แบบรัตนโกสินทร์
     ง.   แบบอาลักษณ์                        
4. หากนักเรียนต้องการให้งานเขียนของตนเองเป็นที่สนใจ
      ของบุคคลอื่น นักเรียนจะต้องทำอย่างไร
      ก.   สำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านก่อนลงมือเขียน
      ข.   เขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบของตัวอักษรไทย 
      ค.   เขียนด้วยลายมือของตนเองอย่างสวยงาม
      ง.   เขียนด้วยลายมือของคนรุ่นใหม่
5.  นายเก่ง เขียนหนังสือไม่มีหัว ไม่มีหาง ผิดรูปแบบ อัก ษรไทย           การเขียนหนังสือของนายเก่ง จะเกิดผลเสีย ต่อตนเองอย่างไร
    ก. เขียนไม่สวยงาม          
     ข.  สื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้
     ค.  ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น
     ง.  ประเมินค่างานเขียนของตนเองไม่ได้
6. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการคัดลายมือ
    ก.  ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ              
       ข.   ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยให้ตนเอง   
       ค.   เขียนหนังสือสวยงาม
       ง.   ทำงานเป็นระเบียบ
  7. ลายมือ มีความสำคัญอย่างไร
ก.   เป็นเครื่องมือในการสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ข.    เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ความคิด
ค.    เป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของลูกผู้ชาย
ง.     แสดงความเป็นชาติ
   8.  การเขียนตัวอักษรจะต้องเริ่มที่ส่วนใดก่อน
       ก.  เขียนตามความพอใจ  
       ข.   ส่วนที่เป็นเส้นตรง
       ค.   ส่วนหางตัวอักษร      
       ง.   ส่วนหัวตัวอักษร      
   9.  อวัยวะในข้อใดไม่สัมพันธ์กับลายมือ
      ก.  แขน                     
       ข.   นิ้ว          
       ค.   ตา                        
       ง.   มือ
10.  ตัวอักษรอาลักษณ์ มีลักษณะอย่างไร
       ก.   หัวบัว – ตัวมน         
       ข.   หัวกลม – ตัวมน
       ค.   หัวบัว – ตัวเหลี่ยม    
       ง.   หัวกลม – ตัวเหลี่ยม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การเขียนเพื่อการสื่อสาร 1

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การที่จะใช้ภาษาในการเขียนได้ดีจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
    ก.  รู้จักสะสมคำมาใช้                                      
     ข.  อ่านมาก
     ค.   ฟังมาก                                
     ง.   รู้มาก
2.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้มีความสามารถในการใช้ภาษา
     เขียน
ก.      เลือกใช้คำที่ตรงความหมาย
ข.      เลือกใช้คำที่เป็นภาษาเขียน
ค.     เลือกใช้คำที่หลากหลาย
ง.      เลือกใช้คำที่สุภาพ
3.  ข้อใดใช้คำในการเขียนอวยพรเหมาะสมกับบุคคล
     ก.  ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
          ดลบันดาลให้คุณตาคุณยายมีความสุข
     ข.   ขอให้คุณย่าอายุยืนหมื่นปีให้ราศีงามผ่องใสให้คนรัก
          ทั่วๆ ไป
     ค.   ขออวยพรให้คุณปู่จงเจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ
     ง.   ขอให้คุณครูมีสุขภาพ พลานามัยสมบูรณ์
4.  วีคเอนด์นี้จะไปทัวร์เชียงใหม่ควรใช้เป็นภาษาเขียนว่า
     อย่างไร
ก.   วันหยุดประจำสัปดาห์นี้จะไปท่องเที่ยวจังหวัด       เชียงใหม่
ข.      สุดสัปดาห์นี้จะไปท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
ค.     วันหยุดสัปดาห์นี้จะไปทัศนศึกษาเชียงใหม่
ง.      อาทิตย์นี้จะไปแอ่วเชียงใหม่
5.  ใบสมัครงานเป็นแบบกรอกรายการประเภทใด
      ก.   แบบกรอกรายการทั่วไป                                           ข.  จำนวนคำในแต่ละวรร
      ข.   แบบกรอกรายการที่ใช้เป็นหลักฐาน
      ค.   แบบกรอกรายการที่เป็นแบบประเมินผล
