ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


การเรียนรู้ที่ 1
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  คำประพันธ์ที่เก่าแก่ที่สุดของไทย คือคำประพันธ์ชนิดใด
       ก.   ฉันท์                      ข.   กาพย์
       ค.   ร่าย                       ง.   โคลง
   2.  มืดตื้อกระพือพิรุณพรม และฤเราจะแยแส
       บทร้อยกรองนี้อ่านออกเสียงว่าอย่างไร
       ก.   มืด ตื้อ กระ พือ พิ รุน นะ พรม
            และรึ เรา จะ แย แส
       ข.   มืด ตื้อ กะ ระ พือ พิ รุ นะ พรม
            และลึ เรา จะ แย แส
       ค.   มืด ตื้อ กระ พือ พิ รุ นบ พรม
            และลึ เรา จะ แย แส
       ง.   มืด ตื้อ กระ พือ พิ รุน พรม
            และรึ เรา จะ แย แส
   3.  ข้อความใดใช้ภาพพจน์แบบสัทพจน์
       ก.   เริงร้องถวายชัย พิภพเพียงทำลาย
       ข.   ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง
       ค.   สายลมลูบไล้พฤกษาลดามาลย์
       ง.   ครืนครืนใช่ฟ้าร้อง เรียมครวญ
   4.  น้อมเกล้าฯ อ่านออกเสียงว่าอย่างไร
       ก.   น้อม เกล้า น้อม กระ หม่อม
       ข.   น้อม เกล้า ไป ยาน น้อย
       ค.   น้อม เกล้า น้อม เกล้า
       ง.   น้อม เกล้า ละ
   5.  การอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธี จะต้องอาศัยหลักการอ่านจากแหล่งใดเป็นสำคัญ
       ก.   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
       ข.   อินเทอร์เน็ต
       ค.   สารคดี
       ง.   เพื่อน
   6.  การอ่านร่ายที่มีเนื้อความบรรยายการรบ การต่อสู้
       จะต้องอ่านด้วยน้ำเสียงแบบใด
       ก.   อ่านด้วยน้ำเสียงปานกลาง ไม่เบา ไม่ดังเกินไป   
       ข.   อ่านด้วยน้ำเสียงต่ำ เน้นบ้าง สะบัดเสียงบ้าง
       ค.   อ่านด้วยน้ำเสียงดัง หนักแน่น ห้วน กระชับ
       ง.   อ่านด้วยน้ำเสียงเบา สั่นเครือ
   7.  รูปแบบของงานเขียนประเภทร้อยแก้ว 
        แบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
       ก.   2 ประเภท คือ สารคดี และความเรียง
       ข.   2 ประเภท คือ บันเทิงคดี และสารคดี
       ค.   2 ประเภท คือ สารคดี และนวนิยาย
       ง.   2 ประเภท คือ คัมภีร์ และนิยาย
   8.  ข้อใดไม่ได้เป็นวิธีการเพิ่มความไพเราะของการอ่านทำนองเสนาะ
       ก.   การครวญเสียง          ข.   การหลบเสียง
       ค.   การครั่นเสียง            ง.   การเปิดเสียง
   9.  บุคคลใดไม่ปฏิบัติตนตามหลักการอ่านบทร้อยแก้ว
       ก.   ข้าวเหนียวอ่านเรื่องสั้นด้วยน้ำเสียงที่ดูเป็นธรรมชาติ เน้นเสียงหนัก เบา
       ข.   ข้าวปุ้นศึกษานิทานให้เข้าใจก่อนจะอ่านให้น้องฟัง
       ค.   ข้าวปั้นอ่านข่าวให้เพื่อนฟังด้วยน้ำเสียงที่ดังเกินไป
       ง.   ข้าวสวยอ่านบทความด้วยความมั่นใจ
10.  บทร้อยกรองชนิดใดที่เป็นการนำบทร้อยกรองต่างรูปแบบมาประสมกัน
     ก.   โคลง               ข.   กาพย์
     ค.   ลิลิต                ง.   ร่าย




หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
การอ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  สิ่งพิมพ์ประเภทเรื่องสั้น มีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใด
       ก.   นวนิยาย                 ข.   สารคดี
       ค.   นิทาน                    ง.   นิยาย
   2.  สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเรื่องสั้น องค์ประกอบใดไม่สัมพันธ์กัน
       ก.   ตัวละครและบทสนทนา
       ข.   การบรรยายเนื้อเรื่อง
       ค.   โครงเรื่อง
       ง.   ฉาก
   3.  แนวทางในการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเรื่องสั้น
       จะไม่พิจารณาเรื่องใด
       ก.   พิจารณารูปแบบการเขียน
       ข.   พิจารณาแก่นของเรื่อง
       ค.   พิจารณาชื่อเรื่อง
       ง.   พิจารณาชื่อผู้แต่ง
   4.  นวนิยายเป็นงานเขียนที่ไทยรับอิทธิพลมาจากยุโรปพร้อมๆ กับงานเขียนประเภทใด
       ก.   นิยาย                     ข.   สารคดี
       ค.   นิทาน                    ง.   เรื่องสั้น
   5.  นิทานมีจุดเด่นอย่างไร
       ก.   เขียนโดยใช้อารมณ์ความรู้สึก
       ข.   เขียนโดยใช้จินตนาการ
       ค.   เขียนโดยใช้ข้อเท็จจริง
       ง.   เขียนโดยใช้ข้อคิดเห็น
   6.  สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดไม่ใช่เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
       ก.   จดหมายปิดผนึก       ข.   สิ่งพิมพ์โฆษณา
       ค.   วารสาร                 ง.   จุลสาร
   7.  ทรรศนะของผู้แต่งจะไม่ปรากฏอยู่ในส่วนใดของเรื่อง
       ก.   การบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ
       ข.   ความคิดเห็นของตัวเอก
       ค.   คำพูดของตัวละคร
       ง.   กลวิธีการแต่ง
   8.  ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นส่วนสำคัญของสิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
       ก.   เลขสารบบอาหารหรือเลข อย.
       ข.   สรรพคุณสินค้า
       ค.   ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิต
       ง.   ชื่อผลิตภัณฑ์
   9.  การอ่านนวนิยาย ผู้อ่านส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมาย
       ในการอ่านอย่างไร
       ก.   เพื่อหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
       ข.   เพื่อหาความเพลิดเพลิน
       ค.   เพื่อหาข้อเตือนใจ
       ง.   เพื่อหาความรู้
10.  ทรรศนะของผู้แต่ง หมายความว่าอย่างไร
       ก.   เรื่องที่เกี่ยวพันกับปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญ
            ของตัวละครเอก       
       ข.   จุดสำคัญของเรื่องที่จะเชื่อมโยงเรื่องทั้งหมด           เข้าด้วยกัน
       ค.   วิธีการของผู้แต่งที่จะแสดงความคิด ความรู้สึก
       ง.   ข้อคิดเห็นของผู้แต่งที่ต้องการเสนอต่อผู้อ่าน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
การอ่านแปลความตีความและขยายความ

