ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
การอ่านออกเสียง

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วต้องใช้น้ำเสียงและจังหวะ
       ในการอ่านอย่างไร
       ก.   ให้มีความแตกต่างไปตามอารมณ์ของผู้อ่าน
       ข.   ให้มีความถูกต้องตามแบบแผนไวยากรณ์
       ค.   ให้เป็นไปเหมือนกับการพูดตามปกติ
       ง.   เน้นเสียงสูงต่ำให้น่าสนใจ
   2.  ถ้านักเรียนต้องการฝึกใช้เสียงในการอ่านออกเสียง จะต้องฝึกอย่างไร
       ก.   ฝึกใช้เสียงให้สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกผู้ฟัง
       ข.   ฝึกใช้เสียงให้มีความนุ่มนวล ไพเราะ
       ค.   ฝึกใช้เสียงแบบต่างๆ ให้น่าสนใจ
       ง.   ฝึกใช้เสียงให้มีพลัง มีน้ำหนัก
   3.  การอ่านออกเสียงให้ไพเราะ มีกลวิธีอย่างไร
       ก.   อ่านออกเสียงถูกต้องชัดเจน สอดแทรกอารมณ์
            ตามลักษณะของเรื่องที่อ่าน
       ข.   อ่านออกเสียงโดยเน้นอารมณ์ความรู้สึกเพื่อสื่อ
            ไปยังผู้ฟัง
       ค.   อ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามลักษณะของงานเขียน
       ง.   อ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
   4.  การฝึกอ่านบทร้อยกรองเรื่องใดมีความสำคัญมากที่สุด
       ก.   ทำนองลีลา ลักษณะคำประพันธ์
       ข.   การเอื้อนเสียง
       ค.   วรรคตอน
       ง.   อักขรวิธี
   5.  การกวาดสายตาในขณะที่อ่านเป็นผลดีอย่างไร
       ก.   คาดเดาเหตุการณ์ในเรื่องที่อ่านล่วงหน้าได้
       ข.   จับใจความสำคัญได้ถูกต้อง
       ค.   อ่านหนังสือได้รวดเร็ว
       ง.   เข้าใจเรื่องที่อ่าน
6. การอ่านท้ายบทโคลงสี่สุภาพให้ทำอย่างไร
       ก.   ให้หลบเสียง
       ข.   ให้ครั่นเสียง
       ค.   ให้ทอดเสียง
       ง.   ให้รวบคำ
   7.  การกระทำใดเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในการอ่าน
       ก.   การคัดลอกข้อความจากหนังสือในร้านขายหนังสือ
       ข.   การอ่านหนังสือของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
       ค.   การไม่เก็บหนังสือที่อ่านแล้วในจุดที่กำหนด
       ง.   การส่งเสียงดังในห้องสมุด
   8.  คำใดอ่านแบบเรียงพยางค์
       ก.   พุทธศาสนา อ่านว่า พุด-ทะ-สาด-สะ-หนา
       ข.   โบราณคดี อ่านว่า โบ-ราน-นะ-คะ-ดี
       ค.   โจรสลัด อ่านว่า โจน-สะ-หลัด
       ง.   สมาคม อ่านว่า สะ-มา-คม
   9.  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนภาพระบายสี ประกอบด้วย กระดาษ 100 ปอนด์ สีไม้ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ เครื่องหมาย ฯลฯ ให้อ่านออกเสียงว่าอย่างไร
       ก.   ไป-ยาน-น้อย           
       ข.   และ-อื่น-อื่น
       ค.   ละ-ถึง                   
       ง.   ละ
10.  การปรับระดับเสียงที่สูงหรือต่ำเกินไปให้พอดีกับระดับเสียงของตน เรียกว่าอย่างไร
       ก.   การหลบเสียง
       ข.   การครั่นเสียง
       ค.   การทอดเสียง
       ง.   การรวบคำ




หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การอ่านในชีวิตประจำวัน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. หลักการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญเรียงลำดับอย่างไร
       ก.   คิด เรียบเรียง อ่าน เขียน
       ข.   อ่าน คิด เรียบเรียง เขียน
       ค.   อ่าน คิด เขียน เรียบเรียง
       ง.   คิด อ่าน เขียน เรียบเรียง
   2.  ข้อใดกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   ในย่อหน้าหนึ่งมีใจความสำคัญหลายใจความ
            และมีพลความประกอบ
       ข.   ในย่อหน้าหนึ่งมีใจความสำคัญใจความเดียว
            และมีพลความประกอบ
       ค.   ในเรื่องหนึ่งมีใจความสำคัญหลายใจความ
            และมีพลความประกอบ
       ง.   ในเรื่องหนึ่งมีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว
อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 3-5
              วิชาเหมือนสินค้า            อันมีค่าอยู่เมืองไกล
       ต้องยากลำบากไป                 จึงจะได้สินค้ามา
               จงตั้งเอากายเจ้า           เป็นสำเภาอันโสภา
