ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การอ่านวินิจสาร

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การอ่านวินิจสารควรใช้ทักษะการอ่านพื้นฐานใด
    เป็นสำคัญ
    ก.  การอ่านแบบกวาดสายตา
    ข.  การอ่านจับใจความสำคัญ
    ค.  การอ่านเพื่อประเมินค่า
    ง.  การอ่านแปลความ

2. การอ่านสารชนิดใด ที่ไม่ควรใช้การอ่านแปลความ
    ก.  การอ่านบทกวีนิพนธ์
    ข.  การอ่านตำราวิชาการ
    ค.  การอ่านป้ายโฆษณาสินค้า
    ง.  การอ่านข่าวพยากรณ์อากาศ

3. หลักการสำคัญของการอ่านแปลความ คือข้อใด
    ก.  ควรจับประเด็นสำคัญของผู้เขียนให้ได้       
    ข.  ควรแปลเพื่อให้เข้าใจเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น
    ค.  ควรแปลความหมายทุกคำที่ปรากฏในเรื่อง
    ง.  ควรแปลแล้วยังรักษาเนื้อหาและสาระความสำคัญ
        ของเรื่องภาษาต่างประเทศ

4. สัญลักษณ์ดังกล่าว หมายความว่าอย่างไร

    ก.  ระวังอันตรายจากฝุ่นละออง
    ข.  ระวังอันตรายจากคลื่นเสียง
    ค.  ระวังอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง
    ง.  ระวังอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี

5.  ข้อใดเป็นหลักเกณฑ์การอ่านตีความ
    ก. ต้องมีความคิดแทรกขณะที่อ่าน
    ข. ต้องเข้าใจความหมายของศัพท์ที่อ่าน
    ค. ต้องคาดคะเนสิ่งที่น่าจะเป็นขณะที่อ่าน
    ง. ต้องจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
6. ข้อความในข้อใดที่ตีความได้มากกว่าหนึ่งความหมาย
    ก.  เหล้าเก่าในขวดใหม่
    ข.  แม่ดอกโสนบานเช้า
    ค.  สามวันจากนารีเป็นอื่น
      ง.  กินเหมือนหมูอยู่เหมือนหมา

7. ข้อใดไม่ใช่วิธีการอ่านขยายความ
     ก.  การกล่าวถึงสาเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
     ข.  ถ้อยคำที่เขียนจะต้องมีความหมายที่ชัดเจน
     ค.  การอธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเพิ่มเติม
     ง.   การยกตัวอย่างหรือข้อเท็จจริงมาประกอบเนื้อเรื่องเดิม

8. “อาหารดีสุขภาพดี” แนวคิดสำคัญของข้อความนี้
    คือข้อใด
ก.    อาหารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อสุขภาพให้แข็งแรง
ข.    อาหารดีช่วยให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายแข็งแรง
ค.    สุขภาพที่แข็งแรงเกิดจากการรับประทานอาหารที่
     สดสะอาด
ง.     สุขภาพไม่แข็งแรงเพราะรับประทานอาหารที่ไม่มี
     ประโยชน์
    9. สิ่งสำคัญสำหรับการอ่านตีความ คือข้อใด
     ก.  ใช้ความคิดสร้างสรรค์ตีความหมายของข้อความ
     ข.  พิจารณาสาระและเจตนาของผู้เขียนที่ต้องการสื่อ
     ค.  อ่านเรื่องให้ละเอียดแล้วจับประเด็นสำคัญของผู้เขียน
     ง.  อาศัยบริบทเพื่อช่วยในการอธิบายความหมายของคำ
10.  ข้อใดไม่ใช่หลักการอ่านเพื่อประเมินค่า
     ก. พิจารณาความรู้สึก
   ข. พิจารณาภาษาที่ใช้
   ค. พิจารณากลวิธีการแต่ง
      ง.   พิจารณาเกี่ยวกับรูปแบบคำประพันธ์



