วรรณคดีและวรรณกรรมม.6


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง เสภาขุนช้างขุนแผน
    ก.  มีเค้าเรื่องมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา
    ข.  ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นสุดยอดของ
          กลอนนิทาน
    ค.  มีผู้แต่งหลายคน บางตอนปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่บางตอน
          ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
    ง.  เป็นเรื่องที่สะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมสมัยอยุธยา
          และรัตนโกสินทร์ตอนต้น
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเสภาเรื่อง ขุนข้างขุนแผน
    ตอน ขุนช้างถวายฎีกา
    ก.  เป็นตอนที่นิยมนำไปใช้แสดง เสภารำ มากที่สุด
    ข.  เนื้อหาตอนนี้มีที่มาจากพงศาวดารคำให้การชาวกรุงเก่า
    ค.  เป็นหนึ่งใน 8 ตอนที่ได้รับยกย่องจากสมาคมวรรณคดี
          ว่าแต่งได้ดีเยี่ยม
    ง.  ป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ-
          เลิศหล้านภาลัย
3. คำว่า ถวายฎีกา หมายความว่าอะไร
     ก.  ยื่นคำร้องทุกข์ต่อหน่วยงานรัฐ
     ข.  ราษฎรยื่นคำร้องทุกข์ถวายพระเจ้าแผ่นดิน
     ค.  ยื่นคำร้องทุกข์ต่อศาลเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม
     ง.  แจ้งความแก่หน่วยงานรัฐให้ดำเนินคดีกับบุคคลใด
         บุคคลหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ
4. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใด หมายถึง จมื่นไวย
        ก.  วันนั้นแพ้กูเมื่อดำน้ำ  ก็กริ้วซ้ำจะฆ่าให้เป็นผี
    ข.  เอาเถิดเป็นไรก็เป็นไป  ไม่เอากลับมาได้มิใช่กู
    ค.  แล้วกลับความถามข้างวันทองพลัน  เออเมื่อมันฉุด
          คร่าพามึงไป
    ง.  ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู  ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ
5. ข้อใดเป็นการกระทำตามกฎมณเฑียรบาลในการถวายฎีกา
     ของประชาชนในสมัยโบราณ
    ก.  เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที ตีเสียสามสิบจึงปล่อยไป
    ข.  ระวางโทษเบ็ดเสร็จเจ็ดสถาน ถึงประหารชีวิตเป็นผุยผง                                  
    ค.  ดำริพลางทางเสด็จยาตรา ออกมาพระที่นั่งจักรพรรดิ
    ง.  พระสูตรรูดกร่างกระจ่างองค์ ขุนนางกราบราบลงเป็นขนัด
6.  กูก็ชั่วมัวรักแต่สองนาง     ละวางให้วันทองน้องโศกศัลย์
     เมื่อตีได้เชียงใหม่ก็โปรดครัน  จะเพ็ดทูลคราวนั้นก็คล่องใจ
    คำว่า สองนาง ในบทประพันธ์ข้างต้นหมายถึงใคร
    ก.  นางลาวทอง กับ นางสายทอง
    ข.  นางศรีมาลา กับ นางสร้อยฟ้า
    ค.  นางลาวทอง กับ นางสร้อยฟ้า
    ง.  นางลาวทอง กับ นางแก้วกิริยา
7. ได้ยินเสียงฆ้องย่ำประจำวัง  ลอยลมล่องดังถึงเคหา
    คะเนนับย่ำยามได้สามครา   ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน
    คำว่า  ทักทินในบทประพันธ์ข้างต้นมีความหมายตรงกับ
    ข้อใด
    ก.  ฤกษ์มหาโจร
    ข.  วันดีตามหลักโหราศาสตร์
    ค.  วันชั่วร้ายตามหลักโหราศาสตร์
    ง.  เวลาที่เหมาะสำหรับการประกอบพิธีไสยศาสตร์
8. ข้อใดใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น
    ก.  ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ ฟังจบแค้นคั่งดังเพลิงไหม้
          เหมือนดินประสิวปลิวติดกับเปลวไฟ ดูดู๋เป็นได้อีวันทอง
    ข.  อีแสนถ่อยจัญไรใจทมิฬ ดังเพชรนิลเกิดขึ้นในอาจม
          รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม
    ค.  คิดคะนึงถึงมิตรแต่ก่อนเก่า นิจจาเจ้าเหินห่างร้างพิสมัย
          ถึงสองครั้งตั้งแต่พรากจากพี่ไป ดังเด็ดใจจากร่างก็ราวกัน
     ง.  เจ้าพลายงามตามรับเอากลับมา ทีนี้หน้าจะดำเป็นน้ำหมึก
          กำเริบใจด้วยเจ้าไวยกำลังฮึก จะพาแม่ตกลึกให้จำตาย
9. อีวันทองกูให้อ้ายแผนไป  อ้ายช้างบังอาจใจทำจู่ลู่
    ฉุดมันขึ้นช้างอ้างถึงกู      ตะคอกขู่อีวันทองให้ตกใจ
    คำว่า จู่ลู่ ในบทประพันธ์ข้างต้น หมายถึงข้อใด
    ก.  สู่รู้                           ข.  โกรธ
    ค.  ชั่วร้าย                    ง.  ถลันเข้าไป
10. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใด ไม่ได้หมายถึงขุนช้าง
    ก.  แสนถ่อยใครจะถ่อยเหมือนมันบ้าง 
          ทุกอย่างที่จะชั่วอ้ายหัวลื่น
          เวียนแต่เป็นถ้อยความไม่ข้ามคืน 
          น้ำยืนหยั่งไม่ถึงยังดึงมา
    ข.  นิจจาใจเจ้าจะให้พี่เจ็บจิต   
          ดังเอากริชแกระกรีดในอกผัว
          เกรงผิดคิดบาปจึงหลาบกลัว 
          พี่นี้ชั่วเพราะหมิ่นประมาทความ
    ค.  สำคัญคิดว่าผู้ร้ายให้นึกกลัว
          กอดผัวร้องดิ้นจนสิ้นเสียง
          ซวนซบหลบลงมาหมอบเมียง 
          พระหมื่นไวยเข้าเคียงห้ามมารดา
    ง.  เลี้ยงมึงไม่ได้อ้ายใจร้าย 
         ชอบแต่เฆี่ยนสองหวายตลอดสัน
         แล้วกลับความถามข้างวันทองพลัน 
         เออเมื่อมันฉุดคร่าพามึงไป
11. ขึ้นไปบนเรือนพระหมื่นไวย 
     แจ้งข้อรับสั่งไปขมีขมัน
     ขุนช้างฟ้องร้องฎีกาพระทรงธรรม์
     ให้หาทั้งสามท่านนั้นเข้าไป
     คำว่า สามท่าน ในบทประพันธ์ข้างต้น หมายถึงใครบ้าง
    ก.  ขุนช้าง  ขุนแผน  นางวันทอง
    ข.  ขุนแผน จมื่นไวย พระหมื่นศรี
    ค.  ขุนแผน  จมื่นไวย  นางวันทอง
    ง.  ขุนแผน  นางวันทอง  นางลาวทอง
   12. ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่นางวันทองไม่ยอมไปกับพลายงามบุตรชาย
    ก.   ขุนช้างตื่นขึ้นมิเป็นการ  เขาจะรุกรานพาลข่มเหง
    ข.   ต้องจำจนทนกรรมที่ติดตาม จะขืนความคิดไปก็ใช่ที่             จะขืนความคิดไปก็ใช่ที
    ค.   คิดบ่ายเบี่ยงเลี่ยงเลี้ยวเบี้ยวบิดไป  เพราะรักอ้ายขุน           ช้างกว่าบิดา
    ง.   ด้วยเป็นข้าลักไปไทลักมา  เห็นเบื้องหน้าจะอึงแม่จึง               ห้าม
 13. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงความเชื่อทางไสยศาสตร์และคาถาอาคม
    ก.   ถือดาบฟ้าฟื้นยืนแกว่งไกว  ตกใจกลัวว่าจะฆ่าฟัน
    ข.   แล้วทำผงอิทธิเจเข้าเจิมพักตร์  คนเห็นคนทักรักทุกหน้า
    ค.   เป่ามนตร์เบื้องบนชอุ่มมัว  พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา
    ง.   สีขี้ผึ้งสีปากกินหมากเวทย์  ซึ่งวิเศษสารพัดแก้ขัดสน
 14. ข้อใดกล่าวถึงความไม่คู่ควรกันระหว่างขุนช้างกับนางวันทอง
    ก.  อสนีครื้นครั่นสนั่นก้อง น้ำฟ้าหาต้องดอกไม้ไม่
    ข.  ดอกมะเดื่อฤๅจะเจือดอกพะยอม ว่านักแม่จะตรอม
            ระกำใจ
    ค.   ดังทองคำทำเลี่ยมปากกะลา หน้าตาดำเหมือนมิน    
            หม้อมอม
    ง.  นิ่งนอนอยู่บนเตียงเคียงขุนช้าง มันแนบข้างกอดกลม
           ประสมสอง
 15. พี่ผิดพี่ก็มาลุแก่โทษ  จะคุมโกรธคุมแค้นไปถึงไหน
     ความรักพี่ยังรักระงมใจ  อย่าตัดไมตรีตรึงให้ตรอมตาย
     ว่าพลางทางแอบเข้าแนบอก  ประคองยกของสำคัญมั่นหมาย     เจ้าเนื้อทิพย์หยิบชื่นอารมณ์ชาย  ขอสบายสักหน่อยอย่า     โกรธา บทประพันธ์ข้างต้นเด่นด้านใช้รสวรรณคดีใด
    ก.   เสาวรจนี
    ข.   พิโรธวาทัง
    ค.   นารีปราโมทย์
    ง.   สัลลาปังคพิสัย