        ความเพียรเป็นโยธา              แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
               นิ้วเป็นสายระยาง          สองเท้าต่างสมอใหญ่
      ปากเป็นนายงานไป               อัชฌาสัยเป็นเสบียง
              สติเป็นหางเสือ             ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
      ถือไว้อย่าให้เอียง                  แล่นลัดเลี่ยงข้ามคงคา
3. ข้อความนี้มีใจความสำคัญอย่างไร
       ก.   อวัยวะทุกส่วนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
       ข.   ร่างกายมนุษย์เปรียบประดุจเรือ
       ค.   การแสวงหาความรู้ต้องใช้สติ
       ง.    วิชาความรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
4. สำนวนภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความนี้มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ใช้คำยากต้องเปรียบเทียบและตีความ
       ข.   ใช้สำนวนที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ
       ค.   ใช้ภาษาง่ายสื่อความหมายชัดเจน
       ง.   ใช้ภาษาแบบแผน
   5.  ผู้เขียนข้อความนี้มีแนวคิดอย่างไร
       ก.   ผู้ที่มีความสามารถในการเรียนจะเป็นผู้บังคับเรือได้
       ข.   มีวิชาเหมือนมีร่างกายที่แข็งแรงและสติปัญญาดี
       ค.   การหาวิชาความรู้ต้องมีความอดทนและมีสติ
       ง.   วิชาความรู้เป็นสิ่งที่หายาก

6. เหตุใดจึงกล่าวว่าการอ่านจับใจความสำคัญเป็นพื้นฐาน ของการอ่าน
       ก.   เพราะสามารถนำไปขยายผลเป็นการอ่าน
            คิดวิเคราะห์และเขียนได้
       ข.   เพราะสามารถนำไปต่อยอดเป็นการวิเคราะห์
            และประเมินค่าได้
       ค.   เพราะสามารถนำไปเป็นต้นแบบของการอ่าน
            ที่มีประสิทธิภาพได้
       ง.   เพราะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่าน
   7.  การที่จะวิเคราะห์ว่า ผู้เขียนเรื่องนี้สื่อความหมายได้ชัดเจนหรือไม่ ให้พิจารณาด้านใด
       ก.   การเรียงลำดับเหตุการณ์  
       ข.   ใจความสำคัญของเรื่อง
       ค.   การใช้สำนวนภาษา   
       ง.   รูปแบบของเรื่อง
   8.  การเขียนผังความคิดสัมพันธ์กับการอ่านประเภทใดมากที่สุด
       ก.   การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
       ข.   การอ่านเพื่อวิเคราะห์
       ค.   การอ่านเพื่อวิจารณ์
       ง.   การอ่านเพื่อประเมินค่า
9. บุคคลใดอ่านเพื่อการวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
       ก.   หนุ่ยแยกแยะเรื่องที่อ่านแล้วประเมินค่าและให้ ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ในชีวิต
       ข.   หน่อยสรุปความเรื่องที่อ่านพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ในชีวิต
       ค.   นิดอ่านทำความเข้าใจเรื่องแล้วพิจารณาเนื้อเรื่อง
            และศิลปะการเขียน
       ง.     น้อยแยกแยะเรื่องที่อ่านแล้วตีความเรื่องที่อ่าน
10. การอ่านเพื่อประเมินค่า มีลักษณะอย่างไร
       ก.   อ่านเพื่อสรุปข้อคิดจากงานเขียนที่สามารถนำไปใช้
            ในชีวิตได้
       ข.   อ่านเพื่อบอกกลวิธีการเขียนแบบอย่างที่ได้จากการ           เขียน
       ค.   อ่านเพื่อบอกข้อดี คุณค่า และข้อบกพร่องของงาน            เขียน
       ง.     อ่านเพื่อบอกประโยชน์ที่ได้จากงานเขียน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การคัดลายมือ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. หลักการคัดลายมือ ผู้คัดต้องวางท่านั่งอย่างไร
       ก.   นั่งตัวตรง ก้มหน้าเล็กน้อย สายตาห่างจากกระดาษ
            2 ฟุต เขียนด้วยมือขวา มือซ้ายวางบนกระดาษ
       ข.   นั่งตัวตรง ค้อมศีรษะเล็กน้อย สายตาห่างจากกระดาษ
            1 ฟุต เขียนด้วยมือขวา มือซ้ายวางบนกระดาษ
       ค.   นั่งตัวตรง ค้อมศีรษะเล็กน้อย สายตาห่างจากกระดาษ
            2 ฟุต เขียนด้วยมือขวา มือซ้ายวางบนกระดาษ
       ง.   นั่งตัวตรง ก้มหน้า สายตาห่างจากกระดาษ 1 ฟุต
            เขียนด้วยมือขวา มือซ้ายวางบนกระดาษ
   2.  การเขียนพยัญชนะ ส มีหลักการเขียนอย่างไร
       ก.   ให้เขียนตัวให้ได้มาตรฐานแล้วเขียนหัวไม่ให้หัวบอด      ไว้หางเล็กน้อย