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การอ่านในชีวิตประจำวัน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. วิธีการอ่านเพื่อสังเคราะห์ความรู้ ต้องอาศัยการอ่าน
    แบบใดเพื่อย่อยข้อมูลจากสิ่งที่อ่าน
    ก.  การอ่านในใจและการอ่านวิเคราะห์
    ข.  การอ่านออกเสียงและการอ่านตีความ
    ค.  การอ่านสรุปความและการอ่านจับใจความ
    ง.  การอ่านแปลความและการอ่านแสดงความคิดเห็น 
2. ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญของการอ่านเพื่อสังเคราะห์ 
    ได้ถูกต้อง
    ก.  ช่วยให้จับประเด็นสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น
    ข.  ทำให้มีวิจารณญาณในการรับสารและเกิดความคิด
    ค.  ช่วยผ่อนคลายอารมณ์และสร้างความเพลิดเพลิน
    ง.  ทำให้ทักษะการสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
3. การอ่านเพื่อสังเคราะห์ความรู้มีแนวทางสำคัญที่ใช้ใน
    การอ่านแบบใด
    ก.  อ่านเพื่อพิจารณาข้อบกพร่องและข้อดีของงานเขียน
    ข.  อ่านแบบกวาดสายตาเพื่อหาข้อมูลที่ไม่ตรงประเด็น
    ค.  เลือกบทอ่านหลายบทเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการ
        ครบถ้วน
    ง.  ควรอ่านงานอย่างมีอคติเพื่อช่วยให้มองงานได้                ครอบคลุม 
4. วิธีการใดช่วยให้การจัดกลุ่มความคิดรวบยอดจากการ    อ่านได้ชัดเจนที่สุด            
    ก.  ทำบัตรบันทึกข้อความ
    ข.  การขีดเส้นใต้ข้อความ
    ค.  การวาดภาพประกอบ
    ง.  การเขียนผังความคิด
5. การอ่านสารใดที่ไม่เหมาะกับการอ่านเพื่อสังเคราะห์           ความรู้
    ก. โปสเตอร์เชิญชวนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
    ข. โปสเตอร์รายงานผลการวิจัยด้านสุขภาพ
    ค. โปสเตอร์วิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
    ง. โปสเตอร์ประวัติวัฒนธรรมท้องถิ่น
6. บุคคลในข้อใดมีวิธีการอ่านเพื่อสังเคราะห์ความรู้ถูกต้อง
    ก.  เกริกอ่านข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศเท่านั้น
    ข.  ไม้งามเลือกบทอ่านที่สามารถอ้างอิงที่มาได้
    ค.  แก้วอ่านเฉพาะบทสรุปตอนท้ายของบทอ่าน
    ง.  มณีเลือกเฉพาะบทอ่านที่ตนเองสนใจและชื่นชอบ

7. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิด
   ก.  เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกสาระสำคัญและช่วยจำ
   ข.  ใช้ในการวางแผนเพื่อเตรียมงานหรือการเขียนรายงาน
   ค.  ช่วยสรุปความหมายจากการปฏิบัติงานภาคสนาม
   ง.  ช่วยต่อยอดและขยายความรู้ที่มีอยู่เดิมให้เพิ่มขึ้น

8. การเขียนความคิดรวบยอดไว้ส่วนบนแล้วลากเส้น   ให้
   สัมพันธ์กับความคิดรวบยอดอื่นๆ เป็นการเขียนกรอบ   แนวคิดแบบใด
    ก.  ผังมโนภาพ
    ข.  ผังก้างปลา
    ค.  ผังใยแมงมุม
    ง.  แผนภูมิเวนน์
9. ข้อใดเป็นวิธีการการเขียนกรอบแนวคิดที่เหมาะสม
    ก.  ปรุงแสดงความคิดนอกเหนือจากเรื่องที่อ่าน
    ข.  ปรางจัดลำดับรายละเอียดตามเหตุผลและเวลา
    ค.  โป้งใช้ศัพท์เฉพาะของตนเพื่อประหยัดถ้อยคำ
    ง.  แป้งโยงประเด็นทุกประเด็นรวมกันเพื่อความชัดเจน
10. วิธีการใดแสดงถึงมารยาทในการเขียนกรอบแนวคิด
     ก.  เขียนโดยบอกแหล่งที่มาของข้อมูลเดิมเสมอ
     ข.  คัดลอกบทความหรือเนื้อความบางตอนของผู้อื่น
     ค.  เขียนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแก่ตนเองเป็นสำคัญ
     ง.  เขียนตามความสนใจและความรู้เดิมของตนเองที่มี



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การเขียนเพื่อสื่อสาร

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การเขียนเพื่อมุ่งให้ผู้อ่านเห็นภาพโดยเล่าเหตุการณ์ที่
    เกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง คือการเขียนแบบใด
    ก.  การเขียนแบบความเรียง
    ข.  การเขียนแบบพรรณนา
    ค.  การเขียนแบบบรรยาย
    ง.  การเขียนแบบอธิบาย 
2. การเขียนที่สื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและอารมณ์ร่วม 
    ไปกับผู้เขียนเป็นการเขียนแบบใด
    ก.  การเขียนแบบพรรณนา
    ข.  การเขียนแบบบรรยาย
    ค.  การเขียนแบบอธิบาย
    ง.  การเขียนแบบความเรียง
บริเวณหน้าบ้านเต็มไปด้วยไม้นานาพรรณ และหลากหลายสีที่ปลูกไว้สลับไปมาทั้งไม้ดอกที่แข่งกันอวดประชันความงามยั่วยวนให้เหล่ามวลแมลงมาลิ้มลองความหอมหวานของเกสรดอกไม้ ไม้หอมเหล่านั้นช่างส่งกลิ่นหอมเย็นๆ ยามลมพัดให้อบอวลไปทั่วบริเวณ ต้นไม้ที่เติบใหญ่เริ่มแผ่กิ่งก้านให้เงา   ร่มรื่นจนทำให้บ้านดูร่มไปด้วยใบบังและก้านของต้นไม้ เด็กๆ วิ่งเล่นตามไม้ที่ปลูกไว้อย่างสนุกสนาน ผู้ใหญ่นั่งสนทนาปราศรัยกันบริเวณม้านั่งข้างๆ
3. ข้อความดังกล่าวเป็นการเขียนแบบใด
    ก.  การเขียนอธิบายแทรกบทพรรณนา       
    ข.  การเขียนบรรยายแทรกบทพรรณนา
    ค.  การเขียนอธิบายให้รายละเอียด
    ง.  การเขียนบรรยายต่อเนื่อง             
4.  ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของโครงการ
    ก.  เป็นการนำเสนอแผนงานที่จัดภายในหน่วยงาน
    ข.  เป็นการพัฒนาหน่วยงานให้มีศักยภาพมากขึ้น
    ค.  เป็นการเขียนแผนการดำเนินงานที่จะปฏิบัติ
    ง.  เป็นงานที่ต้องดำเนินตามแผนงานที่กำหนดไว้

 เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่เกือบทั่วทั้งประเทศ บางพื้นที่กลายเป็นทะเลสาบไม่เห็นแม้แต่หลังคาบ้าน บางพื้นที่น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มจนทำให้บ้านเรือนหลายหลังยุบตัวและกลืนหายไปกับกระแสน้ำ กระแสโคลน ชาวบ้านไร้ที่อยู่ต้องกางเต็นท์อาศัยตามริมถนน เหตุที่มีน้ำมากในปีนี้เพราะมีพายุเข้าทำให้ฝนตกหนักหลายพื้นที่และไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน

5.  ข้อความดังกล่าวเป็นการเขียนแบบใด
     ก.  การเขียนบรรยายแทรกเหตุผล
     ข.  การเขียนบรรยายแทรกความรู้
     ค.  การเขียนบรรยายแทรกข้อคิดเห็น
     ง.  การเขียนบรรยายแทรกบทพรรณนา

6. การเขียนโครงการ ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
     ก. การให้ข้อมูลโครงการด้านงบประมาณและส่วนงาน
          ที่รับผิดชอบ
     ข. การชี้ให้เห็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ
          เพื่อประเมินงาน
     ค. การนำเสนอสาระสำคัญของโครงการเพื่อให้เห็น
          เค้าโครงการปฏิบัติ
ง.  การกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการและ
     วัตถุประสงค์การจัดโครงการ
7. ข้อใดเป็นวิธีการเขียนรายงานโครงการที่ถูกต้อง
     ก.  เขียนเพื่อสรุปผลการศึกษา
     ข.  เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา
     ค.  เขียนเพื่อแสดงองค์ความรู้ใหม่
     ง.  เขียนเพื่ออธิบายกระบวนการศึกษา
8. ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานโครงการมีลักษณะ
     อย่างไร
ก.   ใช้ภาษาวิชาการเพื่อความน่าเชื่อถือ
ข.   ใช้คำสรรพนามแทนตัวผู้ทำรายงาน
ค.   ใช้ภาษาพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
     ง.  ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจได้ชัดเจน
9.  การประชุมที่จัดขึ้นเป็นพิเศษเรียกว่าการประชุมใด
    ก.  การประชุมสามัญ
    ข.  การประชุมวิสามัญ
    ค.  การประชุมประจำปี
    ง.  การประชุมปฏิบัติการ
10. ลักษณะการเขียนรายงานการประชุมมีลักษณะตรงกับ
    ข้อใด
   ก.  เขียนลำดับตามวาระการประชุมที่กำหนดไว้
ข. เขียนรายละเอียดทั้งหมดที่กล่าวในที่ประชุม
ค.   เขียนรายชื่อในส่วนผู้เข้าร่วมประชุม
     ง.  เขียนเฉพาะเรื่องที่พิจารณาเท่านั้น                                                                                                     



หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การเขียนบันเทิงคดี

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
 1.  งานเขียนประเภทบันเทิงคดีควรมีลักษณะตรงกับข้อใด
    ก.  งานเขียนที่มุ่งให้ความรู้โดยสอดแทรกความบันเทิง
        ให้แก่ผู้อ่าน
    ข.  งานเขียนที่มุ่งส่งเสริมสติปัญญาและข้อคิดคติ
        เตือนใจให้แก่ผู้อ่าน
    ค.  งานเขียนที่มุ่งให้ความบันเทิงและมีการใช้ถ้อยคำ
        เหมาะกับเนื้อเรื่อง
    ง.  งานเขียนที่มุ่งเน้นการเลือกสรรถ้อยคำให้สละ                สลวยเพื่อสร้างบรรยากาศ

2. การเขียนบันเทิงคดีควรมีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญใน
    เรื่องใด
    ก.  มีการลำดับเรื่องโดยการเล่าย้อนหลังเพื่อให้เรื่อง
        ชวนติดตาม
    ข.  เวลาและสถานที่ควรสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องเพื่อ
        ความสมจริง
    ค.  ชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กัน
    ง.  ภาษาเป็นเพียงบทสนทนาที่สมมติขึ้นเท่านั้น

3. งานเขียนข้อใดไม่ใช่บันเทิงคดี
    ก.  อนุทิน       
    ข.  นิทาน
    ค.  บทเพลง                  
    ง.  หัสนิยาย
             
4.  ข้อใดเป็นลักษณะของเรื่องสั้น
    ก.  ความยาวของเรื่องไม่จำกัดขึ้นอยู่กับการดำเนิน
        เรื่องเป็นหลัก
    ข.  ตัวละครมีหลายตัวและแต่ละตัวมีพัฒนาการไป
        ตามลำดับเวลา
    ค.  การดำเนินเรื่องรวดเร็ว กระชับ และมีปมขัดแย้งในเรื่อง
    ง.     มีบทพรรณนาและบรรยายให้รายละเอียดชัดเจน

5. เรื่องสั้นเรื่องแรกของไทยคือเรื่องใด
ก.    ศัตรูของเจ้าหล่อน
ข.    ความไม่พยาบาท
ค.    ละครแห่งชีวิต
ง.  สนุกนิ์นึก

6. เรื่องสั้นเรื่องใดที่ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2554
ก.    กระดูกของความลวง
ข.    เราหลงลืมอะไรบางอย่าง
ค.    ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำตลอดชีวิต
ง.          ง.  แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ
7. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของเรื่องสั้น
ก.    การเปิดเรื่อง แนวคิดสำคัญ
ข.    โครงเรื่อง บทสนทนา
ค.   ชื่อเรื่อง แก่นเรื่อง
ง.  ฉาก ตัวละคร
8. การวางโครงเรื่อง (Plot) ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
ก.   บทสนทนาโต้ตอบและบทบรรยายที่ชวนให้สงสัย
ข.   มีข้อขัดแย้งโดยผูกปมให้ซ้อนกันก่อนจะคลี่คลาย
ค.   ชื่อตัวละครมาสร้างปมขัดแย้งของเรื่อง
         ง.  ควรดำเนินเรื่องราบเรียบตลอดทั้งเรื่อง
9. ข้อใดไม่ใช่การปิดเรื่องที่ดี
           ก.  ปิดเรื่องโดยทำให้ผู้อ่านประหลาดใจและคาดไม่ถึง
ข.    ปิดเรื่องด้วยการสิ้นหวังและโศกสลด
ค.    ปิดเรื่องโดยคลี่คลายเรื่องกระจ่างชัด
ง.  ปิดเรื่องด้วยคำถามที่ค้างคาใจผู้อ่าน

10.  ข้อใดเป็นวิธีการสร้างตัวละครในเรื่องสั้น
    ก.  ตัวละครควรมาจากเรื่องจริงในสังคม
    ข.  ตัวละครสำคัญควรมีเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น
    ค.  ตั้งชื่อตัวละครให้มีนัยทางความหมาย
     ง.  ลักษณะนิสัยหลากหลายปรับตามสถานการณ์



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การประเมินคุณค่างานเขียน

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดไม่ใช่การประเมินคุณค่างานเขียน
     ก.  เป็นการตัดสินคุณค่างานเขียน
     ข.  เป็นการวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียดเรื่องที่อ่าน 
           ค.  เป็นการพิจารณางานอย่างมีวิจารณญาณและมีเหตุผล
         ง.  เป็นการใช้ความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตัววิจารณ์งาน

2.  การประเมินคุณค่างานเขียน ควรพิจารณาถึงประเด็นใด
     เป็นสำคัญ
     ก.  วิธีการเปิดและปิดเรื่อง  
     ข.  สาระสำคัญหรือแนวคิดของผู้เขียน
     ค.  ประสบการณ์และความรู้ของผู้เขียน 
     ง.  วัตถุดิบที่ใช้เป็นข้อมูลในการเขียนเรื่อง

3.  แก่นเรื่องเปรียบเสมือนหัวใจของเรื่องเพราะเหตุใด
     ก.  เพราะแก่นเรื่องช่วยกำหนดแนวคิดของผู้เขียน  
     ข.  เพราะแก่นเรื่องช่วยควบคุมเนื้อหาของแก่นเรื่อง
     ค.  เพราะแก่นเรื่องช่วยในการวางโครงเรื่องและ
          องค์ประกอบอื่นๆ       
     ง.   เพราะแก่นเรื่องช่วยให้ผู้อ่านทราบได้ว่าผู้เขียน
          ต้องการสื่อถึงเรื่องใด

4.  การใช้ถ้อยคำที่มีชั้นเชิงอย่างมีศิลปะและมีนัยทาง
     ความหมายแฝงอยู่หมายถึงสิ่งใด
     ก.  โวหาร                               ข.  จินตภาพ
     ค.  อัตลักษณ์                           ง.  ภาพพจน์