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องสามก๊ก
    ก.  จีนเรียกเรื่องสามก๊กว่า สามก๊กจี่ แปลว่า จดหมายเหตุ
          เรื่องสามก๊ก
    ข.  วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เรื่องสามก๊กเป็น ยอดแห่ง
          ความเรียงประเภทนิทาน
    ค.  นักปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง เป็นผู้นำเรื่องสามก๊กที่เล่า
          กันเป็นนิทานมาแต่งเป็นหนังสือ
    ง.  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ
          ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นผู้อำนวยการแปลสามก๊ก
          เป็นภาษาไทย
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องสามก๊ก
    ก.  สามก๊ก หมายถึง  วุยก๊ก  จ๊กก๊ก และง่อก๊ก
    ข.  หนังสือสามก๊กแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น
    ค.  ยุคที่แผ่นดินจีนเกิดความแตกแยกและเกิดสงคราม
          ชิงอำนาจจนแตกออกเป็นสามก๊ก คือ สมัยราชวงศ์จิ้น
    ง.  ยุคที่ก๊กทั้งสามก๊กเสื่อมอำนาจลง และแผ่นดินจีนกลับมา
          รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันได้อีกครั้ง คือ สมัยราชวงศ์ฮั่น
3. สามก๊ก หมายถึง ก๊กของใครบ้าง
    ก.  ก๊กของสุมาอี้   ก๊กของเล่าปี่   ก๊กของโจโฉ
    ข.  ก๊กของซุนกวน  ก๊กของเล่าปี่  ก๊กของโจโฉ
    ค.  ก๊กของเล่าปี่   ก๊กของเตียวหุย  ก๊กของโจโฉ
    ง.  ก๊กของอ้วนเสี้ยว   ก๊กของขงเบ้ง   ก๊กของโจโฉ
4. บัดนี้กองทัพโจโฉก็ยกมาใกล้เมืองเราแล้ว เวลาค่ำวันนี้
    ข้าพเจ้าจะอาสาคุมทหารยกออกไปโจมตีกองทัพโจโฉ
    อย่าให้ตั้งมั่นลงได้ เห็นโจโฉจะเสียทีเป็นมั่นคง ข้อความ
    ข้างต้น ใครเป็นคนพูด
    ก.  กวนอู
    ข.  ซุนกวน
    ค.  เตียวหุย
    ง.  อ้วนเสี้ยว
5. คุณธรรมที่โดดเด่นที่สุดของกวนอูในเรื่องสามก๊ก ตอน กวนอู
    ไปรับราชการกับโจโฉ คืออะไร
    ก.  ความกตัญญูรู้คุณ
    ข.  ความเป็นผู้มีวาจาสัตย์
    ค.  ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
    ง.  ความจงรักภักดีต่อกษัตริย์
6. หวังจะให้กวนอูคิดทำร้ายพี่สะใภ้ น้ำใจจะได้แตกออกจาก
    เล่าปี่ จะได้เป็นสิทธิ์แก่ตัว สิทธิ์แก่ตัว ในข้อความข้างต้น
    หมายถึงอะไร
    ก.  กวนอูจะได้เป็นข้าโจโฉเต็มตัว
    ข.  กวนอูจะได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่
    ค.  ภรรยาทั้ง ๒ ของเล่าปี่จะได้เป็นของโจโฉ
    ง.  กวนอูจะได้พี่สะใภ้ทั้ง ๒ เป็นภรรยาตนเอง
7. ข้อใดปรากฏถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในความหมายต่างจาก
     ปัจจุบัน
    ก.  กวนอูก็คิดรักเล่าปี่อยู่มิได้ขาด
    ข.  กวนอูห่มเสื้อขาด โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดีให้กวนอู
    ค.  แล้วโจโฉก็ให้กวนอูกินโต๊ะ แล้วว่าพรุ่งนี้เช้าเราจะ
          ยกกลับไปเมืองฮูโต๋
    ง.  เหตุไฉนท่านจึงรักม้าอันเป็นสัตว์เดียรัจฉานมากกว่า
          ทรัพย์สิ่งสินอีกเล่า
8. ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกำลังมากขึ้น อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปีก
    ยังไม่ขึ้นพร้อม แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนี้ ถ้าขนขึ้นพร้อม
    แล้วก็จะบินทางไกลได้ ข้อความข้างต้น ใครเป็นผู้พูด และพูดถึงใคร
    ก.  เล่าปี่พูดถึงโจโฉ
    ข.  โจโฉพูดถึงเล่าปี่
    ค.  โจโฉพูดถึงกวนอู
    ง.  โจโฉพูดถึงอ้วนเสี้ยว