       ข.   ให้เขียนตัวก่อนแล้วเขียนหัวไม่ให้หัวบอด ไว้หางเล็กน้อย
       ค.   ให้เขียนส่วนหัวให้ได้มาตรฐานไม่บอด หางยาวพองาม
       ง.   ให้เขียนส่วนหัวก่อน หัวไม่บอด หางยาวพองาม
   3.  การคัดลายมือมีวิธีจับปากกาอย่างไร
       ก.   ปากกาอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง
            ส่วนนิ้วนางรองรับปากกากับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ
       ข.   ปากกาอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้และนิ้วกลางรองรับ
            ปากกา นิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ
       ค.   ปากกาอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง
            กับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ
       ง.   ปากกาอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง
            นิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ในฝ่ามือ
   4.  เครื่องหมายใดที่ต้องวางในตำแหน่งเดียวกัน
       ก.   ไม้หันอากาศ ทัณฑฆาต
       ข.   ทัณฑฆาต ไม้ไต่คู้
       ค.   นิคหิต ไม้ไต่คู้
       ง.    ทัณฑฆาต สระ
5. ตัวอักษรของภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีลักษณะอย่างไร
       ก.   หัวเหลี่ยม ตัวเหลี่ยม
       ข.   หัวกลม ตัวเหลี่ยม
       ค.   หัวบัว ตัวเหลี่ยม
       ง.   หัวกลม ตัวมน
   6.  ตัวอักษรแบบอาลักษณ์ใช้กับเอกสารประเภทใด
       ก.   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยกย่องให้เกียรติ
       ข.   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์
       ค.   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางราชการ
       ง.   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางการฑูต
   7.  ตัวอักษรใดมีมาตรฐานเดียวกับ    
       ก.                         ข.      
       ค.                          ง.      
   8.  ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการคัดลายมือ
       ก.   ทำให้มีระเบียบ อดทน สุขุมรอบคอบ
       ข.   ทำให้มีแนวทางประกอบอาชีพ
       ค.   ทำให้มีทักษะการเขียน
       ง.   ทำให้มีสมาธิ
   9.  การที่มีลายมือเรียบร้อย งดงาม เป็นผลดีอย่างไร
       ก.   ทำให้การเขียนสื่อสารกับผู้อื่นเป็นไปอย่างมี     ประสิทธิภาพ
       ข.   ทำให้มีแนวทางในการฝึกวินัยให้แก่ตนเอง
       ค.   ทำให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
       ง.   ทำให้พัฒนานิสัยได้
10.  เด็กหญิงแสงดาวเขียนหนังสือด้วยลายมือเรียบร้อย งดงาม แสดงว่าเธอมีอุปนิสัยอย่างไร
       ก.   มีระเบียบ                ข.   เรียบร้อย
       ค.   มีวินัย                     ง.   ขยัน




หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การเขียนเพื่อการสื่อสาร

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เรียงความที่ดีต้องมีความเป็นเอกภาพ เอกภาพหมายความว่าอย่างไร
       ก.   นำความรู้หรือประสบการณ์หนึ่งเรื่องมาเรียบเรียง
            ตามองค์ประกอบ
       ข.   มีเนื้อหาไปในทางเดียวกัน ไม่กล่าวนอกเรื่อง
       ค.   มีประเด็นสำคัญในการเขียนประเด็นเดียว
       ง.   มีโครงเรื่องกำหนดทิศทางการเขียน
   2.  การเรียงลำดับเอกสารในบรรณานุกรมให้เรียงตามลำดับสิ่งใด
       ก.   ชื่อผู้แต่งหนังสือ       ข.  เนื้อหาหนังสือ
       ค.   ชื่อสำนักพิมพ์          ง.   ชื่อหนังสือ
   3.  การเขียนบรรยายมีจุดเด่นอย่างไร
       ก.   เป็นการเขียนเล่าข้อเท็จจริงตามเรื่องที่เป็นอยู่
            โดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง
       ข.   เป็นการเขียนเล่าเรื่องที่แต่งขึ้นตามจินตนาการ
            ของผู้เขียน
       ค.   เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์
            ที่เกิดขึ้น
       ง.   เป็นการเขียนแสดงความรู้ ความคิด อย่างต่อเนื่อง
   4.  การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนต้องใช้ความสามารถในด้านใด
       ก.   การตีความข้อมูลเพื่อนำมาสรุปความให้สัมพันธ์กันก่อนที่จะนำเสนอ
       ข.   การเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูลให้สัมพันธ์กัน