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  เครื่องหมาย < แปลว่าอย่างไร
       ก.   แหลมกว่า                ข.   เสมอกัน
       ค.   มากกว่า                  ง.   น้อยกว่า
   2.  การแปลความมีวิธีการอย่างไร
       ก.   การแปลตามตัวอักษรโดยถือความหมายเป็นสำคัญ
       ข.   การแปลความโดยสรุปใจความสำคัญ
       ค.   การสรุปความให้มีความหมายตรงตัว
       ง.   การถอดความให้ได้ความหมาย
   3.  ก้อร่อก้อติก แปลว่า อาการที่ทำเป็นเจ้าชู้ การแปล
       ในข้อนี้เป็นการแปลรูปแบบใด
       ก.   แปลคำศัพท์เฉพาะให้เป็นภาษาธรรมดา
       ข.   แปลคำศัพท์เฉพาะให้เป็นสำนวนธรรมดา
       ค.   แปลคำพังเพยให้เป็นภาษาสามัญ
       ง.   แปลสำนวนให้เป็นภาษาสามัญ
   4.  การตีความหมายของคำหรือสำนวนต้องพิจารณาสิ่งใด เป็นสำคัญ
       ก.   องค์ประกอบของข้อความ
       ข.   รูปแบบของข้อความ
       ค.   หน้าที่ของข้อความ    
       ง.   บริบทของข้อความ
   5.  ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน สำนวนนี้แปลความว่าอย่างไร
       ก.   มีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้นยังไม่ทันแก้ไขก็มีเรื่องใหม่ เกิดซ้ำ
       ข.   กำลังจะได้หรือกำลังจะเสียอยู่ในระยะก้ำกึ่งกัน
       ค.   พูดจาหว่านล้อมก่อนเข้าสู่จุดประสงค์
       ง.   ทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว
   6.  การตีความได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด มากที่สุด
       ก.   ความหมายตามตัวอักษร   ข. ความหมายโดยนัย
       ค.   ความหมายหลัก             ง. ความหมายตรง
อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 7-8
            ความสุขของปู่คือกินเหล้า ความเศร้าของย่าคือห่วงปู่
       แม้ความรู้สึกของย่าปู่จะรู้      แต่ปู่ก็เป็นปู่ไม่เปลี่ยนแปลง
       ย่าอาจมิเคยรู้ความรู้สึก         ลึกลึกของปู่ไม่เคยแจ้ง
       แม้ย่าจะบ่นก่นคำแรงแรง      ปู่ก็ไม่แสดงอารมณ์ใด
   7.  คำว่า ก่น แปลว่าอย่างไร
       ก.   แช่ง                      
       ข.   ด่า
       ค.   จิก                       
       ง.   ดุ
   8.  ข้อความดังกล่าว ตีความได้ว่าอย่างไร
       ก.   ความไม่กระจ่างชัดในการสื่อสารทำให้เกิดปัญหา
       ข.   ความรักและความห่วงใยของสามีภรรยา
       ค.   ความขัดแย้งระหว่างปู่กับย่า
       ง.   ความอดทนไม่โต้ตอบ
   9.  เรื่องใดสำคัญที่สุดในการอ่านตีความ
       ก.   การเรียบเรียงข้อความ
       ข.   การจับใจความ
       ค.   การแปลความ          
       ง.   การสรุปความ
10.  ข้อใดคือลักษณะการขยายความที่กล่าวได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   การสรุปเนื้อความเดิมแล้วอธิบายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้เกิดภาพพจน์
       ข.   การอธิบายเพิ่มเติมให้มีความละเอียดมากขึ้น
            จากเนื้อความเดิม
       ค.   การสอดแทรกความรู้และแสดงความคิดเพิ่มเติม  จากเนื้อความเดิม
       ง.   การแสดงความรู้และความคิดเห็นที่นอกเหนือไป  จากเนื้อความเดิม



หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
การอ่านเพื่อแสดงความคิดเห็น

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การกำหนดจุดมุ่งหมายการอ่านให้พิจารณาจากสิ่งใด
       เป็นสำคัญ
       ก.   ประเภทของเรื่องที่อ่าน    
       ข.   โอกาสที่อ่าน
       ค.   สถานที่อ่าน             
       ง.   เวลาที่อ่าน
   2.  เรื่องใดสำคัญที่สุดในการแสดงความคิดเห็น
       ก.   นำเสนอได้ถูกต้องตามขั้นตอนและกาลเทศะ      
       ข.   ไม่ทำให้ผู้อื่นหลงผิดไปตามข้อคิดเห็น
       ค.   มีข้อมูลหลักฐานที่เชื่อถือได้  
       ง.   มีเหตุผล
   3.  การแสดงความคิดเห็นของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน เกิดจากปัจจัยใด
       ก.   ระดับการศึกษา ความเชื่อ ประสบการณ์
       ข.   ความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ ประสบการณ์
       ค.   วัย อาชีพ ความเชื่อ ประสบการณ์
       ง.   ระดับการศึกษา วัย อาชีพ
   4.  การแสดงความคิดเห็นให้เขียนเรียงส่วนประกอบอย่างไร
       ก.   ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อสนับสนุน  
       ข.   ข้อคิดเห็น ข้อสนับสนุน ข้อสรุป
       ค.   ข้อสนับสนุน หลักฐาน ข้อสรุป
       ง.   ที่มา ข้อสนับสนุน ข้อสรุป
   5.  ข้อใดกล่าวถึงการอ่านเพื่อแสดงความคิดเห็นได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   อธิบายเรื่องโดยมีเหตุผลประกอบและประเมินค่า
       ข.   ยกเหตุผลประกอบการแสดงความคิดเห็น
       ค.   มีข้อเสนอแนะและข้อสันนิษฐาน
       ง.   ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน
   6.  ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการแสดงความคิดเห็นได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีกว่า
            ของคนส่วนใหญ่
       ข.   ความคิดเห็นต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม
       ค.   ประโยชน์ต้องเกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ไม่เฉพาะกลุ่ม
       ง.   ความคิดเห็นที่ดีต้องมีคุณค่าต่อผู้รับสาร
   7.  การอ่านเรื่องโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญในขณะที่อ่าน เป็นการอ่านวิธีใด
       ก.   การอ่านจับประเด็น
       ข.   การอ่านขยายความ
       ค.   การอ่านสรุปความ
       ง.   การอ่านตีความ
   8.  สามารถแยกส่วนที่สำคัญและไม่สำคัญได้ รู้ว่าส่วนใด เป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น เป็นการอ่านวิธีใด
       ก.   การอ่านขยายความ    ข.   การอ่านจับประเด็น
       ค.   การอ่านสรุปความ      ง.   การอ่านตีความ
   9.  การแสดงความคิดเห็นที่เลื่อนลอย ไม่สมเหตุสมผล
       ไม่มีหลักฐาน เป็นข้อบกพร่องตามข้อใด
       ก.   ใช้ภาษาในการแสดงความคิดเห็นไม่ถูกต้อง
       ข.   ไม่กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่านให้ชัดเจน
       ค.   ไม่มีความรู้ในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็น
       ง.   ใช้วิธีอ่านที่ไม่เหมาะสม
10.  ขั้นตอนใดสำคัญที่สุดในการฝึกฝนเพื่อแสดงความคิดเห็นจากการอ่าน
       ก.   รู้จักการถ่ายทอดความคิดด้วยภาษาที่ถูกต้อง
       ข.   ศึกษาหลักการอ่านแสดงความคิดเห็น
       ค.   รู้จักการคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล
       ง.   การเป็นนักอ่าน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การเขียนบันทึกความรู้