9. ข้อใดใช้โวหารต่างจากข้ออื่น
    ก.  ตัวเราก็มิได้รักชีวิต  อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ 
          ท่านเร่งกลับไปบอกแก่โจโฉให้ตระเตรียมทหารไว้
          ให้พร้อม เราจะยกลงไปรบ
    ข.  ถึงมาตรว่าท่านจะได้ความลำบากก็อุปมาเหมือนหนึ่ง
          ลุยเพลิงอันลุก  แลข้ามพระมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ 
          ก็จะลือชาปรากฏชื่อเสียงท่านไปภายหน้า  ว่าเป็น
          ชาติทหารมีใจสัตย์ซื่อกตัญญูต่อแผ่นดิน
    ค.  เราก็แจ้งอยู่ว่าครั้งนี้ได้ทีทำการศึก แต่ใจเรานั้นเป็นห่วง
          อยู่ถึงบุตร  ถ้าบุตรเป็นอันตราย  ข้างหลังชีวิตเราก็จะ
          ตายด้วย ประการหนึ่งมาตรว่าจะยกไปก็ไม่มีชัยชนะ
          ด้วยเหตุไม่สบาย
    ง.  เล่าปี่นั้นเป็นคนมีสติปัญญา  ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกำลังมาก
          ขึ้น  อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปีกยังไม่ขึ้นพร้อม 
          แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนี้  ถ้าขนขึ้นพร้อมแล้วก็จะ
          บินไปทางไกลได้ ซึ่งจะจับตัวนั้นเห็นจะได้ความขัดสน
10. เหตุใดซุนฮกจึงกล่าวแก่โจโฉว่า ถ้ามีศึกมาก็อย่าให้กวนอู
    ออกอาสา
    ก.  เพราะเกรงว่ากวนอูจะเอาใจออกหาก
    ข.  เพราะเกรงว่ากวนอูจะแสร้งรบแพ้ข้าศึก
    ค.  เพราะเกรงว่ากวนอูจะลอบหนีจากโจโฉ
    ง.  เพราะจะทำให้กวนอูได้แทนคุณโจโฉสำเร็จเร็วเกินไป
11. เหตุการณ์ตอนใดที่โจโฉมั่นใจว่าตนไม่สามารถผูกใจกวนอู
    ไว้ได้
    ก.  กวนอูปฏิเสธไม่ยอมออกรบกับเล่าปี่
    ข.  กวนอูดีใจที่โจโฉมอบม้าเช็กเธาว์ให้
    ค.  กวนอูเคารพและซื่อสัตย์ต่อภรรยาเล่าปี่ไม่เปลี่ยนแปลง
    ง.  กวนอูใส่เสื้อที่โจโฉให้ไว้ข้างใน และใส่เสื้อเก่าที่เล่าปี่ให้
          ไว้ข้างนอก
  12.โจโฉจึงให้กวนอูกับภรรยาเล่าปี่ทั้งสองนั้นอยู่เรือนเดียวกัน
    เหตุใดโจโฉจึงให้กวนอูอยู่กับภรรยาของเล่าปี่ในเรือนเดียวกัน
    ก.  ต้องการให้กวนอูสวามิภักดิ์ต่อตน
    ข.  ต้องการได้ภรรยาเล่าปี่มาเป็นของตน
    ค.  ต้องการให้กวนอูคิดไม่ซื่อต่อภรรยาเล่าปี่
    ง.  ต้องการให้กวนอูทะเลาะแตกคอกับภรรยาเล่าปี่
 13. ธรรมดาเกิดมาเป็นชายให้รู้จักที่หนักที่เบา ถ้าผู้ใดมิได้รู้จัก
    ที่หนักที่เบา คนทั้งปวงก็จะล่วงติเตียนว่าผู้นั้นหาสติปัญญา
     ไม่ คำว่า ที่หนักที่เบา ในข้อความข้างต้น หมายถึงอะไร
    ก.  รู้ผิดรู้ชอบ
    ข.  หนีร้อนมาพึ่งเย็น
    ค.  ผ่อนสั้นผ่อนยาว
    ง.  รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง
 14. ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขที่กวนอูยอมไปรับราชการกับโจโฉ
    ก.  ขอให้ได้ตำแหน่งเสนาบดี
    ข.  ขอให้ได้เป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้
    ค.  ขอไปหาเล่าปี่ทันทีที่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
    ง.  ขอให้ดูแลและได้คุ้มครองภรรยาเล่าปี่
 15. ข้อใดสะท้อนคุณธรรมความกตัญญูของกวนอูเด่นชัดที่สุด
    ก.  ทุกวันนี้มหาอุปราชชุบเลี้ยงเราจึงได้มีความสุข 
          คุณนั้นก็มีเป็นอันมาก  แต่จะได้วายคิดถึงเล่าปี่นั้นหามิได้
    ข.  กวนอูเห็นแสงเพลิงในเมืองสว่างขึ้นก็ตกใจ
          คิดถึงครอบครัวเล่าปี่ จึงคุมทหารลงมาถึงเชิงเขา
    ค.  ตัวเราเกิดมาเป็นชายรักษาสัตย์มิให้เสียวาจา ถึงมาตรว่า
          เล่าปี่จะถึงแก่ความตาย  เราก็จะตายไปตามความที่ได้
          สาบานไว้
    ง.  แม้ข้าพเจ้ารู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใด ถึงมาตรว่าเป็นทางกันดาร
          จะต้องข้ามพระมหาสมุทรแลลุยเพลิงก็ดี ข้าพเจ้าจะไป
          หาเล่าปี่ให้จงได้ แม้ข้าพเจ้ายังมิทันลามหาอุปราชก็ดี
          ขอท่านให้อภัยแก่ข้าพเจ้า

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
กาพย์เห่เรือ
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกวีผู้แต่งเรื่องกาพย์เห่เรือ
    ก.  เป็นกวีสมัยอยุธยาตอนปลาย
    ข.  เคยรับหน้าที่ซ่อมสร้างวิหารวัดมงคลบพิตร
    ค.  ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
    ง.  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช ในรัชกาล
          สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องกาพย์เห่เรือ
     พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
    ก.  กวีทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ระหว่างเสด็จไปอยุธยาโดยทางเรือ
    ข.  ลักษณะคำประพันธ์ประกอบด้วย โคลงสี่สุภาพ
          กาพย์ยานี 11 และร่ายยาว
    ค.  เนื้อหาประกอบด้วยบทพรรณนาชมเรือและชมธรรมชาติโดยไม่มีการรำพึงรำพันถึงนางอันเป็นที่รัก
    ง.  กวีทรงพระนิพนธ์เพื่อใช้เห่เรือพระที่นั่งของพระองค์เองแต่ในยุคต่อมา วรรณคดีเรื่องนี้ใช้ในการเห่เรือหลวง
3. ข้อใดไม่ปรากฏชื่อเรือ
    ก.  สรมุขมุขสี่ด้าน  เพียงพิมานผ่านเมฆา
          ม่านกรองทองรจนา  หลังคาแดงแย่งมังกร
    ข.  สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย  งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
          เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์  ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
    ค.  สมรรถชัยไกรกาบแก้ว  แสงแวววับจับสาคร
          เรียบเรียงเคียงคู่จร  ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
    ง.  กรีธาหมู่นาเวศ  จากนคเรศโดยสาชล
          เหิมหื่นชื่นกระมล  ยลมัจฉาสารพันมี
4. ข้อใดไม่มีการเล่นคำพ้องเสียง
    ก.  เรือชายชมมิ่งไม้  ริมท่าไสวหลากหลายพรรณ
          เพล็ดดอกออกแกมกัน  ส่งกลิ่นเกลี้ยงเพียงกลิ่นสมร
    ข.  น้ำเงินคือเงินยวง    ขาวพรายช่วงสีสำอาง
          ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง  งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
    ค.  แก้มช้ำช้ำใครต้อง  อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
          ปลาทุกทุกข์อกกรม  เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง
    ง.  ชมดวงพวงนางแย้ม  บานแสล้มแย้มเกสร
          คิดความยามบังอร     แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม
5.  เรียมทนทุกข์แต่เช้า   ถึงเย็น
     มาสู่สุขคืนเข็ญ              หม่นไหม้
     ชายใดจากสมรเป็น        ทุกข์เท่า  เรียมเลย
     จากคู่วันเดียวได้              ทุกข์ปิ้มปานปี
     บทประพันธ์ข้างต้นใช้ภาพพจน์ชนิดใด
    ก.  อุปมา                    ข.  อติพจน์
    ค.  อุปลักษณ์               ง.  บุคลาธิษฐาน
6. ข้อใดไม่ได้ใช้ภาพพจน์อุปมา
    ก.  สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย  งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
          เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์  ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
    ข.  น้ำเงินคือเงินยวง    ขาวพรายช่วงสีสำอาง
          ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง  งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
    ค.  งามทรงวงดั่งวาด  งามมารยาทนาดกรกราย
          งามพริ้มยิ้มแย้มพราย  งามคำหวานลานใจถวิล
    ง.  ดุเหว่าเจ่าจับร้อง  สนั่นก้องซ้องเสียงหวาน
          ไพเราะเพราะกังวาน  ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย
7. ข้อใดไม่มีคำที่หมายถึง ผู้หญิง
    ก.  ชะแวงแฝงฝั่งแนบ  ชะวาดแอบแปบปนปลอม
          เหมือนพี่แอบแนบถนอม  จอมสวาทนาฏบังอร
    ข.  หางไก่ว่ายแหวกว่าย  หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
          คิดอนงค์องค์เอวอร  ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
    ค.  เพรางายวายเสพรส  แสนกำสรดอดโอชา
          อิ่มทุกข์อิ่มชลนา  อิ่มโศกาหน้านองชล
    ง.  ประยงค์ทรงพวงห้อย  ระย้าย้อยห้อยพวงกรอง
          เหมือนอุบะนวลละออง  เจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม
8. ข้อใดกล่าวถึงชื่อพรรณไม้มากที่สุด
    ก.  สาวหยุดพุทธชาด  บานเกลื่อนกลาดดาษดาไป
          นึกน้องกรองมาลัย  วางให้พี่ข้างที่นอน
    ข.  เต็งแต้วแก้วกาหลง  บานบุษบงส่งกลิ่นอาย
          หอมอยู่ไม่รู้หาย  คล้ายกลิ่นผาเจ้าตาตรู
    ค.  พิกุลบุนนาคบาน  กลิ่นหอมหวานซ่านขจร
          แม้นนุชสุดสายสมร  เห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย
    ง.  พุดจีบกลีบแสล้ม  พิกุลแกมแซมสุกรม
          หอมชวยรวยตามลม  เหมือนกลิ่นน้องต้องติดใจ