     ง.   แบบกรอกรายการที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
 6.  ถ้านักเรียนต้องการกรอกแบบสมัครงานขั้นต้นนักเรียน
      จะต้องทำอย่างไร
ก.      ตรวจทานอย่างรอบคอบ
ข.      รักษาความสะอาดไม่มีรอยขีดฆ่า ขูดลบ
ค.     เขียนข้อความด้วยลายมือของตนเอง ให้อ่านง่าย
ง.      ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดข้อมูลที่ต้องกรอก
7.  การเขียนชีวประวัติที่เอ่ยแต่เพียงด้านดีเพียงด้านเดียว  
     เป็นการเขียนชีวประวัติประเภทใด
     ก.   ชีวประวัติแบบจำลองลักษณ์   
     ข.   ชีวประวัติแบบประเมินค่า
     ค.   ชีวประวัติแบบรอบวง
     ง.   ชีวประวัติแบบสดุดี  
8.  ข้อใดคือหลักสำคัญที่ช่วยในการเขียนย่อความ
     ก.  รูปแบบการย่อ                    
     ข.   การถอดคำประพันธ์
     ค.   การรู้จักการสังเกตคำ                                   
     ง.   การจับใจความสำคัญ
9.  ถ้านักเรียนต้องการเขียนจดหมายไปเชิญวิทยากร      
      ภาษาที่ใช้ในการเขียนควรมีลักษณะอย่างไร
     ก.  ภาษากึ่งแบบแผนสื่อสารตรงไปตรงมา               
     ข.   ข้อความสั้นกะทัดรัดอ่านเข้าใจง่าย
     ค.   ภาษาแบบแผนใช้ศัพท์วิชาการ
     ง.   ข้อความสั้นกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ
10. คำขวัญ มีลักษณะอย่างไร
    ก.  ข้อความสั้นๆ ไพเราะ
     ข.   ข้อความที่ส่งเสริมให้ทำความดี
     ค.   ข้อความสั้นๆ ที่มีพลังในการโน้มน้าวใจผู้ฟัง
     ง.   ข้อความที่เป็นคำแนะนำให้ผู้ฟังประพฤติปฏิบัติตาม
11. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคำขวัญที่ดี
ก.      ผู้รับสารสนใจและจำได้ทันที
ข.      ผู้รับสารมีความนิยม                                    
ค.     กระทบใจผู้รับสาร
ง.   ผู้รับสารสนใจ
12. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคำคม
     ก.   ถ้อยคำที่เป็นหลักความจริง    
     ข.   ถ้อยคำที่ชวนให้คิด
     ค.   ถ้อยคำที่แหลมคม                                      
     ง.   ถ้อยคำที่ไพเราะ
13. ข้อความที่ยกตัวอย่าง เป็นคำคมประเภทใด
          นรชาติวางวาย                    มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
     สถิตทั่วแต่ชั่วดี                          ประดับไว้ในโลกา
ก.      คำคมที่ใช้คำเปรียบเทียบให้ความหมาย
ข.      คำคมที่เป็นคำสัมผัสคล้องจอง   
ค.     คำคมที่แต่งด้วยคำประพันธ์   
ง.      คำคมที่เป็นคำพูดไพเราะ
14. เทรนด์ใหม่ของธุรกิจยุคนวัตกรรมไม่รู้จบ ข้อความนี้
     เป็นงานเขียนประเภทใด
     ก.   คำแนะนำ               ข.  คำขวัญ
ค.    โฆษณา                 ง.   คำคม
15. สุนทรพจน์ หมายความว่าอย่างไร
      ก.   คำกล่าวที่กล่าวในที่ประชุมชน ถูกต้องตามหลักความ
           จริง มีแนวคิดทันสมัย ทำให้ผู้ฟังประทับใจ
      ข.   คำกล่าวที่ถูกต้องตามหลักความจริง มีแนวคิดใหม่
           คมคาย ลึกซึ้ง ทำให้ผู้ฟังประทับใจ
      ค.   คำกล่าวที่สัมผัสคล้องจอง ไพเราะ มีแนวคิดที่ทันสมัย 
           ลึกซึ้ง ทำให้ผู้ฟังประทับใจ
      ง.   คำกล่าวที่ดีงาม ไพเราะ มีแนวคิดคมคาย ลึกซึ้ง
      ทำให้ผู้ฟังประทับใจ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
การเขียนเพื่อการสื่อสาร 2

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  ภาษาที่ใช้ในการเขียนชื่อโครงงาน ควรมีลักษณะอย่างไร
       ก.   ใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน และใช้ถ้อยคำที่มีความหมาย               ลึกซึ้ง
       ข.   ใช้ภาษาตรงไปตรงมา สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
       ค.   ใช้ภาษาทันสมัย เร้าใจผู้อ่าน
       ง.   ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
   2.  การเขียนชื่อสมาชิกที่รับผิดชอบโครงงาน
       จะต้องเรียงลำดับอย่างไร