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การจดบันทึกที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับบันทึก
       ข.   ใช้สำนวนภาษาไม่ถูกต้องเหมาะสม
       ค.   เลือกบันทึกตามความพอใจ
       ง.   จดบันทึกไม่ทันเวลา
   2.  การจดบันทึกที่สมบูรณ์ มีวิธีการอย่างไร
       ก.   บันทึกให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญทุกประเด็น
       ข.   บันทึกเฉพาะหลักการวิธีการสำคัญ
       ค.   บันทึกให้ทันเวลาที่กำหนด
       ง.   บันทึกเรื่องที่ฟังมาทั้งหมด
   3.  การใช้เครื่องหมาย ? ในบันทึก หมายความว่าอย่างไร
       ก.   สาระสำคัญ
       ข.   ข้อสังเกต
       ค.   คำถาม
       ง.   กันลืม
   4.  ผู้ใดมีพฤติกรรมที่ได้ชื่อว่าเป็น พหูสูต
       ก.   นายปราการเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย
            จึงมีความรู้มาก
       ข.   นายปรีดาเป็นหนอนหนังสืออ่านมากจึงมีความรู้มาก
       ค.   นายปรีชาฟังเรื่องต่างๆ มามากจึงมีความรู้มาก
       ง.   นายปรีดีเป็นนักพูดที่มีชื่อเสียงจึงมีความรู้มาก
   5.  สิ่งใดสำคัญที่สุดในการบันทึกความรู้จากการอ่าน
       ก.   วัตถุประสงค์ในการบันทึกข้อมูล         
       ข.   วิธีการสำรวจข้อมูลที่จะบันทึก
       ค.   วัตถุประสงค์ในการอ่าน
       ง.   วิธีบันทึก

   6.  การเขียนบันทึกความรู้จากการอ่าน ผู้เขียนต้องมีความสามารถในเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   การขยายความเรื่องที่อ่าน
       ข.   การเชื่อมโยงหัวข้อสำคัญ
       ค.   การตีความเรื่องที่อ่าน
       ง.   การจับใจความสำคัญ
   7.  การจดบันทึกการอ่านข้อใด ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว
       ก.   บอกแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างชัดเจน
       ข.   เขียนบันทึกด้วยถ้อยคำของตน
       ค.   มีวิธีการจดบันทึกที่เป็นระบบ
       ง.   การจับใจความสำคัญ
   8.  ก่อนที่จะอ่านเพื่อบันทึกความรู้จากการอ่าน นักเรียน  ต้องทำอย่างไร
       ก.   เลือกสถานที่ที่เหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวก
       ข.   จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจดบันทึก
       ค.   กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน
       ง.   หาแหล่งข้อมูล
   9.  การจดบันทึกการอ่านที่สมบูรณ์มีลักษณะอย่างไร
       ก.   จดบันทึกข้อความด้วยภาษาของตัวเอง
       ข.   จดบันทึกให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ
       ค.   ใช้อุปกรณ์ในการบันทึกที่เหมาะสม
       ง.   มีความพร้อมในการจดบันทึก
10.  ทักษะทางภาษาด้านใดที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด
       ก.   การเขียน                 ข.   การอ่าน
       ค.   การพูด                   ง.   การฟัง



หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
การเขียนเรียงความ ย่อความจดหมาย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การย่อข้อความที่อยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ ให้ปฏิบัติอย่างไร
       ก.   ถ้าไม่ใช่ประเด็นสำคัญให้ตัดออก ถ้าเป็นประเด็นสำคัญให้สรุปสั้นๆ
       ข.   ให้ตัดเครื่องหมายออกแต่ข้อความยังคงเดิมไว้
       ค.   ให้สรุปเป็นใจความสั้นๆ และคงเครื่องหมายไว้
     ง.   ให้คงข้อความเดิมและกำกับเครื่องหมายไว้
   2.  ข้อใดเป็นวิธีการอ่านเพื่อย่อความ
       ก.   อ่านเฉพาะประโยคหลัก ไม่อ่านส่วนประกอบ
       ข.   อ่านเฉพาะข้อความที่เป็นความคิดหลัก
       ค.   อ่านเรื่องที่จะย่อทั้งหมดอย่างละเอียด
       ง.   อ่านเฉพาะที่สำคัญ
   3.  ข้อใดกล่าวถึงย่อหน้าแรกของการย่อความ
       ก.   สาระของเรื่องที่ย่อความ  
       ข.   ใจความสำคัญ
       ค.   บรรณานุกรม
       ง.   แหล่งที่มา
   4.  การย่อความในข้อใด ที่มีรูปแบบในการเขียนย่อหน้าแรกเหมือนกัน
       ก.   แจ้งความ ระเบียบ กำหนดการ
       ข.   ประวัติ ระเบียบ ประกาศ
       ค.   คำสั่ง ตำนาน นิทาน
       ง.   กำหนดการ พงศาวดาร แถลงการณ์
   5.  ข้อใดกล่าวถึงการย่อความได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านนำมาเขียนเรียบเรียงโดยใช้สำนวนของผู้ย่อ
       ข.   นำเรื่องที่อ่านมาเขียนสั้นๆ มีสาระถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ตามเรื่องเดิม
       ค.   นำเรื่องมาเขียนใหม่สั้นๆ ให้อ่านเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
       ง.   จับใจความสำคัญของเรื่องมาเขียนอย่างย่อยๆ
   6.  ข้อใดไม่ถือเป็นหน้าที่ของจดหมายกิจธุระ
       ก.   เขียนเพื่อขอคำแนะนำเพื่อประโยชน์ในด้านการงาน
       ข.   เขียนเพื่อขอนัดหมายสัมภาษณ์ทุนการศึกษา
       ค.   เขียนเพื่อเล่าเรื่องราวที่ได้พบเห็นมา
     ง.   เขียนเพื่อแจ้งขอสมัครงาน
   7.  ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของเรียงความที่ดี
       ก.   มีความสร้างสรรค์      
       ข.   มีสัมพันธภาพ
     ค.   มีสารัตถภาพ           
     ง.   มีเอกภาพ
   8.  ย่อ...ของ...ให้แก่...เรื่อง...เนื่องใน...ณ...วันที่...      
   ความว่า... ข้อความที่ยกมานี้เป็นรูปแบบของการย่อความสื่อประเภทใด
       ก.   สุนทรพจน์               ข.   แถลงการณ์
       ค.   กำหนดการ              ง.   หนังสือราชการ
อ่านเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 9-10
       หลังจากหลานชายวัยเจ็ดขวบอาบน้ำเสร็จ ฉันก็หวีผมให้ หลานก็ย้ำเหมือนทุกครั้งว่า ให้ทำผมเขายุ่งๆ ไว้
       ทำไมถึงชอบผมยุ่งๆ ล่ะครับ ฉันถาม
       หลานชายตอบว่า เพราะถ้าผมหล่อเดี๋ยวจะมีผู้หญิงมาขโมยจูบ
(จากเรื่องเด็กขำ หนังสือรีดเดอร์ไดเจสท์ ฉบับเดือนธันวาคม 2544)

   9.  ข้อความที่ยกมานี้เป็นเรื่องประเภทใด
       ก.   บันทึกส่วนตัว            ข.   เรื่องสั้น
       ค.   ประวัติ                   ง.   นิทาน
10.  การย่อความนี้ควรใช้สรรพนามแทนตัวผู้เล่าว่าอย่างไร
       ก.   ข้าพเจ้า                  ข.   ท่าน
       ค.   เรา                        ง.   เขา



หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
การเขียนอธิบาย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การเขียนอธิบายเชิงอรรถ เป็นส่วนประกอบของการเขียนในข้อใด
       ก.   การเขียนญัตติในการโต้วาทีและหัวข้อการอภิปราย
       ข.   การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
       ค.   การเขียนบทความทางวิชาการ
       ง.   การเขียนบันทึกการประชุม
   2.  การเขียนอธิบาย มีลักษณะสำคัญอย่างไร
       ก.   มีความแจ่มแจ้งชัดเจน และความน่าอ่าน
       ข.   มีการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ
       ค.   มีการแสดงความคิดเห็น   
       ง.   มีข้อเท็จจริง
   3.  การเขียนอธิบายมีจุดมุ่งหมายในการเขียนอย่างไร
       ก.   ให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวต่างๆ อย่างถูกต้องชัดเจน
       ข.   ให้ผู้อ่านมีความรู้ความคิดอย่างลึกซึ้ง
       ค.   ให้ผู้อ่านมีจินตนาการอย่างกว้างไกล
       ง.   ให้ผู้อ่านมีวิจารณญาณในการอ่าน
   4.  ความรู้ที่นำมาเขียนประเภทความรู้หรือวิชาการต้องมีลักษณะอย่างไร
       ก.   มาจากการค้นคว้าสอบถามจากผู้เกี่ยวข้อง
            อย่างกว้างขวาง
       ข.   มาจากศูนย์ข้อมูลในแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต
       ค.   มาจากความคิดเห็นของนักวิชาการ
       ง.   มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
   5.  การเขียนประเภทใดไม่รวมอยู่ในการเขียนอธิบาย
       ก.   การขยายความ        
       ข.   การสรุปความ
       ค.   การแปลความ          
       ง.   การตีความ
6. ข้อใดไม่ใช่การเขียนอธิบายประเภทคำจำกัดความ
       ก.   อธิบายหัวข้อประชุม  
       ข.   อธิบายข้อความ
       ค.   อธิบายสำนวน
       ง.   อธิบายคำนำ
   7.     สุเนตร ชุตินธรานนท์. พม่ารบไทย : ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2554) หน้า 247-265        ข้อความนี้เป็นการเขียนอธิบายแบบใด
       ก.   การเขียนอธิบายความรู้หรือวิชาการ
       ข.   การเขียนอธิบายคำจำกัดความ
       ค.   การเขียนอธิบายเชิงอรรถ 
       ง.   การเขียนอธิบายคำนำ
8.  แคน น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทำด้วยไม้ซาง    ผูกเรียงต่อกับเต้าแคน สำหรับเป่าเป็นเพลง ข้อความนี้เป็นการเขียนอธิบายแบบใด
       ก.   การเขียนอธิบายความรู้หรือวิชาการ
       ข.   การเขียนอธิบายคำจำกัดความ
       ค.   การเขียนอธิบายเชิงอรรถ 
       ง.   การเขียนอธิบายคำนำ
9.      กฎบัตรอาเซียนจัดทำขึ้นเพื่อรับรองการเป็นประชาคม
     อาเซียนในพ.ศ. 2558 ตามข้อตกลงของผู้นำอาเซียนในการ
      สร้างให้อาเซียนเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มี
      ประสิทธิภาพ เป็นการรวมกลุ่ม   ที่มี กฎ เป็นฐาน
     สำคัญ สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ จะต้องปฏิบัติตามพันธะข้อ
     ตกลง และสร้างประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
          ข้อความนี้เป็นการเขียนอธิบายแบบใด
       ก.   การเขียนอธิบายความรู้หรือวิชาการ
       ข.   การเขียนอธิบายคำจำกัดความ
       ค.   การเขียนอธิบายเชิงอรรถ 
       ง.   การเขียนอธิบายคำนำ
10.      หนังสือ น้ำพริก มิใช่เป็นเพียงตำราทำน้ำพริกเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์อื่นๆ แก่ผู้อ่านอีกหลายด้าน ทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการกินอยู่ของคนไทย ทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปรุงอย่างหลากหลาย และยังอ่านสนุกสนานเพลิดเพลินจนวางไม่ลงเลยทีเดียว
          ข้อความนี้เป็นการเขียนอธิบายแบบใด
       ก.   การเขียนอธิบายความรู้หรือวิชาการ
       ข.   การเขียนอธิบายคำจำกัดความ
       ค.   การเขียนอธิบายเชิงอรรถ 
       ง.   การเขียนอธิบายคำนำ



หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
การกรอกแบบรายการ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  แบบกรอกรายการใดที่มีลักษณะคล้ายกันมากที่สุด
       ก.   แบบสอบถามความพึงพอใจสินค้า-แบบกรอกรายการ
            ยืมคืนห้องสมุด
       ข.   แบบกรอกรายการยืมระหว่างห้องสมุด-แบบสัญญาซื้อขาย
       ค.   ใบรับฝากเงินธนาคาร-ใบถอนเงินธนาคาร
       ง.   ใบตอบรับสินค้า-ใบสมัครงาน
   2.  การกรอกแบบรายการใดที่ควรมีการตรวจทานข้อความให้รอบคอบ เพราะหากมีข้อผิดพลาดอาจเกิดความเสียหายตามมาภายหลัง
       ก.   การกรอกใบลงทะเบียน   
       ข.   การทำแบบสอบถาม
       ค.   การทำบัตรสมาชิก     
       ง.   การทำสัญญา
   3.  ข้อใดเป็นวิธีการกรอกที่มีการเขียนจำนวนเงินไม่ถูกต้อง
       ก.   ควรเขียนตัวอักษรกำกับเพื่อป้องกันความผิดพลาด
       ข.   ควรเขียนตัวเลขให้เกินกับจำนวนที่กำหนดไว้
       ค.   ควรกรอกตัวเลขให้ชัดเจนและอ่านง่าย
       ง.   ควรตรวจทานจำนวนเงินให้ถูกต้อง
   4.  ถ้านักเรียนส่งไปรษณีย์และต้องการหลักฐานเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานว่าไปรษณีย์นั้นถึงผู้รับหรือไม่ นักเรียนต้องมีแบบฟอร์มใด
       ก.   ใบฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษ
       ข.   แบบฟอร์มลงทะเบียน
       ค.   ใบฝากธนาณัติ
       ง.   แบบตอบรับ


   5.  ข้อใดกล่าวถึงแบบรายการได้ถูกต้อง
       ก.   แบบสำหรับกรอกรายละเอียดที่หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น
       ข.   แบบสำหรับกรอกข้อความที่หน่วยงานทั้งของรัฐ  และเอกชนจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในหน่วยงาน
       ค.   แบบสำหรับกรอกข้อความของหน่วยงานเอกชน   เพื่อใช้สำหรับการค้าขาย
       ง.   แบบสำหรับกรอกรายละเอียดของหน่วยงานของรัฐเพื่อผลตอบแทน
   6.  ข้อใดไม่ใช่หลักการกรอกแบบรายการที่ถูกต้อง
       ก.   อ่านเอกสารให้ถี่ถ้วนและทำความเข้าใจว่าต้องกรอกรายละเอียดใด
       ข.   เขียนข้อความด้วยตนเอง ตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้องและอ่านง่าย
       ค.   เขียนให้ได้ใจความกระชับและพอดีกับช่องว่างที่กำหนดให้
       ง.   ควรเขียนข้อมูลเท่าที่เขียนได้ แม้ไม่เข้าใจก็ตาม
   7.  แบบกรอกรายการใดต่างจากพวก
       ก.   แบบตอบรับพัสดุไปรษณีย์
       ข.   แบบสอบถามความคิดเห็น
       ค.   ใบรับฝากเงินธนาคาร
       ง.   ใบสมัครงาน
   8.  แบบกรอกรายการที่เป็นแบบประเมินผล ควรมีลักษณะเช่นใด
       ก.   ควรมีรูปแบบและเนื้อหาแตกต่างไปตามวัตถุประสงค์
       ข.   ควรเป็นระเบียบและมีจุดประสงค์ชัดเจน
       ค.   ควรมีคำถามครอบคลุมทุกประเด็น
       ง.   ควรมีรูปแบบมาตรฐานและชัดเจน



หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
หลักการฟังและการดูสื่อ

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  ข้อใดมีความสำคัญในการเลือกฟังและดูสำหรับนักเรียน
       ก.   รู้จักเลือกใช้โปรแกรมต่างๆ ในการฟังและดูสื่อ    จากสื่อคอมพิวเตอร์
       ข.   รู้จักแบ่งเวลามาฟังและดูสื่อให้เหมาะสมกับสภาพ ของนักเรียน
       ค.   รู้จักเลือกรายการที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
       ง.   รู้จักเลือกสื่อที่ใช้ฟัง
   2.  การฟังและดูอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องไม่ทำอย่างไร
       ก.   นำประโยชน์จากสิ่งที่ฟังและดูไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
       ข.   ใช้เหตุผลวิจารณ์และแยกแยะสิ่งที่ฟังและดูได้
       ค.   เรียงลำดับเหตุการณ์ที่ฟังและดูอย่างถูกต้อง
       ง.   ฟังย้อนทวนอย่างตั้งใจ
   3.  ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการฟังและการดูสื่อ
       ก.   เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน  
       ข.   เพื่อให้เกิดความรู้ความคิด
       ค.   เพื่อหาสาระและคติชีวิต   
       ง.   เพื่อค้นหาสัจธรรม
   4.  การฟังในข้อใดไม่เป็นการฟังเพื่อการติดต่อสื่อสาร
       ก.   การสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า      
       ข.   การฟังการกล่าวสุนทรพจน์ในงานต่างๆ
       ค.   การตอบปัญหาทางวิชาการ
       ง.   การพูดทางโทรศัพท์
   5.  พฤติกรรมใดที่ถือว่าเสียมารยาทในการฟังและดูสื่อ
       ก.   หมากพยายามไม่ส่งเสียงโวยวาย ขณะอยู่ใน         โรงภาพยนตร์ แม้จะถูกบอยเหยียบเท้า
       ข.   เต้ยเล่นเกมในโทรศัพท์ ขณะดูหนังอยู่ใน             โรงภาพยนตร์
       ค.   แบรี่ปิดเสียงโทรศัพท์ทุกครั้งก่อนเข้าโรงภาพยนตร์
       ง.   ญาญ่ามาถึงที่โรงภาพยนตร์ก่อนเวลาฉาย 10 นาที

   6.  การฟังและดูกิจกรรมการแสดงต้องทำอย่างไร
       จึงจะถูกต้องตามหลักการ
       ก.   ตอบคำถามหรือปฏิบัติตามเรื่องที่ฟังได้อย่างถูกต้อง
       ข.   เล่าเรื่องที่ฟังและดูมาได้ถูกต้อง
       ค.   จับใจความสำคัญของเรื่องได้
       ง.   บอกที่มาของเรื่องได้
   7.  ฟังแล้วสามารถวินิจฉัยได้ว่าสิ่งที่ฟังนั้นควรเชื่อหรือไม่  มีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร ข้อความนี้กล่าวถึงการฟังและดูสื่อประเภทใด
       ก.   การฟังและดูข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ
       ข.   การฟังและดูการบรรยายวิชาต่างๆ
       ค.   การฟังและดูกิจกรรมการแสดง
       ง.   การฟังและดูคำอธิบายต่างๆ
   8.  การฟังและดูเพื่อเนื้อหาสาระและคติชีวิต ให้เลือกฟัง  เรื่องประเภทใด
       ก.   การฟังและดูการแสดง
       ข.   การฟังสุนทรพจน์
       ค.   การฟังและดูการโต้วาที    
       ง.   การฟังและดูการตอบปัญหา
   9.  ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ใช้ทักษะทางภาษาข้อใด  มากที่สุด
       ก.   การเขียน                 ข.   การอ่าน
       ค.   การฟัง                   ง.   การดู
10.  บุคคลใดฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดความรู้ความคิด
       ก.   จอยฟังเพื่อนบอกคำตอบของการบ้านทางโทรศัพท์
       ข.   จุ๋มนั่งฟังปาฐกถาถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
       ค.   จิ๋วนั่งฟังข่าวทางวิทยุ 
       ง.   แจ๋วนั่งฟังพระเทศน์ในวันมาฆบูชา



หน่วยการเรียนรู้ที่ 10
การสรุปความจากการฟัง การดู

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การแสดงกิริยาอาการที่เหมาะสม หมายความว่าอย่างไร
       ก.   การไม่ทำกิจกรรมอื่นในขณะที่ฟังและดู
       ข.   การไม่รบกวนสมาธิของผู้อื่น
       ค.   การปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย
       ง.   การแสดงความเคารพต่อผู้พูด
   2.  มารยาทในการฟังและการดู มีความสัมพันธ์กับเรื่องใด มากที่สุด
       ก.   ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมไทย
       ข.   เรื่องที่ดูและฟัง
       ค.   สถานที่ที่ฟังและดู     
       ง.   สื่อที่ใช้
   3.  การสรุปความจากการฟังและการดู ให้ความสำคัญ       ต่อเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   ความสมเหตุสมผลและการใช้ภาษา    
       ข.   ความรู้ ความคิด และการใช้ภาษา
       ค.   เจตนาของผู้ส่งสารและเนื้อหา           
       ง.   เนื้อหาและการใช้ภาษา
   4.  บุคคลในข้อใดมีพฤติกรรมเป็นผู้สรุปความที่ดี
       ก.   ดวงดารา ตั้งใจฟังสื่อทุกชนิดแล้วเขียนสาระสำคัญ  ของเรื่องเพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่
       ข.   ดวงจันทร์ เลือกฟังเรื่องที่ชอบแล้วสรุปประเด็นสำคัญเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
       ค.   ดวงเดือน ฟังเรื่องแล้ววิเคราะห์แหล่งที่มา สรุปแนวคิดสำคัญของเรื่องโดยใช้ภาษาเขียน
       ง.   ดวงดาว ทำความเข้าใจกับเรื่องที่ฟังแล้วสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องด้วยสำนวนตนเอง
   5.  การฟังเรื่องให้เข้าใจ มีวิธีการอย่างไรในขณะที่ฟัง
       ก.   จับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังเป็นตอนๆ
       ข.   แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่ฟัง
       ค.   ฟังแล้วนำมาคิดตาม
       ง.   ฟังแล้วตั้งคำถาม
   6.  การสรุปความจากการฟังและการดู มีลักษณะคล้ายกับ   ข้อใด
       ก.   การขยายความ
       ข.   การเรียงความ
       ค.   การย่อความ
       ง.   การตีความ
   7.  ภาษาที่ใช้ในการสรุปความจากการฟังและการดู
       มีลักษณะอย่างไร
       ก.   เขียนสั้นๆ เท่าที่มีความจำเป็น ไม่เล่นสำนวนโวหาร
       ข.   เขียนกระชับ ครอบคลุมเนื้อความ มีความหมาย
       ค.   เขียนกะทัดรัด มีความไพเราะ สวยงาม
       ง.   เขียนสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ
   8.  วิธีการสรุปความจากการฟังและการดู ต้องพิจารณาสิ่งใดเป็นสำคัญ
       ก.   ความคิดสำคัญในเรื่อง    
       ข.   ความเป็นไปได้ของเรื่อง
       ค.   ข้อเท็จจริงที่มีในเรื่อง      
       ง.   ข้อคิดเห็นที่มีในเรื่อง
   9.  เหตุใดจึงต้องบันทึกที่มาของเรื่องที่ฟังและดูในการสรุปความจากการฟังและการดู
       ก.   เพื่อติดตามฟังและดูเรื่องลักษณะเดียวกันในครั้งต่อไป
       ข.   เพื่อเป็นเครื่องเตือนความทรงจำต่อไป
       ค.   เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าต่อไป
       ง.   เพื่อนำไปใช้อ้างอิง
10.  การตั้งคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู เป็นผลดีอย่างไร
       ก.   เป็นการทดสอบความเข้าใจ
       ข.   เป็นการสังเคราะห์ข้อความ
       ค.   เป็นการเก็บใจความสำคัญ
       ง.   เป็นการสรุปความคิด