            อย่างเป็นระบบ
       ค.   การวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูล
       ง.   การสังเคราะห์ข้อมูล
   5.  หลักสำคัญในการเขียนแสดงความคิดเห็นต้องทำอย่างไร
       ก.   ไม่ชี้ผิดชี้ถูก ให้ผู้อ่านคิดตัดสินใจเอง
       ข.   ทำใจเป็นกลาง ใช้ภาษาสร้างสรรค์
       ค.   ให้เหตุผลที่เป็นกลาง
       ง. ต้องให้ถูกใจผู้อ่าน
6. การเขียนจดหมาย ควรระมัดระวังในเรื่องใดเป็นพิเศษ
       ก.   รูปแบบในการเขียนจดหมายตามระเบียบงานสารบรรณ
       ข.   การใช้คำให้ถูกต้องตามแบบแผน
       ค.   ความสะอาดเป็นระเบียบ
       ง.   กระดาษที่ใช้เขียน
   7.  กระบวนการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ มีขั้นตอนอย่างไร
       ก.   แยกแยะข้อดี ข้อเสีย ระบุจุดเด่น จุดด้อย วิเคราะห์     ข้อมูล ประเมินค่า         
       ข.   แยกแยะข้อมูล วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประเมินค่า
            ระบุจุดเด่น จุดด้อย
       ค.   แยกแยะข้อมูล วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย      ประเมินค่า
       ง.   แยกแยะข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น จุดด้อย วิเคราะห์ข้อมูล      ประเมินค่า
   8.  ภาษาที่ใช้ในการเขียนพรรณนา มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ภาษาแบบแผน ถูกต้องตามกาลเทศะ เน้นความ     เหมาะสมกับระดับบุคคล
       ข.   ภาษาสวย ใช้ศัพท์ยาก มีความหมายลึกซึ้ง
            ให้อารมณ์ความรู้สึก
       ค.   ภาษาที่เข้าใจง่ายไม่ต้องแปลความ ทำให้เกิดความคิด
       ง.   ภาษาไพเราะเหมาะสม ทำให้เกิดจินตนาการ
   9.  การเขียนโต้แย้งเน้นเรื่องใดเป็นสำคัญ
       ก.   ความรู้
       ข.   ความคิด
       ค.   เหตุผลสนับสนุน
       ง.   สำนวนประกอบด้วยข้อมูล สถิติ
10.  บทที่ 5 ของโครงงานเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
       ก.   การวิเคราะห์จัดเก็บข้อมูล
       ข.   ขั้นตอนการดำเนินงาน
       ค.   สรุปการดำเนินงาน
       ง.   การสำรวจข้อมูล




หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
หลักการฟังและการดูสื่อ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ผู้ส่งสารที่ดีมีคุณสมบัติอย่างไร
       ก.   สามารถทำให้ผู้รับสารนำไปแปลความ
       ข.   สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความศรัทธา
       ค.   สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเพลิดเพลิน
       ง.   สามารถถ่ายทอดความรู้ความคิดไปยังผู้รับสาร
   2.  การนำความรู้จากแหล่งข้อมูลที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
       มาใช้ ต้องปฏิบัติอย่างไร
       ก.   ต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน
       ข.   ตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำมาใช้
       ค.   สมัครเป็นสมาชิกของแหล่งข้อมูล
       ง.   ดูความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
   3.  บุคคลในข้อใดเป็นผู้มีความสามารถในการฟัง
       ก.   นายเกียรติศักดิ์ได้ยินเสียงแล้วนำมาแปลความหมายได้
       ข.   นายเกียรติภูมิได้ฟังเสียงแล้วมีความเข้าใจในเรื่องที่ฟัง
       ค.   นายก้องเกียรติได้ฟังคำแนะนำแล้วนำไปปฏิบัติตาม
       ง.   นายกู้เกียรติได้ยินเสียงแผ่วๆ ที่คนอื่นไม่ได้ยิน
   4.  หลักการฟังและดูข้อใดไม่จำเป็นสำหรับการฟังและดูในชีวิตประจำวัน
       ก.   คิดทบทวนพิจารณาเรื่องที่ฟังและดู
       ข.   ตรวจสอบเปรียบเทียบจากสื่ออื่น
       ค.   ฟังหรือดูอย่างตั้งใจตลอดเรื่อง
       ง.   บันทึกภาพและเสียง
   5.  นางสาวดาราวรรณฟังและดูข่าวเกี่ยวกับการเกษตรจนสามารถนำความรู้ไปทำแปลงผักได้ การฟังและดูของนางสาวดาราวรรณช่วยพัฒนาตนเองในด้านใด
       ก.   ช่วยให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน
       ข.   ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา
       ค.   ช่วยพัฒนาด้านสังคม
       ง.   ช่วยพัฒนาจิตใจ
6. การวิเคราะห์ผู้ส่งสารให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   การค้นคว้าหาความรู้ 