9. ข้อใดมีการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
    ก.  เรือครุฑยุดนาคหิ้ว  ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
          พลพายกรายพายทอง  ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
    ข.  เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง  นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
          ตัวเดียวมาพลัดคู่  เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
    ค.  ดุเหว่าเจ่าจับร้อง  สนั่นก้องซ้องเสียงหวาน
          ไพเราะเพราะกังวาน  ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย
    ง.  ยามสองฆ้องยามย่ำ  ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
          เสียงปี่มี่ครวญเครง  เหมือนเรียมร่ำคร่ำครวญนาน

10. ข้อใดโดดเด่นด้านการใช้คำบรรยายให้เกิดภาพเคลื่อนไหว
    ก.  แมลงภู่คู่เคียงว่าย  เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
          คิดความยามเมื่อสม  สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
    ข.  เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน  โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
          ดูยิ่งสิงห์ลำพอง  เป็นแถวท่องล่องตามกัน
    ค.  นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง  จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
          เหมือนพี่นี้ประคอง  รับขวัญน้องต้องมือเบา
    ง.  หางไก่ว่ายแหวกว่าย  หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
          คิดอนงค์องค์เอวอร  ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร

  11.      ข้อใดสะท้อนภาพการแต่งกายของสตรีไทยในอดีตอย่างชัดเจน
    ก.  เต็งแต้วแก้วกาหลง  บานบุษบงส่งกลิ่นอาย
          หอมอยู่ไม่รู้หาย  คล้ายกลิ่นผาเจ้าตาตรู
    ข.  งามทรงวงดั่งวาด    งามมารยาทนาดกรกราย
          งามพริ้มยิ้มแย้มพราย  งามคำหวานลานใจถวิล
    ค.  เพียนทองงามดั่งทอง  ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
          กระแหแหห่างชาย  ดั่งสายสวาทคลาดจากสม
    ง.  ปลาสร้อยลอยล่องชล  ว่ายเวียนวนปนกันไป
          เหมือนสร้อยทรงทรามวัย  ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย

 12. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงงานฝีมือของสตรีในราชสำนัก
    ก.  ลำดวนหวนหอมตรลบ  กลิ่นอายอบสบนาสา
          นึกถวิลกลิ่นบุหงา      รำไปเจ้าเศร้าถึงนาง
    ข.  ประยงค์ทรงพวงห้อย  ระย้าย้อยห้อยพวงกรอง
          เหมือนอุบะนวลละออง  เจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม
    ค.  สาวหยุดพุทธชาด    บานเกลื่อนกลาดดาษดาไป
          นึกน้องกรองมาลัย     วางให้พี่ข้างที่นอน
    ง.  ปลาสร้อยลอยล่องชล  ว่ายเวียนวนปนกันไป
          เหมือนสร้อยทรงทรามวัย  ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย

 13. ข้อใดไม่มีการพรรณนาแบบนิราศ
    ก.  เรื่อยเรื่อยมารอนรอน  ทิพากรจะตกต่ำ
          สนธยาจะใกล้ค่ำ  คำนึงหน้าเจ้าตาตรู
    ข.  ปลายกรายว่ายเคียงคู่  เคล้ากันอยู่ดูงามดี
          แต่นางห่างเหินพี่     เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร
    ค.  มะลิวัลย์พันจิกจวง  ดอกเป็นพวงร่วงเรณู
          หอมมาน่าเอ็นดู  ชูชื่นจิตคิดวนิดา
    ง.  กรีธาหมู่นาเวศ  จากนคเรศโดยสาชล
          เหิมหื่นชื่นกระมล  ยลมัจฉาสารพันมี

  14. ข้อใดกล่าวถึงการให้จังหวะประกอบการพายเรืออย่างชัดเจน
    ก.  เรือชัยไวว่องวิ่ง  รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
          เสียงเส้าเร้าระดม    ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
    ข.  คชสีห์ทีผาดเผ่น  ดูดังเป็นเห็นขบขัน
          ราชสีห์ที่ยืนยัน  คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
    ค.  ยามสองฆ้องยามย่ำ  ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
          เสียงปี่มี่ครวญเครง  เหมือนเรียมคร่ำร่ำครวญนาน
    ง.   เลียงผาง่าเท้าโผน  เพียงโจนไปในวารี
          นาวาหน้าอินทรี  มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม

15ข้อใดกล่าวถึงเวลาเช้า
      ก. เพรางายวายเสพรส  แสนกำสรดอดโอชา
            อิ่มทุกข์อิ่มชลนา  อิ่มโศกาหน้านองชล
      ข. รอนรอนสุริยโอ้  อัสดง
           เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง  ค่ำแล้ว
      ค.   ยามสองฆ้องยามย่ำ  ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
            เสียงปี่มี่ครวญเครง  เหมือนเรียมคร่ำร่ำครวญนาน
      ง. เรื่อยเรื่อยมารอนรอน  ทิพากรจะตกต่ำ
            สนธยาจะใกล้ค่ำ  คำนึงหน้าเจ้าตาตรู                           


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
สามัคคีเภทคำฉันท์
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกวีผู้แต่งเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
    ก.  เคยทำงานหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
    ข.  เป็นคนเดียวกับผู้แต่งเรื่อง กรุงเทพฯ คำฉันท์
    ค.  ใช้นามปากกาว่า เอกชน แมวคราว และเขียวหวาน
    ง.     ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จ
          พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
    ก.  เคยตีพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ
    ข.  แต่งด้วยฉันท์ 19 ชนิด และกาพย์ 1 ชนิด
    ค.  เนื้อหาของเรื่องเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของ
          นายชิต บุรทัต ผู้เป็นกวี
    ง.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่มีพระราชดำริ
          ให้แต่งขึ้นเป็นคำฉันท์
3. คุณธรรมใดที่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวียึดถือปฏิบัติมาช้านาน     
     จนช่วยให้สามารถปกครองบ้านเมืองได้อย่างเข้มแข็ง
     ก่อนหน้าที่วัสสการพราหมณ์จะคิดอุบายมาทำลาย
    ก.  พรหมวิหาร              ข.  สามัคคีธรรม
    ค.  ทศพิธราชธรรม          ง.  อปริหานิยธรรม
4.     อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ 
    ขยาดขยั้นมิทันอะไร                    ก็หมิ่นกู
        กลกะกากะหวาดขมังธนู                      
    บ ห่อนจะเห็นธวัชริปู                   สิล่าถอย
    ข้อความข้างต้นแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
    ก.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์         ข.  วิชชุมมาลาฉันท์
    ค.  อุปชาติฉันท์              ง.  อีทิสังฉันท์
5. จากบทประพันธ์ในข้อ 4. ข้างต้น กวีใช้ภาพพจน์ชนิดใด
    ก.  อุปมา                   ข.  สัทพจน์
    ค. อุปลักษณ์                 ง.  บุคลาธิษฐาน
6. ข่าวเศิกเอิกอึง              ทราบถึงบัดดล
    ในหมู่ผู้คน                   ชาวเวสาลี
    แทบทุกถิ่นหมด             ชนบทบูรี
    อกสั่นขวัญหนี               หวาดกลัวทั่วไป
    ข้อความข้างต้นแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
    ก.  อินทรวิเชียรฉันท์        ข.  วิชชุมมาลาฉันท์
    ค.  อุปชาติฉันท์             ง.  โตฎกฉันท์
7. อันข้าพระองค์กษณะนี้         ภยมีจะร้อนใด
    ยิ่งกว่าและหามนุษย์ไหน         จะเสมอเสมือนตน
    ข้อความข้างต้นแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
    ก.  มาลินีฉันท์               ข.  มาณวกฉันท์
    ค. วสันตดิลกฉันท์            ง.  อินทรวิเชียรฉันท์
8. ข้อใดใช้ภาพพจน์อุปมา
    ก.  ทราบข่าวขจรกิรติบา       รมิว่าพระองค์เป็น
            เอกอัครกษัตริย์สุขุมเพ็ญ     กรุณามหาศาล
    ข.  บางคนกมลอ่อน             อุระข้อนพิไรพรรณน์
           บางพวกพิสัยฉัน                 กุธเกลียดก็เสียดสี
    ค.  ควรขัตติยยานยรรยง      เพียงพาหนาสน์องค์
           สหัสนัยน์ใดปาน
    ง.  พะพ้องพระอาชญา         บมิน่าจะเป็นจะปาน
           มิหนำนิเทสการ                  ทวิวิธลุทัณฑทวน
9. ข้อใดไม่ได้หมายถึงวัสสการพราหมณ์
    ก.  โดยเต็มกตัญญู              กตเวทิตาครัน
           ใหญ่ยิ่งและยากอัน              นรอื่นจะอาจทน
    ข.  ก็พ้อและต่อพิษ             ทุรทิฐิมานจน
           ลุโทสะสืบสน                     ธิพิพาทเสมอมา
    ค.  ปลงอาตม์นิราศรา          ชคฤห์ฐานมุ่งไป
           สู่เทศสถานไกล                  บุรรัฐวัชชี
    ง.  ทิชงค์เจาะจงเจตน์         กลห์เหตุยุยงเสริม
          กระหน่ำและซ้ำเติม           นฤพัทธก่อการณ์

10. ทุกข้อต่อไปนี้ มีคำไวพจน์ที่หมายถึง พราหมณ์
       ยกเว้นข้อใด
    ก.  และฝ่ายกุมารผู้          ทิชครูมิเรียกหา
           ก็แหนงประดารา                ชกุมารทิชงค์เชิญ
    ข.  ชะรอยว่าทิชาจารย์      ธ คิดอ่านกะท่านเป็น
           รหัสเหตุประเภทเห็น          ละแน่ชัดถนัดความ
    ค.  ทิชงค์เจาะจงเจตน์       กลห์เหตุยุยงเสริม
           กระหน่ำและซ้ำเติม            นฤพัทธก่อการณ์
    ง.  เมตตาทยาลุศุภกรรม   อุปถัมภการุณย์
           สรรเสริญเจริญพระคุณสุน   ทรพูนพิบูลงาม
11. จากข้อความที่กำหนดให้ ข้อใดเป็นบท พิโรธวาทัง
    ก.  ไป่เห็นกะเจ็บแสบ       ชิวแทบจะทำลาย
           มอบสัตย์สมรรถหมาย        มนมั่นมิหวั่นไหว
    ข.  เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร
           ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน           ก็มาเป็น
    ค.  เสื่อมสีสะผมเผ้า         สิริเปล่าประจานตัว
           เป็นเยี่ยงประหยัดกลัว        ผิมลักจะหลาบจำ
    ง.  ต่างทรงสำแดง           ความแขงอำนาจ
            สามัคคีขาด                     แก่งแย่งโดยมาน
            ภูมิศลิจฉวี                      วัชชีรัฐบาล
            บ่ ชุมนุมสมาน                แม้แต่สักองค์

12. บทประพันธ์ในข้อใดดีเด่นด้านการแสดงภาพเคลื่อนไหว
     มากที่สุด
    ก.  แพร้วแพร้วพรายพรายข่ายกรอง ก่องสกาวดาวทอง
              ทั้งพู่สุพรรณสรรถกล
    ข.  ขุนอัศว์อาตม์โอ่โอฬาร       รำทวนเทิดปาน
            ประหนึ่งจะโถมโจมแทง
    ค.  ต่างตัวดีดโลดโดดลอย       เริงเล่นเผ่นคอย
            จะควบประกวดอวดพล
    ง.  ขุนคชขึ้นคชชินชาญ          คุมพลคชสาร
            ละตัวกำแหงแข็งขัน