หน่วยการเรียนรู้ที่ 11
การพูดต่อที่ประชุมชน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  การพูดที่ดี มีลักษณะอย่างไร
       ก.   ผู้พูดมีวัตถุประสงค์ชัดเจนและได้รับการตอบสนองจากผู้ฟัง
       ข.   ผู้พูดใช้น้ำเสียง ถ้อยคำ กิริยาท่าทางที่เหมาะสม    ให้ผู้ฟังตอบสนองตามที่ต้องการ
       ค.   ผู้พูดใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงที่กระจ่างชัด ชักจูงให้ผู้ฟังตอบสนองตามที่ต้องการ
       ง.   ผู้พูดมีความรู้ในการถ่ายทอดและชักจูงให้ผู้ฟังตอบสนองตามที่ต้องการ
   2.  นอกจากวิธีการพูดแล้ว การพูดในที่ประชุมยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องใด
       ก.   ความถูกต้อง ความทันสมัยของประเด็นที่นำมาพูด
       ข.   บุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอกของผู้พูด
       ค.   ความสามารถของผู้พูด
       ง.   ความรู้ความคิดของผู้พูด
   3.  การเตรียมตัวพูดต่อที่ประชุมชน ข้อใดสำคัญที่สุด
       ก.   การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพูด
       ข.   การกำหนดขอบเขตของเรื่อง
       ค.   การรวบรวมเนื้อหา
       ง.   การวิเคราะห์ผู้ฟัง
   4.  การพูดมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
       ก.   น้ำเสียง ถ้อยคำ กิริยาท่าทางที่เหมาะสม
       ข.   น้ำเสียง ถ้อยคำ ความกระจ่างชัด
       ค.   น้ำเสียง ความรู้ ความคิด
       ง.   น้ำเสียง ถ้อยคำ ความรู้
   5.  การพูดหมายความว่าอย่างไร
       ก.   การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้อื่นทราบ
       ข.   การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้พูด
       ค.   การถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น ความรู้สึก และประสบการณ์ของผู้พูด
       ง.   การถ่ายทอดประสบการณ์ ความสามารถ และความคิดเห็นของผู้พูด
   6.  ครูสอนเรื่อง กลุ่มประเทศอาเซียน โดยนำนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ของประเทศพม่า มาเล่าให้นักเรียนฟัง การเล่านิทานมีจุดมุ่งหมายในการพูดอย่างไร
       ก.   เพื่อจูงใจผู้ฟัง
       ข.   เพื่อบอกเรื่องราวที่ควรรู้แก่ผู้ฟัง
       ค.   เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลาย      
       ง.   เพื่อสร้างความบันเทิงใจให้แก่ผู้ฟัง
   7.  ถ้านักเรียนต้องการพูดเพื่อให้ผู้ฟังร่วมออกกำลังกาย   หลังเลิกเรียนทุกวัน นักเรียนควรพูดจูงใจโดยวิธีใด
       ก.   การทำให้เชื่อ            
       ข.   การเร้าความรู้สึก
       ค.   การบอกความจริง      
       ง.   การสร้างความประทับใจ
   8.  นายสุรพลได้รับเลือกให้เป็นนายก อบต. คนใหม่ มีเรื่องสำคัญที่ต้องแถลงให้ราษฎรในท้องถิ่นของตนทราบ
       นายสุรพลควรใช้การพูดวิธีใด
       ก.   การท่องมาพูด         
       ข.   การอ่านต้นแบบ
       ค.   การพูดฉับพลัน        
       ง.   การพูดที่เตรียมล่วงหน้า
   9.  นายนิติเป็นนักพูดที่มีอารมณ์ขัน การใช้อารมณ์ขัน
       ในการพูด เป็นผลดีอย่างไร
       ก.   ช่วยสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง          
       ข.   ช่วยทำให้เกิดความศรัทธาในตัวผู้พูดยิ่งขึ้น
       ค.   ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของผู้ฟัง 
       ง.   ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้
10.  ตามหลักการพูดต่อที่ประชุมชน ผู้พูดต้องรู้จักที่ประชุม คำว่า รู้จักที่ประชุม หมายความว่าอย่างไร
       ก.   รู้ความต้องการของผู้จัดการประชุม
       ข.   รู้ลักษณะบางประการของผู้ฟัง
       ค.   รู้สถานการณ์ของที่ประชุม
       ง.   รู้ลักษณะของสถานที่  