5.  ข้อใดเป็นประเด็นของการประเมินคุณค่าเรื่องสั้น
     ก.  แนวคิด กลวิธีการนำเสนอ การใช้ภาษา คุณค่าของเรื่อง
     ข.  การตั้งชื่อเรื่อง แก่นเรื่อง สำนวนภาษา การเล่าเรื่อง
     ค.  โครงเรื่อง บทสนทนา ข้อคิดของเรื่อง บรรยากาศ 
     ง.  ลักษณะตัวละคร วิธีการดำเนินเรื่อง ฉาก เนื้อหา
6.  ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของวิธีการที่ผู้แต่งใช้เพื่อเล่าเรื่องเหตุการณ์
ก.    การดำเนินเรื่องแบบสลับไปมา
ข.    การดำเนินเรื่องทวนเข็มนาฬิกา  
ค.    การดำเนินเรื่องตามเข็มนาฬิกา 
ง.     การดำเนินเรื่องโดยคำนึงถึงแก่นเรื่อง

7.  ข้อใดไม่ใช่ประเด็นของการศึกษาความงามด้านการประพันธ์
     ก.  กลวิธี                           
     ข.  เนื้อหา
     ค.  ภาพพจน์                      
     ง.  การจัดวางคำ
    
8.  ข้อใดกล่าวถึงการประเมินคุณค่าเรื่องสั้นไม่ถูกต้อง
     ก.  พิจารณาความสมเหตุสมผลในการนำเสนอ   
     ข.  พิจารณาเฉพาะองค์ประกอบของเรื่องสั้นให้ครบถ้วน
     ค.  นำประวัติของผู้เขียนพิจารณาและประเมินงานเขียน 
     ง.  พิจารณาภาษาที่ใช้ว่ามีลีลาเฉพาะและเหมาะกับเนื้อเรื่อง

9.  การประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์ควรใช้หลักเกณฑ์ในข้อใด
     ก.  ความถูกต้องด้านฉันทลักษณ์เป็นหลัก 
     ข.  คุณค่าของกวีนิพนธ์และกลวิธีการประพันธ์
     ค.  การนำเสนอทรรศนะและความงามของบทกวี 
     ง.  การสร้างจินตนาการและการแสดงตัวตนของกวี

10.  วิธีการประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์ที่ถูกต้องคือข้อใด
     ก.  น้ำเสียงและอารมณ์ของกวีที่ซ่อนอยู่ในกวีนิพนธ์ 
     ข.  การร้อยเรียงเนื้อหาให้ต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
     ค.  ปฏิภาณของกวีที่ใช้คำซ้ำหลายแห่งภายในบท 
     ง.  ความสร้างสรรค์ในการนำเสนอคำประพันธ์แบบใหม่ๆ


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
การฟังและดูอย่างมีประสิทธิภาพ

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดแสดงถึงลักษณะการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
    ก. ฟังแล้วขยายความให้มากขึ้นและถ่ายทอดสู่คนอื่น   
    ข.   ฟังทุกเรื่องและแยกแยะประเด็นที่เหมือนและต่าง
    ค. ฟังข้อมูลทุกอย่างเพราะเป็นเรื่องที่เพลิดเพลิน        
    ง. ฟังแล้วคิดพิจารณาถึงเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง
2. บุคคลในข้อใดมีลักษณะการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ      
    ก. บุษราฟังรายการวิทยุขณะทำงานบ้านไปด้วย
    ข. โกมลฟังประกาศของโรงเรียนแล้วรีบวิ่งไปที่สนามกีฬา
    ค. สมปองเลือกฟังเฉพาะรายการสารคดีสั้นเพื่อเก็บ
        ข้อมูลทำรายงาน
    ง. ณัฐวุฒิฟังเพื่อนๆ พูดกันที่โรงอาหารแล้วนำมาเล่า
        ให้คนอื่นฟัง
3. ภาษาในข่าวมีลักษณะตรงกับข้อใด
    ก. โครงสร้างประโยคถูกต้อง
    ข. ใช้ศัพท์เฉพาะด้านวิชาการ
    ค. ถ้อยคำที่ใช้สื่อความมีนัยยะ
    ง. ใช้คำสั้น ง่าย และกระชับ
4. ข้อใดไม่ใช่วิธีการสรุปแนวคิดจากข่าว
    ก. พิจารณาข้อคิดเห็นที่มีอยู่       
    ข. พิจารณารายละเอียดของเรื่อง
    ค. บันทึกรายละเอียดของเนื้อหาข่าว 
    ง. ตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนภาษาที่ใช้
5. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะภาษาโฆษณาได้ถูกต้อง
    ก. ใช้ถ้อยคำที่แสดงข้อมูลจริงทั้งหมดให้แก่ผู้รับสาร
    ข. ใช้ภาษามีท่วงทำนองเพื่อให้จดจำสินค้าได้ง่าย
    ค. ใช้ถ้อยคำที่ชักจูงใจเพื่อให้ใช้บริการหรือสินค้า
    ง. ใช้ภาษาที่ทำให้ก่อให้เกิดจินตนาการได้ทันที