       ก.   เรียงตามลำดับตำแหน่งหน้าที่ในการทำโครงงาน
       ข.   เรียงตามลำดับตัวอักษร
       ค.   เรียงตามเพศชาย หญิง                   
       ง.   เรียงตามเลขที่
   3.  ข้อใดไม่ปรากฏในการเขียนที่มาของโครงงาน
       ก.   การวางแผนปฏิบัติงานในการทำโครงงาน
       ข.   ผู้ที่สนับสนุนในการทำโครงงาน
       ค.   เหตุจูงใจในการทำโครงงาน
       ง.   สาเหตุที่ทำโครงงาน
   4.  บทนำของรายงานการศึกษาค้นคว้า เขียนเรียงลำดับ  ขั้นตอนอย่างไร
       ก.   ขอบเขต ขั้นตอน วิธีการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ              สาเหตุในการศึกษา วัตถุประสงค์
       ข.   วัตถุประสงค์ สาเหตุในการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่า                จะได้รับ ขอบเขต ขั้นตอน วิธีการ
       ค.   สาเหตุในการศึกษา วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่า                จะได้รับ ขอบเขต ขั้นตอน วิธีการ
       ง.   สาเหตุในการศึกษา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอน วิธีการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5. การเขียนในข้อใดมีลักษณะคล้ายกับการเขียนอธิบาย
       ก.   การเขียนแสดงความคิดเห็น
       ข.   การเขียนรายงาน
       ค.   การเขียนโต้แย้ง
       ง.   การเขียนชี้แจง
   6.  เรื่องที่นำมาเขียนอธิบาย ควรมีลักษณะอย่างไร
       ก.   เรื่องที่ให้ความรู้ ความคิด และนำไปปฏิบัติตามได้
       ข.   เรื่องที่น่าสนใจ น่ารู้ และต้องการคำอธิบาย
       ค.   เรื่องที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
       ง.   เรื่องที่ทันสมัย
7.  ข้อใดไม่ใช่วิธีการเขียนอธิบาย
       ก.   เขียนโดยยกเหตุผล และมีตัวอย่างประกอบชัดเจน
       ข.   เขียนเรียงลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติ
       ค.   ใช้ถ้อยคำที่กระชับ รัดกุม
       ง.   ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
   8.  บุคคลใดเขียนแสดงความคิดเห็นไม่ถูกต้องตามหลักการ
       ก.   ปลา ต้องการเขียนเพื่อให้เกิดการปรับปรุง  เปลี่ยนแปลง พัฒนาไปในทางที่ดี
       ข.   ปู เขียนโดยใช้ข้อมูลในการนำเสนอที่ถูกต้อง
       ค.   หอย เขียนเพื่อชักจูงเกลี้ยกล่อมผู้อื่น
       ง.   กุ้ง ไม่มีอคติในเรื่องที่เขียน
 9.  ข้อใดแสดงว่า เลือกเรื่องที่เขียนรายงานศึกษาค้นคว้า
       ไม่ถูกต้อง
ตามหลักการ
       ก.   น้ำ เลือกเรื่องที่ผู้อ่านสนใจ เหมาะสมกับผู้อ่าน
            และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
       ข.   นงค์ เลือกเรื่องที่ตนมีความสนใจและมีประสบการณ์
       ค.   น้อง เลือกเรื่องที่ยังไม่มีผู้เขียน หรือยังไม่แพร่หลาย
       ง.   นิด เลือกเรื่องที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม
10. “มีการอภิปราย หรือข้อเสนอแนะในประเด็นการศึกษา  เรื่องที่สามารถศึกษาต่อยอด” ข้อความนี้กล่าวถึงการ         เขียนส่วนใดของรายงาน
       ก.   ภาคผนวก              
       ข.   เนื้อหา
       ค.   บทนำ
       ง.   สรุป
11.  ข้อใดในส่วนที่บอกให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น
       เมื่อ สิ้นสุดโครงงาน
       ก.   หลักวิชาที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน
       ข.   วิธีปฏิบัติในการทำโครงงาน
       ค.   จุดประสงค์ของโครงงาน
       ง.   ผลที่คาดหวัง
 12. ข้อใดเขียนบรรณานุกรมหนังสือเล่มได้ถูกต้อง
       ก.   ธีรภาพ โลหิตกุล. แพรวสำนักพิมพ์. 2551. จดหมาย  ถึงสายน้ำบันทึกถึงขวัญข้าว
       ข.   ธีรภาพ โลหิตกุล. แพรวสำนักพิมพ์, จดหมายถึง  สายน้ำบันทึกถึงขวัญข้าว, 2551.
       ค.   ธีรภาพ โลหิตกุล. 2551. จดหมายถึงสายน้ำ       บันทึกถึงขวัญข้าว. กรุงเทพมหานคร :                        แพรวสำนักพิมพ์.