หน่วยการเรียนรู้ที่ 12
ธรรมชาติและพลังของภาษา

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  สิ่งใดสำคัญที่สุดในการสื่อสารโดยใช้วัจนภาษา
       ก.   การสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับสาร
       ข.   การใช้ภาษาอย่างมีมารยาท
       ค.   การเรียงคำเข้าประโยค
       ง.   การเลือกสรรถ้อยคำ
   2.  คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ในความหมายใด
       ถูกต้องที่สุด
       ก.   คำพูดของมนุษย์ในแต่ละชนชาติ ซึ่งแตกต่างกัน
            แต่เข้าใจตรงกัน
       ข.   เสียงแทนเครื่องหมายในการสื่อสารระหว่างมนุษย์
       ค.   การสื่อความหมายโดยใช้ภาพและการขีดเขียน
       ง.   เครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
   3.  ข้อใดเป็น ภาษาในความหมายแคบ
       ก.   พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
       ข.   ปาฐกถาของนายกรัฐมนตรี
       ค.   ซากมัมมี่ในประเทศอียิปต์
       ง.   รูปปั้นหลวงพ่อคูณ
   4.  การที่นักร้อง นักแสดงไทยหลายคนที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศ และพูดภาษาไทยได้ไม่ชัดเจน แสดงให้เห็นถึงลักษณะและธรรมชาติของภาษาตามข้อใด
       ก.   ภาษาเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม
       ข.   ภาษามักจะสะท้อนภาพของสังคมนั้นๆ
       ค.   ภาษาย่อมแตกต่างกันตามเชื้อชาติ   
       ง.   ภาษาเป็นวัฒนธรรมของสังคม
   5.  เหตุการณ์ใดเป็นการสื่อสารโดยใช้อวัจนภาษา
       เพียงอย่างเดียว
       ก.   ประตูรถหนีบมือ โอ๊ย นิ่วหน้าด้วยความเจ็บ
       ข.   โบกมือเรียกรถแท็กซี่ ไปสาธุประดิษฐ์ค่ะ
       ค.   กดปุ่มมิเตอร์ หน้าจอขึ้นตัวเลข 35 บาท
       ง.   ไฟเขียวตลอดเส้นทาง ไม่มีไฟแดงเลย
   6.  ข้อใดเป็นภาษาที่เกิดจากการเลียนเสียงธรรมชาติทุกคำ
       ก.   นกหวีด ไฟฉาย ภูกระดึง
       ข.   รถตุ๊กๆ รถซาเล้ง อีกา
       ค.   ตุ๊กแก กาเหว่า นกยูง
       ง.   ออด กริ่ง หวูด
   7.  คำใดเกิดจากการกร่อนเสียง
       ก.   กระดุกกระดิก - ดุกดิก
       ข.   หมากขาม - มะขาม
       ค.   สะพาน - ตะพาน
       ง.   อย่างนี้ - ยังงี้
   8.  การนำคำมาเรียงเป็นประโยคให้ถูกต้องตามระเบียบ  แบบแผน จะต้องมีความรู้ในเรื่องใด
       ก.   องค์ประกอบของประโยค  
       ข.   ความหมายของคำ
       ค.   ชนิดของประโยค     
       ง.   ชนิดของคำ
   9.  มาริสาอ่านหนังสือคู่มือการท่องเที่ยวแล้วอยากไปบ้าง แสดงว่าผู้เขียนใช้ภาษาอย่างไร
       ก.   ภาษาที่มีพลังของภาษา
       ข.   ภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ
       ค.   ภาษาที่เป็นธรรมชาติ
       ง.   ภาษาที่มีอิทธิพล
10.  ประโยคใดเป็นประโยคบอกเล่า
       ก.   ใครๆ ก็ไม่ให้ความร่วมมือ  
       ข.   ใครจะไปร่วมงานนี้บ้าง
       ค.   ใครจะไปให้ยกมือขึ้น    
       ง.   ไม่มีใครไป



หน่วยการเรียนรู้ที่ 13
ลักษณะของภาษาไทย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  ข้อใดกล่าวถึงเสียงสระได้ถูกต้อง
       ก.   สระไทยมี 12 คู่ ประกอบด้วย สระแท้ 3 คู่
            สระเลื่อน 9 คู่
       ข.   สระไทยมี 12 คู่ ประกอบด้วย สระแท้ 9 คู่
            สระเลื่อน 3 คู่
       ค.   สระไทยมี 21 คู่ ประกอบด้วย สระแท้ 18 คู่
            สระเลื่อน 3 คู่
       ง.   สระไทยมี 21 คู่ ประกอบด้วย สระแท้ 3 คู่
            สระเลื่อน 18 คู่
   2.  เหตุใดจึงเรียกเสียงสระว่า เสียงแท้
       ก.   เพราะเป็นเสียงที่ผ่านมาจากลำคอโดยตรง
            แล้วมากักไว้ที่ปุ่มเหงือกและไรฟัน
       ข.   เพราะเป็นเสียงที่ผ่านมาจากกะบังลมโดยตรง
            แล้วมากักไว้ที่ริมฝีปาก
       ค.   เพราะเป็นเสียงที่ไม่ถูกกักผ่านมาจากลำคอโดยตรง
       ง.   เพราะเป็นเสียงที่ผ่านมาจากกะบังลมโดยตรง
   3.  เสียงในภาษาไทยแบ่งได้อย่างไร
       ก.   เสียงในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะ 44 เสียง
            สระ 21 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง
       ข.   เสียงในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะ 44 เสียง
            สระ 24 เสียง วรรณยุกต์ 5 เสียง
       ค.   เสียงในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง
            สระ 24 เสียง วรรณยุกต์ 5 เสียง        
       ง.   เสียงในภาษาไทยมีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง
            สระ 21 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง
   4.  คำใดมีจำนวนพยางค์มากที่สุด
       ก.   นฤบดี                    ข.   ไอศวรรย์
       ค.   ธรรมชาติ                ง.   โภคทรัพย์
   5.  คำใดเป็นภาษาไทยเดิม
       ก.   แข็งแรง                  ข.   ยางลบ
       ค.   สมาชิก                   ง.   เสียม
   6.  ลักษณะอย่างไร ที่แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยมีระดับ
       ก.   ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ
       ข.   มีการใช้คำพูดให้เหมาะกับฐานะของบุคคล
       ค.   คำไทยคำเดียวมีหลายความหมายและหลายหน้าที่
       ง.   คำไทยใช้วรรณยุกต์ทำให้ระดับเสียงและความหมายเปลี่ยน
   7.  ข้อใดกล่าวถึงพยัญชนะได้ถูกต้อง
       ก.   พยัญชนะไทยมีพยัญชนะต้น 8 เสียง
            พยัญชนะท้าย 21 เสียง
       ข.   พยัญชนะไทยมีพยัญชนะต้น 21 เสียง
            พยัญชนะท้าย 8 เสียง
       ค.   พยัญชนะไทยมี 44 รูป 44 เสียง
       ง.   พยัญชนะไทยมี 21 รูป 44 เสียง
   8.  คำมีลักษณะอย่างไร
       ก.   คำคือรูปสระ พยัญชนะ
       ข.   พยางค์เป็นส่วนประกอบของคำ
       ค.   คำต้องมีเสียงและมีความหมาย
       ง.   คำประกอบด้วยพยางค์ 1 พยางค์
   9.  ภาษาที่มีวรรณยุกต์ มีลักษณะอย่างไร
       ก.   มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ ในการพูด   
       ข.   ไม่มีความแตกต่างไปตามเสียงสูงต่ำ
       ค.   มีการเน้นเสียงตามรูปวรรณยุกต์ที่กำกับ
       ง.   มีการเปลี่ยนระดับเสียงของคำทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
10.  คำใดเป็นการประสมอักษร 4 ส่วน ทุกคำ
       ก.   แกะ แกก แก๊ง          ข.   มาร เกี๊ยว ก๊อก
       ค.   แก้ว เกือก ก้อย         ง.   กาล การณ์ กาญจน์