      โลกประกอบด้วยน้ำ 70% ของพื้นที่ แต่น้ำที่สามารถดื่มได้และมีสุขภาพดีต้องน้ำดื่มสะอาดถูกหลักอนามัย และที่สำคัญต้องเป็นน้ำแร่จากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่คุณดื่มได้อย่างมั่นใจ
6. โฆษณาดังกล่าวเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร
    ก.  ปริมาณน้ำในโลกมี 70% ของพื้นที่ทั้งหมด 
    ข.  น้ำแร่จากธรรมชาติที่สำคัญสะอาดร้อยเปอร์เซ็นต์
    ค.  สุขภาพดี สุขภาพแข็งแรงต้องดื่มน้ำที่ถูกหลักอนามัย
    ง.  น้ำดื่มสะอาดต้องเป็นน้ำแร่จากธรรมชาติร้อย                เปอร์เซ็นต์


    ฉันต้องหลงอ้างว้างกลางป่า สุดเหลียวแลหาผู้อื่น ป่าเปลี่ยวเช่นนี้ไม่ชื่น ดึกดื่นค่ำคืนทอดถอน เหงาสุดเหงาต้องทรุดลงนั่ง ต้องพักหยุดยั้งพลางก่อน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแรงอ่อน      อกสั่นรอนรอนถอนใจ
                            (เพลงกล่อมวนา : สุนทราภรณ์)
7. บทเพลงดังกล่าวมีลักษณะเด่นในเรื่องใด
    ก.  การใช้คำให้เกิดจินตภาพ      
    ข.  การใช้คำที่เล่นสัมผัส
    ค.  บทพรรณนาโวหาร   
    ง.  การใช้คำที่มีนัยยะ

8. ข้อใดกล่าวถึงแนวทางการฟังและดูบทละครได้ถูกต้อง
    ก.  การดำเนินเรื่องหรือวิธีเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กัน
    ข.  แสง สี และอุปกรณ์ประกอบฉากที่เสมือนจริง
    ค.  พิจารณาการแสดงอารมณ์ของตัวละคร
    ง.  การใช้ภาษาที่ไพเราะและเลือกสรรคำได้ดี

9. ประโยชน์ของการฟังหรือดูเพลงประเภทต่างๆ ตรงกับ
    ข้อใด
    ก.  ได้ทันโลก ทันเหตุการณ์ และทำให้เป็นคนทันยุค
         ทันสมัย
    ข.  สร้างศักยภาพและทักษะด้านการเล่นดนตรีให้  
         มากขึ้น
    ค.  ช่วยยกระดับจิตใจและเกิดความเพลิดเพลิน
    ง.  ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้มีในสังคม

10. เรื่องใดที่ไม่ได้ประพันธ์ไว้สำหรับเป็นบทละคร
    ก.  มนุโสสิ
    ข.  กล้วยไม้
    ค.  หัวใจทอง
    ง.  อันความกรุณาปราณี
               

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
การพูดอภิปราย การพูดแสดงทรรศนะ และการโต้แย้ง

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  การพูดอภิปรายมีลักษณะตรงกับข้อใด
     ก.  การพูดเพื่อโน้มน้าวใจให้เชื่อและปฏิบัติตาม
     ข.  การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา  
          ค.  การพูดเพื่อระดมความคิดในการสร้างกระบวนการทำงาน
           ง.  การพูดเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดในเรื่องใด
                เรื่องหนึ่ง

2.  ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการพูดอภิปราย
     ก.  เพื่อวิเคราะห์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง  
     ข.  เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
     ค.  เพื่อนำเสนอข้อสรุปของเรื่อง        
     ง.  เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

3.  ข้อใดเป็นบทบาทและหน้าที่ของผู้อภิปราย
     ก.  อธิบายความรู้ และข้อเท็จจริง 
     ข.  เสนอประเด็นที่จะอภิปราย
     ค.  เปิดโอกาสให้มีการซักถาม           
     ง.  วางแผนการอภิปรายให้สมาชิกในกลุ่ม

4.  มารยาทในการพูดอภิปรายที่ควรปฏิบัติ คือข้อใด
     ก.  ซักถามทันทีหากสงสัย
     ข.  จดประเด็นสำคัญที่สนใจ
     ค.  เน้นย้ำข้อคิดเห็นเดิมอยู่เสมอ      
     ง.  แสดงความคิดเห็นขณะที่ผู้อภิปรายกำลังพูด

5.  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการพูดแสดงทรรศนะ
     ก.  ที่มาของประเด็น            
     ข.  หลักการข้อเท็จจริง
      ค.  ข้อวินิจฉัย ข้อสันนิษฐาน   
           ง.    ระยะเวลาในการแสดงทรรศนะ