       ง.   ธีรภาพ โลหิตกุล. จดหมายถึงสายน้ำบันทึกถึง    ขวัญข้าว. แพรวสำนักพิมพ์. 2551
13.  การใช้ข้อมูลภาคสนามในการทำรายงานการศึกษา                   ค้นคว้าทำได้โดยวิธีใด
       ก.   ผู้ทำรายงานต้องรวบรวมขึ้นจากการทดลอง
            การสัมภาษณ์ การสังเกต และอื่นๆ
       ข.   ผู้ทำรายงานต้องรวบรวมจากเอกสารที่ยังไม่ได้ เผย                แพร่
       ค.   ผู้ทำรายงานต้องรวบรวมจากสื่อที่มีความหลากหลาย
       ง.   ผู้ทำรายงานต้องรวบรวมจากการขุดค้นในสถานที่จริง
14.  ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบตอนต้นของรายงานการศึกษา             ค้นคว้า
       ก.   กิตติกรรมประกาศ       ข.   ภาคผนวก
       ค.   สารบัญ                     ง.   คำนำ
15.  ถ้านักเรียนต้องการทำโครงงานเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ        เพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น ควรจัดทำโครงงานประเภทใด
       ก.   โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ
       ข.   โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น
       ค.   โครงงานที่เป็นการสำรวจ
       ง.   โครงงานค้นคว้า ทดลอง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
การพูดเรื่องจากสื่อที่ฟังและดู

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การพูดวิเคราะห์วิจารณ์สื่อได้ถูกต้องตรงกับข้อใด
       ก.   วิจารณ์ข้อบกพร่องของสิ่งที่ฟังและดู
       ข.   วิจารณ์แนวคิดในการนำเสนอสารของผู้ส่งสาร
       ค.   วิจารณ์บุคลิกลักษณะลีลาท่าทางของผู้ส่งสาร
       ง.   วิจารณ์ในเชิงโครงสร้างเนื้อหาที่ผู้ส่งสารนำเสนอ
   2.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการพูดวิเคราะห์วิจารณ์
       ก.   พูดอธิบาย
       ข.   พูดโต้ตอบ
       ค.   พูดชี้แจงเหตุผล
       ง.   พูดแสดงความคิดเห็น
   3.  บุคคลในข้อใดมีวิจารณญาณในการฟังและการดู
       ก.   เอ ฟังและดูสื่อแล้วนำไปปฏิบัติตาม
       ข.   บี ฟังและดูสื่อแล้วศึกษาจุดมุ่งหมายของเรื่อง
       ค.   ซี ฟังและดูสื่อแล้วพูดวิพากษ์วิจารณ์ตามความพอใจ
       ง.   ดี ฟังและดูสื่อแล้ววิเคราะห์จุดมุ่งหมาย
            ความน่าเชื่อถือ แล้วประเมินค่า
   4.  นายเดชฟังเรื่องราวแล้วนำมาแยกแยะออกเป็นส่วนๆแสดงว่าเขาใช้วิธีใดในการฟัง
       ก.   วิจารณ์
       ข.   วิเคราะห์
       ค.   สรุปความ
       ง.   ประเมินค่า
   5.  ข้อใดไม่ใช่ภาษาในการพูดแสดงความคิดเห็น
       ก.   ดิฉันอยากทราบว่า
       ข.   ดิฉันเห็นว่า
       ค.   ดิฉันคิดว่า
       ง.   ดิฉันรู้ว่า
6. ข้อใดไม่ใช่มารยาทในการพูด
       ก.   ไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด   
       ข.   หาข้อมูลมาประกอบการพูด
       ค.   มีอารมณ์ขันสร้างความบันเทิงแก่ผู้ฟัง
       ง.   เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเหมาะสมแก่กาลเทศะ
   7.  การมีมารยาทในการพูดเป็นผลดีต่อผู้พูดอย่างไร
       ก.   ทำให้มีบุคลิกดี
       ข.   ทำให้ไม่มีข้อขัดแย้งกับผู้อื่น
       ค.   เป็นที่เคารพนับถือของผู้ฟัง
       ง.   สร้างความศรัทธาให้แก่ผู้ฟัง
 8.  แนวทางฝึกฝนการเป็นนักพูดที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร
       ก.   หาความรู้มาประกอบการพูด
       ข.   หาตัวอย่างที่น่าสนใจมาประกอบการพูด
       ค.   หามุกตลกเรื่องขบขันมาประกอบการพูด
       ง.   หาสื่อที่สวยงามมีคุณภาพสูงมาประกอบการพูด
   9.  บุคคลในข้อใดมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์
ของตนในขณะที่พูด
       ก.   โดม ไม่เสียดสีผู้อื่น
       ข.   ดอน ยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายผู้ฟัง
       ค.   โด่ง ไม่นำเรื่องของผู้อื่นมาเปิดเผย
       ง.   ดอม ไม่โต้ตอบกับผู้อื่นเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
            ในขณะที่พูด
10. ข้อใดเป็นจุดเด่นของการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า
       ก.   เสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา
       ข.   เสนอโครงสร้างในการปฏิบัติงาน
       ค.   เสนอเหตุผลมีข้ออ้างอิง
       ง.   เสนอแนวคิด
11.  ข้อใดคือหัวใจสำคัญของการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า
       ก.   การใช้ภาษาในการพูด
       ข.   การสืบค้นข้อมูลที่ใช้ในการพูด
       ค.   การเรียบเรียงข้อความที่นำมาพูด
       ง.   การใช้สื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนำมาประกอบการพูด
12.  ภาษาที่ใช้ในการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าควรเป็นภาษาที่มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ภาษาที่เป็นแบบแผนเหมาะกับเรื่องที่พูด
       ข.   ภาษาเหมาะสมกับระดับของผู้ฟัง
       ค.   ภาษาที่ฟังเข้าใจง่าย
       ง.   ใช้ศัพท์เฉพาะเรื่อง
13.  ภูมิปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร
       ก.   การสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านการเรียนรู้
       ข.   การค้นคว้าและการสร้างสรรค์
       ค.   การถ่ายทอดประสบการณ์
       ง.   การใช้ชีวิตประจำวัน
14. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทย
       ก.   การทำเกษตรแบบผสมผสาน
       ข.   การจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       ค.   การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่างๆ
       ง.   การอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านโภชนาการ
 15. บุคคลในข้อใดอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
       ก.   เด่น มีฝีมือในการทำอาหารพื้นบ้านทั้งคาวหวาน
       ข.   ดวง มีความสามารถในการแสดงนาฏศิลป์ท้องถิ่น
       ค.   เดือน พูดภาษาถิ่นของตนอย่างถูกต้องชัดเจน
        ง.   ดาว ไปร่วมงานพิธีกรรมในท้องถิ่น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
การพูดในโอกาสต่างๆ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  ญัตติหมายความว่าอย่างไร
   ก.  ข้อความที่เป็นประเด็นขัดแย้งในการโต้วาที       
   ข.  หัวข้อหรือเรื่องที่นำมาใช้ในการโต้วาที
   ค.   การนำเหตุผลมาคัดค้านฝ่ายตรงข้าม   
       ง.   วิธีการเสนอความคิดเห็น
   2.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของข้อความที่ใช้เป็นญัตติในการโต้วาที
       ก.  เข้าใจง่าย
       ข.   สั้น กะทัดรัด
       ค.   เป็นเรื่องที่ทันต่อเหตุการณ์                           
       ง.   มีความหมายชัดเจนสมบูรณ์
   3.  ผู้ดำเนินการโต้วาทีมีความสำคัญอย่างไร
      ก.  เป็นผู้กำหนดให้การโต้วาทีดำเนินไปตามลำดับขั้นตอน
       ข.   เป็นผู้กำหนดรายละเอียดต่างๆ ในการโต้วาที     
       ค.   เป็นผู้กำหนดตัวบุคคลในคณะโต้วาที   
       ง.   เป็นผู้กำหนดญัตติในการโต้วาที
   4.  การพูดโต้แย้งกับการโต้วาทีมีความแตกต่างกันอย่างไร
      ก.  การโต้วาทีเป็นพิธีการมากกว่าการโต้แย้ง          
       ข.   การโต้แย้งเป็นพิธีการมากกว่าการโต้วาที
       ค.   การโต้แย้งต้องใช้วาทศิลป์มากกว่าการโต้วาที
       ง.   การโต้วาทีใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าการโต้แย้ง
   5.  ใครเป็นผู้ตัดสินการพูดได้ดีที่สุด
      ก.  ประธานในการพูด     
       ข.  ผู้ดำเนินการ
       ค.   กรรมการ               
       ง.   ผู้ฟัง
 6.  หัวข้อการอภิปรายควรมีลักษณะอย่างไร
       ก.   เรื่องที่น่าสนใจ                             
       ข.   เรื่องที่ทันสมัยอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง
       ค.   เรื่องที่สนุกเพลิดเพลินให้ความบันเทิงใจแก่ผู้ฟัง
       ง.   เรื่องที่ให้ความรู้ความคิดสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้
   7.  ข้อใดเป็นลักษณะของการโต้วาทีที่ดี
       ก.   ใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
       ข.   ให้ความรู้และความบันเทิง
       ค.   ให้ความสนุกเพลิดเพลิน                  
       ง.   ให้ความรู้ความคิด    
   8.  การอภิปรายมีลักษณะอย่างไร
   ก.  การพูดแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด                 
   ข.   การพูดแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์
   ค.  การพูดเพื่อวางแผนในการปฏิบัติงานต่างๆ
       ง.   การพูดเพื่อเผยแพร่ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูด
  9.  เหตุใดผู้อภิปรายจึงต้องศึกษาอุปนิสัยของผู้ร่วมอภิปรายคนอื่นๆ
   ก.  เพื่อหาความรู้ให้เท่าเทียมกับคนอื่น
   ข.   เพื่อพัฒนาตนเองให้ล้ำหน้ากว่าผู้อื่น
   ค.    เพื่อปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มอภิปรายได้
   ง.      เพื่อทราบถึงความสามารถพิเศษของผู้อื่น
10.  ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของผู้ดำเนินการอภิปราย
       ก.   สรุปผลการอภิปรายในตอนท้ายรายการ
       ข.   ควบคุมการอภิปรายให้มีระเบียบขั้นตอน
       ค.   ทำหน้าที่เสนอแนะความรู้ความคิดเพิ่มเติม
       ง.   ทำหน้าที่จำกัดวงอภิปรายไม่ให้ออกนอกประเด็น
 11. ข้อใดถูกต้องตามลำดับขั้นตอนของการพูดโน้มน้าว
       ก.  ฟัง  เชื่อ  เห็นคุณค่า  ทำตาม
       ข.   ฟัง  เชื่อ  ทำตาม  เห็นคุณค่า
       ค.    เชื่อ  ฟัง  เห็นคุณค่า  ทำตาม           
     ง.   เชื่อ  ฟัง  ทำตาม  เห็นคุณค่า
  12.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะการใช้ภาษาในการพูดโน้มน้าว
   ก.  ขอร้อง  
   ข.   สั่งสอน
   ค.   เสนอแนะ                                   
         ง.   วิงวอนหรือเร้าใจ
  13.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่ได้รับความเชื่อถือของคนทั่วไป
   ก.  มีคุณธรรม
   ข.   มีความคิดดี
   ค.   มีความรู้จริง
        ง.   มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
14. การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับตัวผู้ฟังการอภิปราย
        เป็นประโยชน์สำหรับผู้อภิปรายอย่างไร
       ก.   เลือกเรื่องที่จะพูดได้เหมาะกับผู้ฟัง
       ข.   เลือกใช้สื่อประกอบการพูดได้อย่างเหมาะสม
       ค.   เลือกใช้ถ้อยคำและภาษาพูดได้เหมาะสมกับผู้ฟัง
       ง.   เลือกเวลาและสถานที่ได้เหมาะกับความสนใจและ     
            วัยของผู้ฟัง
    15.  บุคคลในข้อใดไม่มีมารยาทในการพูดอภิปราย         
        ก.   ประพันธ์ ใช้คำพูดที่เป็นกันเองกับผู้ฟัง
        ข.   ประไพ ไม่พูดเรื่องที่กระทบกระเทียบบุคคลอื่น
        ค.   ประภา ยกย่องความคิดของผู้ร่วมอภิปรายคนอื่น
        ง.   ประพนธ์ ผูกขาดการพูดแสดงความคิดเห็นเพราะพูด
             ดีกว่าคนอื่น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
การใช้คำในภาษาไทย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. คำในข้อใดเป็นคำภาษาเขมร
      ก.  เพลิง                 
       ข.   เพชร     
       ค.   มรกต                
       ง.   บูรณะ
   2.  คำในข้อใดยืมมาจากภาษาสันสกฤตทุกคำ
   ก.  กรีฑา  อัชฌาสัย  สมุทร                  
   ข.   กีฬา   บรรทัด  พรรณนา
   ค.  ศิษย์   พฤกษา   เคราะห์                
       ง.   พาณิชย์  มัธยมศึกษา  ปราชญ์
   3.  ข้อใดเป็นลักษณะของคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย
      ก.  ส่วนใหญ่เป็นเสียงสามัญ                 
       ข.   ไม่มีตัวสะกดแต่นิยมผสมด้วยสระเสียงยาว
       ค.   พยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางมากกว่าอักษรอื่น
       ง.   ส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว ไทยนำมาสร้างคำใหม่
            เป็นคำประสม
   4.  คำว่า “เมตตา  วิญญาณ” ยืมมาจากภาษาใด
       ก.  บาลี                   ข.   ชวา
       ค.   เขมร                   ง.   สันสกฤต
   5.  คำที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน มักจะยืมมาจากภาษาใด
      ก.  ภาษาชวา-มลายู        ข.   ภาษาอังกฤษ       
       ค.   ภาษาเขมร              ง.   ภาษาจีน
6. คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษเริ่มเข้ามาในสมัยใด
   ก.  รัชกาลที่ 1              ข.  รัชกาลที่ 2
       ค.   รัชกาลที่ 3-4           ง.   รัชกาลที่ 4-6
   7.  คำภาษาชวาเข้ามาในภาษาไทยพร้อมกับวรรณคดีเรื่องใด
       ก.   ดาหลังและอิเหนา             
       ข.  ลิลิตเพชรมงกุฎ
       ค.  ระเด่นลันได        
       ง.    รามเกียรติ์              
   8.  คำทับศัพท์มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ยืมมาปรับเปลี่ยนความหมาย            
       ข.  ยืมมาปรับเปลี่ยนวิธีการออกเสียง
       ค.  ยืมมาปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคำ     
       ง.    ยืมมาใช้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข
 9.  ศัพท์บัญญัติคิดขึ้นมาใช้แทนคำศัพท์ในภาษาใด       
        ก.   ภาษาอังกฤษ                   
        ข.  ภาษาชวา-มลายู
        ค.  ภาษาบาลี-สันสกฤต                              
  ง.   ภาษาจีนและอังกฤษ
10.  ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของภาษาชวา-มลายู
       ก.  เป็นคำโดด          
       ข.  ใช้รูปวรรณยุกต์เอก โท        
       ค.  ไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ
            ง.   เป็นคำที่แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณี
11. คำในข้อใดเป็นศัพท์บัญญัติ
       ก.  โบนัส                            
       ข.  กรรมการ
            ค.   ไดโนเสาร์                       