13. คำว่า ในข้อใด หมายถึง วัสสการพราหมณ์
    ก.  ราช ธ ก็เล่า                       เค้า ณ ประโยค
            ตนบริโภค                       แล้วขณะหลัง
    ข.  เสร็จอนุศาสน์                    ราชอุรส
            ลิจฉวิหมด                       ต่าง ธ ก็มา
    ค.  เห็นน่าจะหายนะก็ขัด   พจนัตถทัดทาน
            บัดดลบดินทร ธ ดาล         พระพิโรธสำแดง
    ง.  บ่ ห่อนจะมีสา            ร ฤ หาประโยชน์ไร
            กระนั้นเสมอนัย                 เสาะแสดง ธ แสร้งถาม
14. บทประพันธ์ในข้อใดพรรณนาภาพช้าง
    ก.  พลหัยพิศเห็นเช่นเหิน     หาวเหาะเหยาะเดิน
            เดาะเตือนก็เต้นตีนซอย
    ข.  โสภาอัศวาภรณ์สรรพ์     ตาบหน้าพร่าวรร
            ณเด่นดำกลกาญจน์มณี
    ค.  โอภาสอาภรณ์อัครภัณฑ์  คชลักษณ์ปิลันธน์
            ก็เลิศก็ล้ำลำยอง
    ง.  ต่างขับและขี่เข้มแขง       ควงแส้สำแดง
            ดุรงควิธีโรมรณ