       ข.   การใช้ภาษาไทย
       ค.   กิริยามารยาท
       ง.   การแต่งกาย
   7.  ถ้านักเรียนต้องการยกระดับจิตใจของตนเอง ควรดูรายการโทรทัศน์ประเภทใด
       ก.   สารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติ
       ข.   การสนทนาปัญหาสังคม
       ค.   การบรรยายธรรม
       ง.   เพลง ดนตรี
   8.  สายบัวเป็นพืชผักชนิดหนึ่งเกิดในน้ำ ข้อความนี้เป็นข้อเท็จจริงที่มีลักษณะอย่างไร
       ก.   เป็นความจริงตามธรรมชาติ
       ข.   มีความสมเหตุสมผล
       ค.   มีความเป็นไปได้
       ง.   มีความน่าเชื่อถือ
   9.  สื่อประเภทใดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก่อนสื่ออื่นๆ
       ก.   คอมพิวเตอร์
       ข.   หนังสือพิมพ์
       ค.   โทรทัศน์
       ง.   วิทยุ
10.  การวิเคราะห์สารจากสื่อที่ฟังและดูมีประโยชน์อย่างไร
       ก.   สิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์สารนำไปใช้ในชีวิตได้
       ข.   การวิเคราะห์สารช่วยส่งเสริมความเข้าใจ
       ค.   การวิเคราะห์สารช่วยให้มีความคิด
       ง.   การวิเคราะห์สารทำให้มีความรู้


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
การพูดสรุปความจากสื่อที่ฟังและดู

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ผู้พูดที่ดีต้องเป็นแบบอย่างในเรื่องใดแก่ผู้ฟัง
       ก.   มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความมั่นคงในอารมณ์
       ข.   ใช้ภาษาให้สุภาพและให้เกียรติผู้ฟัง
       ค.   มีความเข้าใจในเรื่องที่พูดอย่างลึกซึ้ง
       ง.   มีใจเป็นกลาง
   2.  สารที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร
       ก.   ถูกต้อง ดี เป็นประโยชน์ต่อสังคม สร้างเสริมคุณธรรม
       ข.   ถูกต้อง นำไปปฏิบัติตามได้ มีประโยชน์
       ค.   ถูกต้อง ชัดเจน มีความคิดสร้างสรรค์
       ง.   ถูกต้อง มีประโยชน์
   3.  การพูดสรุปความ มีความสัมพันธ์กับเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
       ข.   การประเมินค่าเรื่องที่ฟังและดู
       ค.   การวิเคราะห์วิจารณ์เรื่อง
       ง.   การจับใจความสำคัญ
   4.  ข้อความใดเป็นสารที่ดี
       ก.   บ้านหลังนี้สะท้อนบุคลิกเจ้าของบ้านอย่างชัดเจน
            มีแนวคิดเป็นของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบ
       ข.   เสน่ห์ดึงดูดใจของวิชาคอมพิวเตอร์อยู่ที่ความท้าทาย     กับวิธีการแก้ปัญหาโจทย์
       ค.   ผมได้ดีทุกวันนี้เพราะชอบอ่านภาษาไทย อ่านหนังสือได้ครั้งละนานๆ
       ง.   บัตรทวีสิน วีซ่า เดบิต สมาร์ทไลฟ์ บัตรที่คุณต้องรีบขป็นเจ้าของ
   5.  การพูดวิเคราะห์เหตุการณ์บ้านเมืองของนายทรงยศ  ได้กล่าวพาดพิงถึงความผิดของนายทรงศักดิ์ จนมีเรื่องฟ้องร้องเป็นคดีในศาล แสดงว่านายทรงยศไม่ปฏิบัติตามมารยาทในการพูดข้อใด
       ก.   รับผิดชอบต่อคำพูดของตน
       ข.   รู้จักควบคุมอารมณ์ของตน
       ค.   ไม่พูดโอ้อวดตัวเอง
       ง.    พูดด้วยคำสัตย์จริง
6. วิธีใดเหมาะสมสำหรับการศึกษาเรื่องเพื่อสรุปความ
       ก.   อธิบายความ            ข.   ขยายความ
       ค.   แปลความ               ง.   ตีความ
   7.  การพูดถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความต้องการไปยังผู้ฟัง ผู้พูดควรปฏิบัติอย่างไร
       ก.   ใช้ภาษา น้ำเสียง สีหน้าท่าทางอย่างเหมาะสม
       ข.   วางแผนกระตุ้นให้ผู้รับสารตั้งใจฟัง
       ค.   จัดเตรียมสื่อประกอบการพูด
       ง.   มีสมาธิในการพูด
   8.  การพูดให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาในตัว ผู้พูดวิเคราะห์
       มีวิธีการพูดอย่างไร
       ก.   ให้ข้อคิด ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
       ข.   เล่าประสบการณ์ของผู้พูด
       ค.   ใช้ภาษาสุภาพ
       ง.   มีบุคลิกดี
   9.  เหตุใดจึงกล่าวว่า การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
       ก.   เพราะมีหลักการพูดและต้องนำเสนอความรู้ ความคิดต่อผู้ฟัง
       ข.   เพราะมีกฎเกณฑ์ ระเบียบวิธี กติกามารยาท
            ให้เลือกปฏิบัติได้