           ง.  วัฒนธรรม
  12.  ข้อใดเป็นศัพท์บัญญัติทางวรรณคดี
       ก.  รัฐกันชน             
       ข.  การเสียดสี
       ค.  เสียงเสียดแทรก                
             ง.   ความสูงคลื่นเสียง
  13.  ข้อใดไม่ใช่คำศัพท์ในวงวิชาชีพธุรกิจการขาย          
       ก.  ซัพพลายเออร์  ออร์เดอร์                 
       ข.   เบรกอีเวน  เยียร์ลีรีวิว
       ค.  ควอเตอร์  โปรเจ็กเซล                                 
       ง.    คอมพิวเตอร์  โน้ตบุ๊ก
14. ข้อใดเป็นศัพท์บัญญัติทางคณิตศาสตร์                      
   ก.  รหัสแท่ง  ทวิเสถียร            
   ข.   สัมปทาน  ค่าผ่านทาง         
   ค.  อนุกรม  การแปลงผัน
        ง.   การแฝงนัย   การผูกขาด
  15.  ศัพท์บัญญัติใช้คำในภาษาใดมาประกอบขึ้นเป็นคำใหม่
        ก.   ภาษาบาลี-สันสกฤต                       
        ข.  ภาษาจีนและอังกฤษ
        ค.  ภาษาชวา-มลายู                      
       ง.  ภาษาอังกฤษ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
การวิเคราะห์ภาษา

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  ประโยค หมายความว่าอย่างไร
      ก.  กลุ่มคำที่มีความชัดเจนแสดงความคิดเห็นที่สมบูรณ์
       ข.   กลุ่มคำที่นำมาเรียบเรียงกันให้ได้ใจความสมบูรณ์
      ค.  กลุ่มคำที่แสดงความคิดและอารมณ์
      ง.   กลุ่มคำที่มีความหมาย
   2.  ข้อใดเป็นประโยคสามัญที่มีหลายกริยาวลี
       ก.   ฉันเก็บสมุด หนังสือ อุปกรณ์การเรียนใส่กระเป๋า
       ข.   คุณแม่ดูรายการท่องเที่ยวในโทรทัศน์
       ค.   น้องชายประสบอุบัติเหตุเมื่อคืนนี้
       ง.   คุณพ่อขับรถยนต์ไปต่างจังหวัด
   3.  ข้อใดเป็นประโยคให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
       ก.   แพรและแพรวอพยพไปอยู่ต่างจังหวัด
       ข.   กวางชอบเล่นกีฬาแต่ปูชอบเล่นดนตรี
       ค.   แมวเหมียวจะไปต่างจังหวัดหรืออยู่บ้าน
       ง.   ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็ให้ความช่วยเหลือ
            ผู้ประสบอุทกภัย
   4.  ข้อใดเป็นส่วนประกอบของประโยคสามัญ
     ก.  ประธาน  กริยา
       ข.   ประธาน  กริยา  ส่วนขยาย
       ค.   ประธาน  กริยา  ส่วนขยาย  คำเชื่อมกริยา
       ง.   ประธาน  กริยา  กรรม  ส่วนขยาย  คำเชื่อมกริยา
   5.  ข้อใดคือลักษณะของประโยคซ้อน
       ก.  ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ วิเศษณานุ
            ประโยค และนามานุประโยค
       ข.   ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ นามานุประโยค
            และคุณานุประโยค
       ค.   ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ นามานุประโยค
            และวิเศษณานุประโยค
       ง.   ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ มุขยประโยค
            และอนุประโยค
 6.  คุณพ่อบอกลูกๆ ว่าทุกคนต้องเข้มแข็งอดทนร่วมมือ
       ร่วมใจกันฝ่าฟันกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น จนยากที่จะ
       แก้ไขได้  ข้อความนี้เป็นประโยคชนิดใด
       ก.   ประโยคซ้อน
       ข.   ประโยครวมที่ซับซ้อน
       ค.   ประโยคซ้อนที่ซับซ้อน     
       ง.   ประโยคสามัญที่ซับซ้อน
   7.  ข้อใดคือจุดเด่นของประโยครวม  
       ก.   มีสองประโยค          
       ข.   มีสันธานเชื่อม
       ค.   มีความเป็นอิสระ      
       ง.   แยกประโยคได้     
    8.  ประโยคซ้อนในข้อใด มีคุณานุประโยค
      ก.  เรือที่คุณพ่อซื้อมาลำใหญ่มาก
       ข.   ไม่มีใครคาดว่าปี พ.ศ. 2554 น้ำจะมาก
       ค.   ในหมู่บ้านของเราทุกคนช่วยตัวเองไม่รอความ                  ช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก
       ง.   ทุกคนร่วมกันวางกระสอบทรายตลอดวันเพื่อป้องกัน
            น้ำท่วม
    9.  การเขียนในข้อใดไม่ใช้ภาษากึ่งแบบแผน
       ก.   การเขียนหนังสือราชการ     
       ข.   การเขียนจดหมาย
  ค.    การเขียนบันทึก
  ง.    การเขียนข่าว
10.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาไม่เป็นแบบแผน
       ก.   ผู้ใช้ไม่เคร่งครัดในไวยากรณ์             
       ข.   มีคำภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปน
       ค.   ใช้พูดในชีวิตประจำวันกับผู้คุ้นเคย
       ง.   ใช้เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน
 11. ของถวายพระ เรียกว่าอย่างไร
        ก.   เครื่องไทยทาน     
        ข.   เครื่องอัฐบริขาร
        ค.   เครื่องไทยธรรม
     ง.   เครื่องปัจจัยไทยทาน
12.  คำสุภาพใช้กับใคร
        ก.   บุคคลทั่วไป
        ข.   บุคคลชั้นนำในสังคม
        ค.   บุคคลซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ
        ง.   บุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี
  13.  คำราชาศัพท์ในข้อใดใช้ไม่ถูกต้อง
       ก.   พระราชอำนาจ    
       ข.   พระราชปรารภ
  ค.  พระราชประสงค์  
       ง.   พระราชบุตรเขย
14. สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ใช้ในการพูดกับสมเด็จพระราชาคณะ
        คือข้อใด
  ก.  พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ             
  ข.  ท่านพระเดชพระคุณเจ้า
  ค.  ท่านเจ้าประคุณ    
       ง.   พระคุณเจ้า
  15.  ข้อใดใช้ภาษาในระดับเดียวกันกับการเขียนบทสุนทรพจน์
        ในงานพิธีของทางราชการ
  ก.  ประกาศขององค์กรเอกชน
  ข.   แถลงการณ์สำนักพระราชวัง
       ค.   งานเขียนที่มีเนื้อหาให้ความรู้ทั่วไป
       ง.    การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับการ                ดำเนินชีวิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
การแต่งบทร้อยกรองประเภท โคลงสี่สุภาพ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของโคลง
      ก.  บังคับครุ ลหุ
       ข.   บังคับเอก โท       
       ค.   บังคับจำนวนคำ
       ง.   บังคับวิธีเรียงคำเข้าคณะ
   2.  ข้อใดไม่จัดเป็นชนิดของโคลง
  ก.   บาทกุญชร          
  ข.   จัตวาทัณฑี
  ค.   อินทรวิเชียร        
       ง.   ตรีพิธพรรณ
   3.  โคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมีกี่บาท
       ก.  8 บาท                       ข.   6 บาท
       ค.   4 บาท                      ง.   2 บาท
   4.  ในการแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลง อาจมีสร้อยคำ
       เพิ่มได้ในบาทใด
      ก.  บาทที่ 1 และบาทที่ 3         
       ข.   บาทที่ 2 และบาทที่ 3
       ค.   บาทที่ 2 และบาทที่ 4        
       ง.   บาทที่ 3 และบาทที่ 4
   5.  บทร้อยกรองประเภทโคลง ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรก
       ในวรรณคดีเรื่องใด
   ก.  กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
   ข.   ลิลิตโองการแช่งน้ำ
   ค.   กำสรวลโคลงดั้น
       ง.   ไตรภูมิพระร่วง
6.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะบังคับในโคลง
       ก.  จำนวนคำในบท                
       ข.   เสียงในบท
       ค.   สัมผัส
       ง.   จังหวะ
   7.  ข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภทโคลง
       ก.   โคลงดั้น 
       ข.   โคลงสุภาพ
       ค.   โคลงโบราณ        
       ง.   โคลงสุภาษิต           
    8.  โคลงในข้อใดที่ไทยเราแปลงมาจากกาพย์ในภาษาบาลี
       ก.   โคลงดั้น 
       ข.   โคลงโบราณ
       ค.   โคลงสุภาพ         
       ง.   โคลงสุภาษิต
 9.  “คำคล้องจองกัน ช่วยให้ร้อยกรองมีท่วงทำนองเสียงที่
       ร้อยเรียงเกี่ยวเนื่องกัน” ข้อความนี้ กล่าวถึงลักษณะ   บังคับในข้อใด
       ก.   คณะ                 
       ข.   จังหวะ
       ค.   สัมผัส    
   ง.   คำเอก คำโท
10.  ข้อใดไม่ใช่คำตาย
       ก.  เลข                   
       ข.   ราก
       ค.   เกาะ     
       ง.   ปลา
11. ลีลาของโคลงสี่สุภาพ มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ลีลาอ่อนโยนพลิ้วไหว
       ข.   ลีลาคึกคักคะนองว่องไว
       ค.   ลีลากระฉับกระเฉงรวดเร็ว
     ง.   ลีลาเนิบนาบ แต่มีท่วงท่าสง่างาม
12.  ข้อใดเป็นการกำหนดบังคับโทในการแต่งโคลง
    สี่สุภาพ
       ก.   เอก 7 โท 4         
       ข.   เอก 7 โท 7
       ค.   เอก 4 โท 4         
        ง.   เอก 4 โท 7
  13.  โคลงในวรรณคดีเรื่องใดที่ได้รับการยกย่องให้เป็นโคลง
        ครูสำหรับการแต่งโคลง
       ก.   จินดามณี
       ข.   ลิลิตพระลอ
       ค.   นิราศสุพรรณ                
       ง.  โคลงทวาทศมาส
14. “แหนหนั่นหนองมองจ้อง  จึ่งแจ้งใจจริงบารมี” ข้อความนี้          เน้นสัมผัสชนิดใด
  ก.  สัมผัสคู่  
  ข.    สัมผัสชิด
  ค.    สัมผัสคั่น
       ง.   สัมผัสจังหวะ
  15.  รัชสมัยใด จัดเป็นยุคทองของบทร้อยกรองประเภทโคลง
       ก.   สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
       ข.   สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
       ค.   สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
        ง.  สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น