15. ข้อใดคือแนวคิดที่สำคัญที่สุดของเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
    ก.  อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง
    ข.  ความมีปัญญาช่วยให้เอาชนะศัตรูได้สำเร็จ
    ค.  ความเห็นแก่ตัวและอิจฉาริษยานำมาซึ่งความแตกสามัคคี
    ง.   ความไม่สามัคคีปรองดองทำให้หมู่คณะและบ้านเมือง
            ประสบความหายนะได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ไตรภูมิพระร่วง ตอนมนุสสภูมิ
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วง
    ก.  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เตภูมิกถา
    ข.  เป็นผลงานพระราชนิพนธ์ของพญาเลอไทย
    ค.  กวีทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้เทศนาโปรด
          พระราชมารดา
    ง.  เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อเรื่อง
          โลกและจักรวาลของคนไทย
2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกวีผู้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง
     ไตรภูมิพระร่วง
    ก.  ผนวชเป็นพระภิกษุขณะครองราชย์
    ข.  เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย
    ค.  เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ทรงครอง
          เมืองศรีสัชนาลัยอยู่ 6 ปี
    ง.  เมื่อทรงครองราชย์แล้ว มีพระนามเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
          พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 1
3. ไตรภูมิ ซึ่งหมายถึง ภูมิทั้งสาม นี้ หมายถึงภูมิใดบ้าง
    ก.  สวรรค์  มนุษย์  นรก
    ข.  สวรรค์  มนุษย์  บาดาล
    ค.  กามภูมิ  รูปภูมิ  อรูปภูมิ
    ง.  กามภูมิ  อกามภูมิ  นิพพาน
4. ข้อใดใช้อุปมาโวหาร
    ก.  เมื่อกุมารนั้นคลอดออกจากท้องแม่ ออกแลไปบ่มิพ้นตน
          ตนเย็นนั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา
    ข.  สิ่งอาหารอันแม่กินเข้าไปในท้องนั้นไหม้และย่อยลง 
          ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้น
          บ่มิไหม้
    ค.  เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียด
          พึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดและ
          เอือนอันได้ 80 ครอก
    ง.  แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอัน
          คับแคบนักหนา  แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจ
          นักหนา  เหยียดตีนมือบ่มิได้ ดั่งท่านเอาใส่ไว้ในที่คับ
5. จากเรื่องไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ข้อใดกล่าวถึง
     วิวัฒนาการขั้นสุดท้ายของก้อนเนื้อในครรภ์มารดาก่อนที่จะ
     เจริญกลายเป็นตัวคน
    ก.  เบญจสาขาหูด       ข.  เปสิ
    ค.  ฆนะ                ง.  เปสิ
6. ...ซึ่งอยู่ในท้องแม่อันเป็นที่เหม็นแลที่ออกลูกออกเต้า ที่เถ้า
     ที่ตายที่เร่ว ฝูงตืดและเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่...
     คำว่า ที่เร่ว ในบทประพันธ์ข้างต้นหมายถึงอะไร
    ก.  เร็ว                ข.  ที่ว่าง
    ค.  ป่าช้า              ง.  เกิด กำเนิด
7. ข้อใดไม่มีการใช้ภาพพจน์อุปมา
    ก.  คนผู้ใดจากแต่นรกมาเกิดจั้น เมื่อคลอดออกตนกุมารนั้น
          ร้อน
    ข.  อันว่าสายสะดือแห่งกุมารนั้นกลวงดั่งสายก้านบัวอันมีชื่อ
          ว่าอุบล
    ค.  ในท้องแม่นั้นร้อนนักหนาดุจดั่งเราเอาใบตองเข้าจ่อตน
          แลต้มในหม้อนั้นไสร้
    ง.  เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล ดุจดั่ง
          ลิงเมื่อฝนตก แลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล
8. ข้อใดกล่าวถึงพยาธิในท้อง
    ก.  อัมพุทะนั้นโดยใหญ่ไปทุกวารไสร้  ครั้นได้ถึง 7 วาร 
          ข้นเป็นดั่งตะกั่วอันเชื่อมอยู่ในหม้อเรียกชื่อว่าเปสิ
    ข.  เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียด
          พึงหน่ายพ้นประมาณนัก  ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่นตืดและ
          เอือนอันได้ 80 ครอก
    ค.  จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่แล              ข้าวน้ำอาหารอันใดแม่กินไสร้ แลโอชารสนั้นก็เป็นน้ำ               ชุ่มเข้าไปในไส้ดือนั้น
    ง.  ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดี เกิดมีอาทิแต่เกิด
          เป็นกลละนั้นโดยใหญ่แต่ละวันแลน้อย ครั้นถึง 7 วัน 
          เป็นดั่งน้ำล้างเนื้อนั้นเรียกว่าอัมพุทะ
9. ข้อใดมีลักษณะเป็นพรรณนาโวหาร
    ก.  ผิแลคนอันมาแต่นรกก็ดี  แลมาแต่เปรตก็ดี  มันคำนึงถึง
          ความอันลำบากนั้น  ครั้นว่าออกมาก็ร้องไห้แล
    ข.  เบื้องหลังกุมารนั้นต่อหลังท้องแม่ แลนั่งยองอยู่ในท้องแม่ 
          แลกำมือทั้งสองคู้คอต่อหัวเข่าทั้งสอง เอาหัวไว้เหนือ
          หัวเข่าเมื่อนั่งอยู่นั้น
    ค.  เมื่อแรกมาเกิดในท้องแม่ก็ดี  เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็ดี 
          เมื่อออกจากท้องแม่ก็ดี  ในกาลทั้ง 3 นั้นย่อมหลง
          บ่มิได้คำนึงรู้อันใดสักสิ่ง
    ง.  ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิไหม้ 
          เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกุมารนั้นจะเป็นคนแลจึง
          ให้บมิไหม้บมิตายเพื่อดั่งนั้นแลแต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่
10. ข้อใดมิใช่ลักษณะของทารกในครรภ์มารดาตามที่กล่าวไว้
     ในตอนมนุสสภูมิ
    ก.  แต่นั้นไปเมือหน้ากุมารนั้นจึงรู้หายใจเข้าออกแล
    ข.  จะงอยไส้ดือนั้นกลวงขึ้นไปเบื้องบนติดหลังท้องแม่
    ค.  แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจนักหนา
          เหยียดตีมือบ่มิได้
    ง.  เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล ดุจดั่ง
          ลิงเมื่อฝนตก แลนั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้นั้นแล
11. ข้อใดมีลักษณะเด่นด้านการซ้ำคำเพื่อเน้นความหมาย
    ก.  ลมอันมีในท้องผู้น้อยค่อยพัดออกก่อน  ลมอันมี
          ภายนอกนั้นจึงพัดเข้านั้นนักหนา
    ข.  ผิรูปอันจะเกิดเป็นชายก็ดีเป็นหญิงก็ดี  เกิดมีอาทิแต่เกิด
          เป็นกลละนั้นโดยใหญ่แต่ละวันแลน้อย
    ค.  ผิแลคนอันมาแต่นรกก็ดี  แลมาแต่เปรตก็ดี  มันคำนึงถึง
          ความอันลำบากนั้น  ครั้นว่าออกมาก็ร้องไห้แล
    ง.  แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอัน
          คับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจ
          นักหนา
12. ข้อใดสะท้อนความเชื่อเรื่องบุญ-กรรมชัดเจนที่สุด
    ก.  ด้วยอำนาจแห่งไฟธาตุอันร้อนนั้น ส่วนตัวกุมารนั้นบ่มิ          ไหม้เพราะว่าเป็นธรรมดาด้วยบุญกุมารนั้นจะเป็นคนแล 
      จึงให้บมิไหม้บมิตายเพื่อดั่งนั้นแลแต่กุมารนั้นอยู่ในท้องแม่
    ข.  ตนเย็นนั้นแลเจ็บเนื้อเจ็บตนนักหนา  ดั่งช้างสารอันท่าน
          ชักท่านเข็นออกจากประตูลักษอันน้อยนั้น  แลคับตัวออก
          ยากลำบากนั้น  ผิบ่มิดั่งนั้น  ดั่งคนผู้อยู่ในนรกแล
    ค.  เมื่อแรกมาเกิดในท้องแม่ก็ดี  เมื่ออยู่ในท้องแม่ก็ดี เมื่อ             ออกจากท้องแม่ก็ดี  ในกาลทั้ง 3 นั้นย่อมหลงบ่มิได้คำนึง            รู้อันใดสักสิ่ง
    ง.  แลกุมารนั้นเจ็บเนื้อเจ็บตนดั่งคนอันท่านขังไว้ในไหอัน
          คับแคบนักหนา แค้นเนื้อแค้นใจ แลเดือดเนื้อเดือดใจ
          นักหนา
13. ข้อใดเป็นลักษณะพิเศษของทารกผู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
     พระอรหันต์ และพระอัครสาวก ลงมาเกิด
    ก.  ครั้นว่าออกมาไสร้ ก็ย่อมหัวร่อก่อนแล
    ข.  พัดให้ตัวกุมารนั้นขึ้นหนบน  ให้หัวลงมาสู่ที่จะออกนั้น
    ค.  เมื่ออยู่ในท้องแม่นั้นบ่ห่อนจะรู้หลงแลยังคำนึงรู้อยู่ทุกอัน
    ง.  ครั้นออกจากท้องแม่ไสร้ ลมอันมีในท้องผู้น้อยค่อยพัด
         ออกก่อน
14. ผิแลว่าเมื่อแม่เดินไปก็ดี นอนก็ดี ฟื้นตนก็ดี กุมารอยู่ในท้อง
     แม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแลดุจดั่งลูกทรายอันพึ่งออกแล 
     อยู่ธรห้อยผิบ่มิดุจดั่งคนอันเมาเหล้า...คำว่า อยู่ธรห้อย
     ในบทประพันธ์ข้างต้นหมายถึงอะไร
    ก.  ไม่มีแรง                      ข.   ห้อยหัว กลับหัว
    ค.  เหี่ยวแห้งไม่สดชื่น            ง.  โคลงเคลง ทรงตัวไม่ได้
15. ข้อใดมีลักษณะเด่นด้านการหลากคำที่มีความเหมือนกัน
     หรือคล้ายกัน
    ก.  เลือดแลน้ำเหลืองย้อยลงเต็มตนยะหยดทุกเมื่อแล
    ข.  เมื่อจะคลอดออก  ตนกุมารนั้นเย็น  เย็นเนื้อเย็นใจ
    ค.  แลภูเขาอันชื่อคังไคยบรรพตหีบแลเหงแลบดบี้ นั้นแล
    ง.  คนผู้ใดจากแต่นรกมาเกิดจั้น เมื่อคลอดออกตนกุมารนั้น
          ร้อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น