6.  ภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะมีลักษณะอย่างไร
     ก.  ลำดับความคิดโดยกล่าวสลับไปมา 
     ข.  ใช้ภาษาที่ลึกซึ้งกินใจและสื่ออารมณ์
     ค.  ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ความหมายชัดเจน   
     ง.  ภาษาทางการเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น

7.  คุณสมบัติที่สำคัญของผู้โต้แย้ง คือข้อใด
     ก.  มีความสามารถในการนำเสนอได้ละเอียด
     ข.  มีความสามารถในการสรุปได้คมคายและน่าเชื่อถือ
     ค.  มีความสามารถในการหาหลักฐานประกอบการโต้แย้ง 
     ง.  มีความสามารถในการแตกประเด็นให้ครอบคลุมทุก
         ปัญหา

8.  การพูดโต้แย้งที่มีการอ้างถึงแหล่งข้อมูล และตรวจสอบ
     ความน่าเชื่อถือ เป็นการพูดโต้แย้งแบบใด
     ก.  การพูดโต้แย้งด้วยเหตุผล    
     ข.  การพูดโต้แย้งความคิดเห็น
     ค.  การพูดโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่า 
     ง.  การพูดโต้แย้งเกี่ยวกับข้อเท็จจริง

นิดาได้ประเมินโครงการที่จัดของกลุ่มสายชลแล้วเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคม เพราะทำให้สังคมตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น
9.  ข้อความข้างต้นเป็นการแสดงทรรศนะแบบใด
     ก.  ทรรศนะเชิงคุณค่า         
     ข.  ทรรศนะเชิงคตินิยม
     ค.   ทรรศนะเชิงนโยบาย
     ง.   ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง
10.   ข้อใดเป็นการแสดงทรรศนะที่ดีและเป็นประโยชน์ในทาง
       สร้างสรรค์
  ก.  คณะกรรมการนักเรียนเห็นชอบที่จะให้มีการจัดประกวด
     กระทงที่ประดิษฐ์จากของรีไซเคิลในงานฉลองลอยกระทง
       ปีนี้
  ข.  พวกเราเห็นว่าพวกเราควรทานอาหารเช้าให้น้อย 
      แต่ควรเน้นที่อาหารกลางวันและอาหารเย็นให้มาก  
      เพราะใช้พลังงานมาตลอดทั้งวัน
  ค.  เพื่อนในกลุ่มหลายคนตกลงกันว่าจะไปสร้างฝายกั้นน้ำที่
      จังหวัดกาญจนบุรี แต่เห็นว่าต้องมีการระดมเงินทุนจาก 
      หลายแห่งเพื่อใช้ในการสร้างฝายก่อน
  ง.  ผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่เห็นว่าไหมที่ผลิตจาก                    ประเทศไทยมีคุณภาพทัดเทียมกับไหมจากต่างประเทศ        จึงควรสนับสนุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ให้ครอบคลุม         ทั้งสี่ภาคเพื่อเป็นการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
ระดับภาษาและอิทธิพลของการใช้ภาษา

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทย
    ก.  คำที่ใช้มีสัมผัสคล้องจองทำให้จดจำได้ง่าย
    ข.  ควรคำนึงถึงฐานะของบุคคลและโอกาสที่สื่อสาร
    ค.  มีคำให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลายทุกสถานการณ์
    ง.  เพศและฐานะทางสังคมเป็นสิ่งที่กำหนดการใช้ภาษา

2. การใช้ภาษาเพื่อใช้ในการเปิดประชุมรัฐสภา ควรใช้
    ระดับภาษาใด
    ก.  ภาษาวิชาการ
    ข.  ภาษาแบบแผน
    ค.  ภาษากึ่งแบบแผน
    ง.  ภาษาไม่เป็นแบบแผน

3. ภาษาที่ใช้ในนิตยสารหรือวารสารทั่วๆ ไปมีลักษณะ
    ตรงกับข้อใด
    ก.  ใช้ภาษาที่สร้างสัมพันธภาพใกล้ชิดกับผู้รับสาร
    ข.  โครงสร้างประโยคต้องสมบูรณ์ สื่อความชัดเจน
    ค.  เขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาเป็นสำคัญ
    ง.  ควรเน้นภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่มเป็นหลัก
              
4.  ปัจจัยในข้อใดไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ระดับภาษา
ก.  สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ข.  โอกาสและสถานที่
ค.  บุคลิกท่าทาง
ง.  สื่อที่ใช้

5. คำใดไม่ใช่คำยืมภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย
    ก.  มะหัล ดะหมัง
    ข.  มะตาหรี   แมร
    ค.  ปานิเยน   สะตาหมัน
    ง.  สะละปะตุ่น กำมะหริด
6. เหตุใดภาษาไทยจึงต้องยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ใน
    ภาษาไทย
    ก.  เพราะต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาติอื่นๆ
    ข.  เพราะต้องใช้ในการทำนุบำรุงศาสนา
    ค.  เพราะให้เห็นถึงความเจริญทางภาษา
    ง.  เพราะใช้ในการติดต่อสื่อสาร

7. ข้อใดเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทยที่ไม่
    เกี่ยวข้องกับศาสนา
    ก.  โมกข์  อาสน์        ข.  อนัตตา  ทุกข์
    ค.  สถาปนา  สิทธิ์      ง.   เวทนา  อวิชชา

8. คำในข้อใดเป็นคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยที่มีลักษณะ
    เป็นคำแผลง
    ก.  บรรทม  ผลาญ     
    ข.  กำเนิด  บันดาล
    ค.  ดำเนิน  สมเด็จ     
    ง.  สำรวจ  ตำรวจ

9. คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยในข้อใด มีลักษณะ
    ต่างจากข้ออื่น
    ก.  ดีเปรสชัน คอนโทรล
    ข.  คุกกี้  เว็บไซต์
    ค.  แก๊ง  แท็กซี่
    ง.  โควตา  เชิ้ต

 10.  ประโยคในข้อใดที่ใช้ภาษาต่างระดับกัน
    ก.  นักเรียนชอบปั่นจักรยานมาโรงเรียน
    ข.     กระแสเคป๊อบ(K-pop) ยังอยู่ในหมู่วัยรุ่นไทย
    ค. นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทยฝึกซ้อมอย่างหนัก
    ง. มวลน้ำจะเดินทางมาเยือนและท่วมพระนครเร็วๆ นี้


หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดเป็นลักษณะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ไทยที่ต่างจาก
     การแต่งฉันท์ของอินเดีย
     ก.  การใช้ครุ ลหุ
     ข.  ลักษณะของฉันท์            
           ค.  การใช้เสียงสัมผัส
           ง.  การใช้คำบังคับคณะ

2.  คำประพันธ์ชนิดใดที่นำมาแต่งสลับกับฉันท์
     ก.  ร่าย                                  ข.  โคลง
     ค.  กลอน                               ง.  กาพย์

3.  วรรณคดีสโมสรยกย่องวรรณคดีคำฉันท์เรื่องใด            
     เป็นยอดของกลอนฉันท์
     ก.  อนิรุทธ์คำฉันท์        
     ข.  สมัทรโฆษคำฉันท์
     ค.  สรรพสิทธิ์คำฉันท์     
     ง.  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

4.  ข้อใดกล่าวถึงครุ ลหุได้ถูกต้อง
     ก.  พยางค์หรือคำที่มีเสียงหนักเบา
     ข.  พยางค์หรือคำที่ทำให้เกิดสัมผัส
     ค.  พยางค์หรือคำที่บังคับด้วยเสียงสระ
     ง.  พยางค์หรือคำที่ประสมกับเสียงวรรณยุกต์

5.  พยางค์หรือคำในข้อใดที่มีครุ ลหุต่างจากข้ออื่น
     ก.  ระเรื่อยะแย้มแก้มนาง
     ข.  จิตเรียกพระพุทธองค์
     ค.  วิเวกวะแว่วยินเสียง              
     ง.  ลุล่วงอุทัยลดโลก
6.  คำประพันธ์ประเภทฉันท์ใดที่นิยมแต่งบทอาเศียรวาท
     ก.  โตฎกฉันท์ 12               
     ข.  อีทิสังฉันท์ 20
      ค.  ภุชงคประยาตฉันท์ 12  
           ง.    สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19

7.  ฉันท์ชนิดใดที่ใช้แต่งเรื่องที่แสดงความคิดวิตกหรืออารมณ์
     ตื่นเต้น
     ก.  อีทิสังฉันท์ 20                 ข.  โตฎกฉันท์ 12
     ค.  มาณวกฉันท์ 8                 ง.  วสันตดิลกฉันท์ 14
    
8.  ฉันท์ชนิดใดที่มีลีลาประดุจนายโคบาลผู้แทงโคด้วยประตัก
     ก.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19       
     ข.  ภุชงคประยาตฉันท์ 12
     ค.  โตฎกฉันท์ 12                
     ง.   อีทิสังฉันท์ 20
แปลกแปลงแสดงพจนเพรงเชลงลักษณะบรรยายชาวชน
บทธิบาย
9.  ข้อความดังกล่าวเป็นคำประพันธ์ฉันท์ประเภทใด
     ก.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19       
     ข.  อินทรวิเชียรฉันท์
     ค.  วสันตดิลกฉันท์ 14           
     ง.   อีทิสังฉันท์ 20

ศุภมงคลเหตุวรเชษฐ์ภคินีก็ประณตบทศรีศิระรับ
10.    ข้อความดังกล่าวเป็นคำประพันธ์ฉันท์ประเภทใด
           ก.  อีทิสังฉันท์ 20           ข.  โตฎกฉันท์ 12
           ค.  มาณวกฉันท์ 8          ง.  วิชชุมมาลาฉันท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น