       ค.   เพราะมีหลักการในการพูดและวิธีการพูดของแต่ละคน
       ง.   เพราะต้องมีความรู้ในเรื่องที่พูดและมีวิธีการนำเสนอ
10.  การยกตัวอย่างประกอบในการพูดสรุปความ มีความจำเป็นอย่างไร
       ก.   เพื่อเป็นข้อยืนยันและสร้างความเข้าใจในสิ่งที่ฟัง
       ข.   เพื่อให้ลำดับความได้ต่อเนื่องกลมกลืนกัน
       ค.   เพื่อจับประเด็นสำคัญให้ได้ความชัดเจน
       ง.   เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์




หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
การพูดในโอกาสต่างๆ และการพูดรายงาน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อความที่อวยพรควรมีลักษณะอย่างไร
       ก.   เป็นข้อความที่ก่อให้เกิดความปิติยินดีและมีความสุข
            ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
       ข.   เป็นข้อความที่ทำให้งานมีบรรยากาศที่ยิ่งใหญ่อลังการ
       ค.   เป็นข้อความที่ทำให้งานมีบรรยากาศที่เป็นกันเอง
       ง.   เป็นข้อความที่มีความไพเราะ
   2.  การพูดโน้มน้าว ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
       ก.   ให้ผู้ฟังได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น
       ข.   ให้ผู้ฟังเชื่อถือและปฏิบัติตาม
       ค.   ให้ผู้ฟังไม่มีโอกาสโต้แย้ง
       ง.   ให้ผู้ฟังมีความเพลิดเพลิน
   3.  การพูดอวยพร มีลักษณะอย่างไร
       ก.   พูดแสดงไมตรีจิตในโอกาสที่ผู้อื่นมีความสุข
            และสมหวังในชีวิต
       ข.   พูดแสดงความปิติยินดีในโอกาสที่ผู้อื่นประสบความสำเร็จ
       ค.   พูดแสดงความมีน้ำใจในโอกาสที่ผู้อื่นมีความเจริญรุ่งเรือง
       ง.   พูดแสดงความปรารถนาดีในโอกาสอันเป็นมงคล
   4.  ผู้ฟังการพูดโน้มน้าวควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะเป็นผู้ฟังที่ดี
       ก.   จับประเด็นสำคัญไปปฏิบัติตาม
       ข.   ใช้วิจารณญาณในการฟัง
       ค.   นำสารที่ได้ไปเผยแพร่
       ง.   สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม
   5.  คำที่ใช้ในการพูดโฆษณา มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ใช้คำที่น่าสนใจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้ผู้ฟังจำได้
       ข.   ใช้คำที่เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการโฆษณา
       ค.   ใช้คำที่เป็นความจริงพิสูจน์ได้
       ง. ใช้คำที่กระตุ้นความสนใจ
6. การพูดอวยพร ผู้พูดต้องวิเคราะห์สิ่งใดเพื่อที่จะพูดให้เหมาะสม
       ก.   สถานที่ สถานภาพของผู้พูดและบุคคลที่มาร่วมงาน
       ข.   เวลา สถานการณ์ เจ้าภาพ และแขกที่ได้รับเชิญ
       ค.   โอกาส สถานที่ และบุคคลที่อยู่ในงาน
       ง.   โอกาสและสภาพแวดล้อมของผู้ที่อยู่ในงาน
   7.  การพูดที่ดีต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ หมายความว่าอย่างไร
       ก.   พูดถูกต้องตามหลักการและใช้ภาษาไพเราะเหมาะสม
       ข.   พูดอย่างผู้ที่มีความรู้และมีท่าทางประกอบการพูด
       ค.   พูดโดยให้ความรู้ที่ถูกต้อง ใช้ภาษาสวยงาม
       ง.   พูดโดยสอดแทรกความรู้และมีอารมณ์ขัน
   8.  การพูดให้มีความรู้สึกร่วมกัน มีกลวิธีอย่างไร
       ก.   พูดโดยใช้ข้อมูลที่น่าสนใจมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
       ข.   พูดโดยใช้หลักเหตุผลที่ผู้อื่นโต้แย้งไม่ได้
       ค.   พูดแสดงความรู้สึกเห็นใจ เข้าใจผู้ฟัง
       ง.   พูดแสดงให้เห็นว่าเป็นพวกเดียวกัน
   9.  การพูดเนื้อหาสาระของรายงานการศึกษาค้นคว้าต้องพูดอย่างไร
       ก.   พูดเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์เป็นข้อๆ            ให้ตรงประเด็น
       ข.   พูดเฉพาะส่วนที่ผู้รายงานมีความถนัด
       ค.   พูดในตอนที่มีอุปกรณ์ประกอบการพูด
       ง.   พูดเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ
10.  การพูดรายงานการศึกษาค้นคว้า ขั้นตอนแรกผู้พูดต้องทำอย่างไร
       ก.   บอกที่มาหรือความสำคัญของหัวข้อรายงาน      
       ข.   บอกสื่อหรือบุคคลที่ให้ข้อมูลในการค้นคว้า
       ค.   แนะนำตัวและผู้ร่วมงาน
       ง.   บอกชื่อรายงาน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
การสร้างคำและประโยค

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใด ไม่ใช่หลักสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาบาลี-  สันสกฤต
       ก.   เป็นคำที่ประสมด้วยพยัญชนะ ฎ ฒ ณ ฯลฯ
       ข.   เป็นคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์กำกับ
       ค.   เป็นคำที่มีหลายพยางค์
       ง.   เป็นคำที่มีอักษรควบ
   2.  ครูให้ยกตัวอย่างคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เด็กหญิงเหมียวยกตัวอย่างคำว่า ปรัชญา การที่เด็กหญิงเหมียวยกตัวอย่างคำนี้ แสดงว่าเด็กหญิงเหมียวใช้หลักสังเกตคำบาลี-สันสกฤตข้อใด
       ก.   เป็นคำที่นำมาใช้ในวรรณคดี
       ข.   เป็นคำที่สร้างโดยวิธีสมาส
       ค.   เป็นคำที่มีอักษรควบ
       ง.   เป็นคำหลายพยางค์
   3.  คำในข้อใดมีวิธีการสร้างคำเหมือนกันทุกคำ
       ก.   เสื่อสาด บ้านเรือน ห่างไกล
       ข.   จิตแพทย์ ราชการ วาทศิลป์
       ค.   เรียงเบอร์ ข้าวต้ม ที่นอน
       ง.   ดีชั่ว หมอฟัน ตกใจ
   4.  คำที่มาจากภาษาอังกฤษเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
       เราจะใช้ในลักษณะใด
       ก.   ประสมกับคำไทย
       ข.   แปลงเป็นคำไทย
       ค.   สร้างคำใหม่
       ง.   คำทับศัพท์
   5.  ข้อใด ไม่ใช่คำสมาสที่ไม่มีสนธิ
       ก.   พสกนิกร
       ข.   ธันวาคม
       ค.   วิทยาลัย
        ง.  หิมาลัย
6. คำสมาสได้แก่คำใด
       ก.   สรรพสินค้า
       ข.   สุนทรพจน์
       ค.   เทพเจ้า
       ง.   ผลไม้
   7.  คำที่มาจากภาษาเขมร นำมาใช้ในด้านใดมากที่สุด
       ก.   วรรณคดีและวรรณกรรม  
       ข.   วัฒนธรรมประเพณี
       ค.   การค้าพาณิช
       ง.   ศาสนา
   8.  คำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ไทยเรานำมาใช้
       ในด้านใดน้อยที่สุด
       ก.   วรรณคดีและวรรณกรรม
       ข.   วัฒนธรรมประเพณี
       ค.   การค้าพาณิช
       ง.   ศาสนา
   9.  คำที่มาจากภาษาจีน นำมาใช้ในด้านใดมากที่สุด
       ก.   วรรณคดีและวรรณกรรม
       ข.   วัฒนธรรมประเพณี
       ค.   การค้าพาณิช
       ง.   ศาสนา
10.  ชื่อจังหวัดใดเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
       ก.   ฉะเชิงเทรา
       ข.   นครปฐม
       ค.   ชัยภูมิ
       ง.   ยโสธร



หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
คำราชาศัพท์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สมัยใดที่ระบุการใช้คำราชาศัพท์เป็นลายลักษณ์อักษร
       ก.   สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
       ข.   สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
       ค.   สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
       ง.   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
   2.  เหตุใดที่ในรัชสมัยของกษัตริย์จากคำตอบในข้อ 1
       จึงมีการระบุการใช้คำราชาศัพท์เป็นลายลักษณ์อักษร
       ก.   เพราะต้องการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์
            กับราษฎร
       ข.   เพราะมีการแบ่งระดับชั้นบุคคลในสังคม
       ค.   เพราะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
       ง.   เพราะต้องการยกย่องสถาบันกษัตริย์
   3.  คำราชาศัพท์ มีระเบียบการใช้อย่างไร
       ก.   ใช้ให้เหมาะสมตามระดับชั้นผู้ใหญ่ซึ่งสังคมยกย่อง
            นับถือ
       ข.   ใช้เพื่อยกย่องบุคคลตามระดับชั้นแห่งความนับถือ
       ค.   ใช้เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
       ง.   ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับชั้นของบุคคล
   4.  ถ้านักเรียนมีโอกาสได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักเรียนต้องใช้  สรรพนามบุรุษที่ 2 ว่าอย่างไร
       ก.   ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
       ข.   ใต้ฝ่าละอองพระบาท
       ค.   ฝ่าพระบาท
       ง.   พระองค์
   5.  ถ้าคำใดมีคำว่า พระบรม นำหน้า แสดงว่าคำนั้น
       มีคุณลักษณะอย่างไร
       ก.   เป็นสิ่งสำคัญที่ควรแก่การยกย่อง
       ข.   เป็นคำที่มีอำนาจ
       ค.   เป็นคำที่ยิ่งใหญ่
       ง.   เป็นคำสำคัญ
6. คำใดใช้ทรงถูกต้อง
       ก.   ทรงทอดพระเนตร
       ข.   ทรงประชวร
       ค.   ทรงบรรทม
       ง.   ทรงดนตรี
   7.  เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์ เรียกว่าอย่างไร
       ก.   รัดประคด
       ข.   อัฐบริขาร
       ค.   อาสนะ
       ง.   จีวร
   8.  คำในข้อใดไม่เข้าพวก
       ก.   ภัตตาหาร
       ข.   สนับเพลา
       ค.   อาสนะ
       ง.   ลิขิต
   9.  คำใดใช้ไม่ถูกต้อง
       ก.   พระราชบุตรเขย
       ข.   พระราชมารดา
       ค.   พระสัสสุระ
       ง.   พระปัยกา
10.  บุคคลใดช่วยสืบทอดและรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
       ก.   นายเพียรแปลความจากหนังสือที่อ่านได้ถูกต้อง
            ทุกประเภท             
       ข.   นายพร้อมใช้ภาษาเขียนถูกต้องตามหลักการเขียน
       ค.   นายพันธุ์ใช้ภาษาถูกต้องตามระดับชั้นของบุคคล
       ง.   นายพงศ์พูดราชาศัพท์ได้ถูกต้อง




หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การเรียงลำดับวรรคในการแต่งกลอนสุภาพให้เรียงอย่างไร
       ก.   วรรคสดับ วรรคส่ง วรรครับ วรรครอง
       ข.   วรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง วรรครอง
       ค.   วรรคสดับ วรรครอง วรรครับ วรรคส่ง
       ง.   วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง
   2.  กลอนในข้อใดต่างประเภทจากกลอนอื่นๆ
       ก.   กลอนดอกสร้อย         ข.   กลอนเพลงยาว
       ค.   กลอนสักวา              ง.   กลอนเสภา
    3.                 ¤ เมื่อนั้น               นางประแดะหูกลวงดวงสมร
         ครั้นรุ่งเช้าท้าวประดู่ภูธร   เสด็จจรจากเวียงไปเลี้ยงวัว
         โฉมเฉลาเนาในที่ไสยา      บรรจงหั่นกัญชาไว้ท่าผัว
         แล้วอาบน้ำทาแป้งแต่งตัว  หวีหัวหาเหาเกล้าผมมวย
ข้อความนี้เป็นกลอนขับร้องประเภทใด
       ก.   กลอนดอกสร้อย         ข.   กลอนเพลงยาว
       ค.   กลอนบทละคร          ง.   กลอนนิทาน
   4.                              โอ้คิดสิทธิมนุษยชนคนสยาม
เขาละเมิดเพลิดเพลินจนเกินงาม  จักเขียนความเป็นกลอนสุนทรเตือน
ใครอย่าได้ทุจริตคิดละเมิด   ความประเสริฐเลิศไทยใครจักเหมือน
      บทร้อยกรองนี้เป็นกลอนเพลงประเภทใด
       ก.   กลอนเพลงยาว         ข.   กลอนนิทาน
       ค.   กลอนนิราศ              ง.   กลอนเสภา
 5.   ดนี้ได้รู้จิตคิดสงบ       น้อมเคารพกาลเวลาฝ่ากระแส
      เปิดโลกและชีวิตจิตลับแล  ด้วยกุญแจใจตนดลบันดาล
         คำสุดท้ายของวรรครับใช้เสียงใด
          ก.  จัตวา                   ข.   เอก
          ค.  ตรี                       ง.   โท
  6.               จำเรียงคำจำพรากจากเมืองหลวง
                    ทุกข์เพราะจากพรากรักแสนหนักทรวง    
                    จำจากดวงหทัยน้ำใจงาม
          ข้อความนี้เป็นกลอนเพลงประเภทใด
       ก.   กลอนเพลงยาว         ข.   กลอนนิทาน
       ค.   กลอนนิราศ              ง.   กลอนเสภา
 7. ข้อใดกล่าวถึงคณะของกลอนสุภาพได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   บทหนึ่งมี 2 คำกลอน หรือ 4 วรรค
            วรรคหนึ่งมี 7-9 คำ
       ข.   บทหนึ่งมี 4 คำกลอน หรือ 2 วรรค
            วรรคหนึ่งมี 7-9 คำ
       ค.   บทหนึ่งมี 4 คำกลอน หรือ 2 วรรค วรรคหนึ่งมี 8 คำ
       ง.   บทหนึ่งมี 2 คำกลอน หรือ 4 วรรค วรรคหนึ่งมี 8 คำ
   8.  ลักษณะบังคับของกลอนสุภาพในเรื่องใดที่ไม่ได้มีการบังคับใช้ เป็นแต่เพียงความนิยม
       ก.   คณะ                      ข.   สัมผัส
       ค.   ความยาว                ง.   เสียงวรรณยุกต์
   9.  การเรียกชื่อกลอนประเภทต่างๆ ใช้สิ่งใดเป็นหลัก
       ก.   เสียงวรรณยุกต์ในตำแหน่งของกลอน
       ข.   จำนวนคำหรือพยางค์ในการแต่ง
       ค.   คำคล้องจองในแต่ละบท
       ง.   รูปแบบการแต่ง
10.  ข้อความใดมีสัมผัสอักษรมากที่สุด
       ก.   องค์อ่อนช้อยลอยเลื่อนเคลื่อนกายา    
       ข.   หมั่นฝักใฝ่ไตร่ตรองมองมรรคผล
       ค.   ยุรยาตรย่างยามงามสง่า
       ง.   ชีวิตนี้ไม่มีอะไรดอก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น