หน่วยการเรียนรู้ที่ 14
คำราชาศัพท์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  พระพุทธองค์ทรงทำให้พระประยูรญาติละทิฐิมานะ
       พระประยูรญาติมีความหมายตรงกับคำใด
       ก.   พระบรมมหาราชวงศ์   ข.   พระบรมวงศานุวงศ์
       ค.   ขัตติยราชตระกูล        ง.   เชื้อพระวงศ์
   2.  คำใดหมายถึงผ้าคลุมกันหนาวสำหรับพระสงฆ์
       ก.   กาสาวพัสตร์             ข.   สังฆาฏิ
       ค.   สบง                       ง.   จีวร
   3.  สมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตเรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทย เรียกว่า กาพย์มหาชาติ คำว่า โปรดเกล้าฯ ใช้เป็น        ราชาศัพท์ที่ถูกต้องอ่านว่าอย่างไร
       ก.   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
       ข.   ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
       ค.   โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
       ง.   โปรดเกล้า
   4.  ข้อใดบอกความหมายของคำราชาศัพท์ได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   คำที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
       ข.   คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล
       ค.   คำที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระภิกษุ
       ง.   คำสุภาพที่ใช้กับบุคคลที่มีฐานะต่างกัน
   5.  ถึงแก่อสัญกรรม ถึงแก่อนิจกรรม ถึงแก่กรรม มีความหมายเหมือนกัน แต่วิธีใช้ต่างกัน ข้อใดเป็น  เครื่องกำหนดวิธีใช้คำทั้งสามคำนี้
       ก.   การปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่ตาย
       ข.   เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
       ค.   ตำแหน่งหน้าที่
       ง.   บรรดาศักดิ์
   6.  การกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
       ใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 ว่าอย่างไร
       ก.   ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท    ข.   ใต้ฝ่าละอองพระบาท
       ค.   ใต้ฝ่าพระบาท                ง.   ฝ่าพระบาท
อ่านแถลงการณ์สำนักพระราชวัง แล้วตอบคำถาม ข้อ 7-8
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง
เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว* เสด็จฯ มาประทับ
ณ โรงพยาบาลศิริราช
ฉบับที่ 12
       วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ได้รายงานว่า พระอาการโดยทั่วไปดีขึ้น ไม่มีพระปรอท เสวยพระกระยาหารได้มากขึ้น และทรงพระบรรทมได้ดี ผลการตรวจพระอุระด้วยเครื่องเอกซเรย์พบว่า การอักเสบของพระปัปผาสะลดลงจากเดิม คณะแพทย์ฯ ได้ลดพระโอสถปฏิชีวนะลงขนานหนึ่ง แต่ยังคงถวาย  การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดต่อไป
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
สำนักพระราชวัง
1 ตุลาคม พุทธศักราช 2552
   7.  พระปัปผาสะ หมายความว่าอย่างไร
       ก.   ลำไส้     ข.  ม้าม       ค.  ปอด      ง.  อก
   8.  พระปรอท หมายความว่าอย่างไร
       ก.   แสบ     ข.   ปวด       ค.  ร้อน      ง.  ไข้
   9.  การกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
       ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ว่าอย่างไร
       ก.   ข้าพระพุทธเจ้า              ข.   เกล้ากระหม่อม
       ค.   กระหม่อม                    ง.   หม่อมฉัน
10.  เรื่องมหาชาติคำหลวงเกิดขึ้นด้วย...ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คำใดถูกต้องและเหมาะสำหรับการนำมาเติมลงในช่องว่าง
       ก.   พระราชโองการ        ข.   พระราชปรารภ
       ค.   พระราชนิพนธ์          ง.   พระราชดำรัส
*“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ในที่นี้หมายถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


หน่วยการเรียนรู้ที่ 15
การแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์และโคลง

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  กาพย์ยานี มีลักษณะคำประพันธ์คล้ายกับคำประพันธ์ชนิดใดมากที่สุด
       ก.   อินทรวิเชียรฉันท์       ข.   อินทวงค์ฉันท์
       ค.   กาพย์ฉบัง               ง.   กลอนหก
   2.  โคลงบาทนี้มีการใช้คำโทโทษอยู่ที่บาทใด
                เชิงฉันท์กลอนกาพย์ข้อง       ขัดขวาง
            อายจิตคิดระคาง               ครั่นคร้าม
            วานใครช่วยคิดขนาง           บ่ทราบ ความแฮ
            จนจิตจำงุ่มหง้าม               แต่งหล้าตามแกน
       ก.   บาทที่ 1                  ข.   บาทที่ 2
       ค.   บาทที่ 3                  ง.   บาทที่ 4
   3.  บาทใดจากโคลงข้างต้นนี้ มีการเล่นสัมผัสไพเราะที่สุด
       ก.   บาทที่ 1                  ข.   บาทที่ 2
       ค.   บาทที่ 3                  ง.   บาทที่ 4
   4.  โคลงบทนี้มีการใช้คำตายแทนคำเอกกี่แห่ง
                  นานาประเทศล้วน          นับถือ
            คนที่รู้หนังสือ                    แต่งได้
            ใครเกลียดอักษรคือ             คนป่า
            ใครเยาะกวีไซร้                  แน่แท้คนดง (ร.6)
       ก.   3 แห่ง                    ข.   4 แห่ง
       ค.   5 แห่ง                    ง.   6 แห่ง
   5.  คำประพันธ์ต่อไปนี้ ถ้าเรียงให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
       ข้อใดไม่เป็นกาพย์ยานี
       ก.   โอชาหน้าไก่แกงแคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย    
       ข.   ขนมจีบเจ้าจีบห่องามสมส่อประพิมพ์ประพาย
       ค.   โขดเขินสิงขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย     
       ง.   เหลือรู้หมูป่าต้มแกงคั่วส้มใส่ระกำ
   6.  คำประพันธ์ต่อไปนี้ ถ้าเรียงให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
       ข้อใดไม่เป็นโคลงสี่สุภาพ
       ก.   ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำสงสารอรเอย
       ข.   ตายระดับทับกันดังฟอนฟาง
       ค.   เดือนดำหนิวงกลางต่ายแต้ม
       ง.   เสนาะสนั่นดินครวญครุ่นฟ้า
   7.  ข้อใดมีฉันทลักษณ์ต่างจากข้ออื่น
       ก.   หญิงไม่อยากมีสามี            หาในโลกนี้หาไหน
            อันพวงบุปผามาลัย            เกลียดแมลงภู่ไซร้ฤามี
       ข.   ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่                ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
            ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ                  มิหลงใหลใครขอดู
       ค.   วิชาเหมือนสินค้า               อันมีค่าอยู่เมืองไกล
            ต้องยากลำบากไป              จึงจะได้สินค้ามา
       ง.   น้ำตาเปรียบเหมือนเพื่อน     คอยตักเตือนกระตุ้นใจ
            ยามชื่นรื่นฤทัย                 น้ำตาไหลหลั่งเปรมปรีดิ์
   8.  ข้อใดกล่าวถึงคำประพันธ์ได้ถูกต้อง
            แม่ไก่อยู่ในตะกร้า           ไข่ไข่มาสี่ห้าใบ
            อีแม่กาก็มาไล่                อีแม่ไก่ไล่ตีกา
            หมาใหญ่ก็ไล่เห่า            หมูในเล้าแลดูหมา
            ปูแสมแลปูนา                กะปูม้าปูทะเล
            เต่านาและเต่าดำ            อยู่ในน้ำกะจระเข้
            ปลาทูอยู่ทะเล                ปลาขี้เหร่ไม่สู้ดี
       ก.   เป็นกาพย์สุรางคนางค์ มี 6 บาท
       ข.   เป็นกาพย์ฉบัง มี 12 วรรค
       ค.   เป็นกาพย์ขับไม้ มี 3 บท
       ง.   เป็นกาพย์ยานี มี 3 บท
   9.  ข้อใดไม่ใช่คำสร้อยทุกคำ
       ก.   ยอมสละ สิ้นแล         
       ข.   ไทยอยู่ ได้ฤา
       ค.   ตาต่อ กันนา            
       ง.   อยู่ยั้ง ยืนยง
10.  จงเรียงลำดับให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของโคลง
       1)   พราวพร่างพิศเพียงราวแต่งแต้ม
       2)   ลมโชยช่วยชวนชาวโลกชื่นจิตนอ
       3)   ดาวรายพรายเด่นห้วงแดนหาว
       4)   ไยจึงยังมิแย้มเยี่ยมหน้ามาชม
       ก.   1)  2)  3)  4)          
       ข.   3)  2)  4)  1)
       ค.   2)  1)  3)  4)          
       ง.   3)  1)  2)  4)


5 ความคิดเห็น: